เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ล่าสุด ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย ออกมาคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 67 ซึ่งมีการแจ้งปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 67 ลงเหลือ ขยายตัว 2.8% จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 3.2%

โดยประเด็นสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยยังโตแบบกระท่อนกระแท่นแบบนี้ มีสาเหตุหลักๆ มาจากการค้าโลกที่ชะลอลง และนโยบายการคลังและงบประมาณที่ล่าช้า ทำให้การลงทุนภาครัฐชะลอลง ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าสุดในอาเซียน

และมองดูจากการบริหารงานของรัฐบาลปัจจุบัน ตอนนี้ก็ยังไม่มีนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่แน่ชัด จะมีก็เพียงโครงการแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งตอนนี้รายละเอียดก็ยังคลุมเครือ และคงต้องรอการแถลงอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 เมษายนที่จะถึงนี้ ว่าจะออกมาเป็นเช่นไร แต่โครงการนี้ก็เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะภาครัฐจะต้องหาเงินมาใช้กว่า 5 แสนล้านบาท ก็ทำให้ต้องมีภาระต้นทุนการคลังที่เพิ่มขึ้น 

รวมถึงการผลักดันการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (Entertainment Complex) เพื่อแก้ปัญหาการพนันผิดกฎหมายและเพื่อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจของประเทศ ที่ยังถือว่าลูกผีลูกคน และยังต้องฝ่าอีกหลายด่านกว่าจะเกิดขึ้นได้จริง 

ส่วนนโยบายลงทุนแลนด์บริดจ์ ก็ดูเหมือนจะเป็นโครงการขายฝัน ที่น่าจะหาแนวร่วมที่จะเข้ามาลงทุนได้ยากเสียแล้ว

ดังนั้น เวลานี้จึงมองว่านโยบายทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ ก็ยังไม่มีอะไรหวือหวา และพอจะฝากผีฝากไข้ในการปลุกเศรษฐกิจได้เลย จนเกิดคำถามว่า ตอนนี้เศรษฐกิจของไทยจะไปทางไหนต่อ ซึ่งนี่คือคำถามสำคัญที่เป็นโจทย์ที่ท้าทายทีมรัฐบาลที่ต้องตีปมให้ออก ก่อนที่จะวางนโยบายในการบริหารจัดการ

โดยล่าสุดทางธนาคารโลกมีการออกรายงาน วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบสำหรับประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2567 จึงขออนุญาตคัดลอกมาให้เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะให้รัฐบาล นำไปประยุกต์ใช้ต่อ

ซึ่งรายงานฉบับนี้ได้เสนอปัจจัยที่ช่วยให้ไทยเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาสู่ประเทศรายได้สูงได้ภายในปี 2580 ประกอบไปด้วย 1.ให้ไทยเร่งเสริมสร้างการพัฒนาทุนมนุษย์ ให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียม 2.การส่งเสริมเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันและพัฒนานวัตกรรม 3.ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองคาร์บอนต่ำ  การใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ ป้องกันผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 4.รวมทั้งต้องปฏิรูปหน่วยงานด้านการคลังและการจัดสรรงบประมาณภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ

แต่นี่ถือว่าเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบครั้งใหญ่ ที่จะต้องรีบลงมือเข้ามาจัดการ หากต้องการจะยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ.

 

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล