รัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน เตรียมประกาศอย่างเป็นทางการว่า ความรุนแรงที่กองทัพเมียนมากระทำต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจาถือเป็นการ "ล้างเผ่าพันธุ์" คาดจะนำไปสู่การคว่ำบาตรและตัดความช่วยเหลือเพิ่มเติม
เอเอฟพีรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2565 อ้างเจ้าหน้าที่ในรัฐบาลสหรัฐว่า แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ เตรียมจะประกาศอย่างเป็นทางการว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ตัดสินใจจะเรียกการปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวโรฮีนจาในเมียนมาว่าเป็นการล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นทางการ ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ที่พิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในกรุงวอชิงตันวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น
การปราบปรามของกองทัพเมียนมาในรัฐยะไข่ทางภาคตะวันตกของประเทศเมื่อปี 2560 ส่งผลให้ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮีนจาไม่ต่ำกว่า 730,000 คน อพยพหนีข้ามชายแดนเข้าบังกลาเทศ พร้อมกับคำบอกเล่าเกี่ยวกับการเข่นฆ่า, ข่มขืนหมู่ และวางเพลิงชุมชนชาวโรฮีนจา ปัจจุบันมีชาวโรฮีนจาอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยที่บังกลาเทศราว 850,000 คน ส่วนที่รัฐยะไข่ ยังหลงเหลือชาวโรฮีนจาอีกราว 600,000 คน ที่รายงานเผชิญการกดขี่อย่างกว้างขวาง
ชาวโรฮีนจารายหนึ่งในค่ายพักพิงสำหรับผู้ไร้ถิ่นฐานใกล้เมืองซิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ กล่าวว่า เรื่องนี้ควรทำตั้งแต่ก่อนหน้านี้ แต่ตนก็เชื่อว่าการตัดสินใจของสหรัฐจะเอื้อกระบวนการพิจารณาคดีสำหรับชาวโรฮีนจาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ)
บลิงเคนเคยกล่าวไว้ระหว่างเดินทางเยือนมาเลเซียเมื่อเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมาว่า รัฐบาลสหรัฐกำลังพิจารณาอย่างแข็งขันว่าการปฏิบัติต่อชาวโรฮีนจาถือเป็นการล้างเผ่าพันธุ์หรือไม่
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเคยเผยแพร่รายงานฉบับหนึ่งเมื่อปี 2561 ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจาในรัฐยะไข่ว่า มีความรุนแรง, ขนาดใหญ่, กว้างขวาง และดูเหมือนว่ามีเป้าหมายเพื่่อสร้างความหวาดกลัวต่อประชากรชาวโรฮีนจาและขับไล่พวกเขาออกไป
นิวยอร์กไทมส์กล่าวว่า การกำหนดการล้างเผ่าพันธุ์ตามกฎหมาย ซึ่งตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ หมายถึง การกระทำที่ตั้งใจกระทำเพื่อทำลายกลุ่มชาติ, ชาติพันธุ์, เชื้อชาติ หรือศาสนา ทั้งหมดหรือบางส่วน อาจนำไปสู่ลงโทษรัฐบาลทหารเมียนมาเพิ่มขึ้น เช่น การคว่ำบาตรและการจำกัดความช่วยเหลือเพิ่มเติม
สหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรพวกผู้นำทหารเมียนมาแล้วหลายประการ สืบเนื่องจากข้อกล่าวหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการกระทำทารุณโหดร้ายต่อชาวโรฮีนจา และยังจำกัดด้านอาวุธเช่นเดียวกับอีกหลายชาติในโลกตะวันตก มาตั้งแต่ก่อนหน้าการก่อรัฐประหาร
การพิจารณาคดีในไอซีเจหรือศาลโลกตามคำฟ้องของรัฐบาลแกมเบียเมื่อปี 2562 เผชิญปัญหายุ่งยากสืบเนื่องจากการก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนางอองซาน ซูจี เมื่อปีที่แล้ว ปัจจุบันนางซูจี ซึ่งเคยรับหน้าที่แก้ต่างให้พวกนายพลในศาลแห่งนี้ กำลังถูกกักบริเวณในบ้านพักและกำลังถูกดำเนินคดีด้วยข้อกล่าวหามากมาย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยังไร้เงา 'หยาง เจ๋อ ฉี' นายแบบจีน หลัง 'ผู้การติ๊บ' ประสานประเทศเพื่อนบ้าน
จากกรณีที่ทนายความของนายหยาง ไห่ เทา พ่อของนายหยาง เจ๋อ ฉี นายแบบชาวจีน ไปยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้ช่วยเร่งรัดติดตามตัวลูกชาย
พ่อนายแบบจีน ร้อง ผบ.ตร. เร่งตามหาลูกหายตัวชายแดนไทย-เมียนมา หวั่นซ้ำรอยกรณีซิงซิง
นายรัชพล ศิริสาคร ทนายความ พานาย หยาง ไห่ เทา พ่อของนาย หยาง เจ๋อ ฉี นายแบบชาวจีน ยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ให้ช่วยเร่งรัดติดตามตัวลูกชายหลังถูกรับเชิญมาถ่ายภาพยนตร์ที่ประเทศไทย
'หม่องชิตตู่' นัดผู้นำกองกำลังฯ หารือนายทุนจีน แก้ปัญหาค้ามนุษย์ในเมียวดี
รายงานข่าวจากหน่วยเฉพาะกิจราชมนู เผยว่า พ.อ.หม่องชิดตู่ ได้มีการนัดพบ และประชุมกลุ่มผู้นำกองกำลัง บีจีเอฟ (กกล.BGF) , ผู้นำกองกำลังดีเคบีเอ (กกล.DKBA) และผู้ประกอบการ กลุ่มทุนจีน ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในพื้นที่ จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา (สมม).
'ทักษิณ' แถลงนโยบายอีกรอบ ฟอกสีเทา ใช้กฎหมายทุบ! บริหารไทยยันอาเซียน
“ทักษิณ” แนะ รัฐเร่งแก้ปัญหาฝุ่น-คอลเซนเตอร์-คนไม่มีเงินใช้ ชี้ อยากเห็นความสามัคคีในปท. พร้อมเลี้ยงไวน์ขาประจำ ให้หยุดเสียที ถามไม่ใช้รัฐบ