กัมพูชารับไม้ต่อ ปธ.อาเซียน ลั่นเดินหน้ากดดันเมียนมา

อาเซียนปิดฉากประชุมสุดยอด บรูไนส่งตำแหน่งประธานอาเซียนแก่กัมพูชา รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาแสดงท่าทีแข็งกร้าวกับเมียนมาทันที ลั่นจะกดดันผู้นำเมียนมาให้ยอมเจรจากับฝ่ายค้าน และเตรียมตั้งทูตอาเซียนคนใหม่

แฟ้มภาพ ปรก สุคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา (Getty Images)

รายงานรอยเตอร์และเอเอฟพีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม 2564 อ้างคำกล่าวของปรัก สุคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา ว่ากัมพูชาจะแต่งตั้งผู้แทนพิเศษของอาเซียนประจำเมียนมาคนใหม่เพื่อเริ่มต้นทำงานในปีหน้า ซึ่งกัมพูชาจะรับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากบรูไน

ผู้แทนพิเศษของอาเซียนคนปัจจุบันคือ เอรีวัน ยูซอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศคนที่ 2 ของบรูไน ซึ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม แต่เขายังไม่เคยไปเยือนเมียนมาเลย เนื่องจากรัฐบาลเมียนมาไม่อนุญาตให้พบกับนางอองซาน ซูจี หรือตัวแทนของฝ่ายค้านที่กำลังถูกดำเนินคดี

"ในขณะที่พวกเราล้วนเคารพหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก แต่สถานการณ์ในเมียนมายังคงเป็นประเด็นที่น่ากังวลอย่างร้ายแรง" สุคนกล่าวกับรอยเตอร์ โดยเตือนว่าเมียนมายืนอยู่บนขอบเหวของสงครามกลางเมือง "มันส่งผลในทางลบต่อภูมิภาคนี้ ต่อความน่าเชื่อถือของประชาคม และต่อประชาชนชาวเมียนมาที่เป็นพี่น้องของเรา"

การประชุมสุดยอดอาเซียนที่บรูไนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมแบบทางไกลครั้งนี้ไร้เงาผู้แทนจากเมียนมา หลังจากรัฐบาลเมียนมาปฏิเสธส่งผู้แทนที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมืองตามคำเชิญของอาเซียนมาร่วมประชุม เพื่อตอบโต้ที่อาเซียนงดเชิญพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำทหารที่ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์

อาเซียนอ้างว่า กระบวนการโรดแม็ปตามฉันทมติ 5 ข้อ ที่ผู้นำเมียนมาตกลงไว้กับชาติสมาชิกเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ ไม่มีความคืบหน้า ทั้งการเริ่มการสานเสวนา, ยุติความรุนแรง และอนุญาตให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและทูตอาเซียนเข้าไปในเมียนมาได้

รัฐมนตรีกัมพูชากล่าวอีกว่า กัมพูชาสนับสนุนการห้ามมิน อ่อง หล่าย เข้าร่วมประชุมอาเซียน เพราะเขาปฏิเสธไม่ให้ผู้แทนของอาเซียนได้พบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเมียนมาทุกฝ่าย แต่เรื่องการร่วมประชุมผ่านไปแล้ว จากนี้สิ่งต่างๆ อาจเปลี่ยนไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับเมียนมาเสียส่วนใหญ่

รายงานกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ฮัสซานัล โบลเกียห์ แห่งบรูไนตรัสในฐานะประธานอาเซียนว่า เมียนมาเป็นส่วนสำคัญของครอบครัวอาเซียน และไม่มีการตั้งคำถามถึงความเป็นสมาชิกของเมียนมา อาเซียนจะยังคงอยู่เคียงข้างเมียนมาเสมอ และจะยังคงให้ความช่วยเหลือผ่านการดำเนินการตามฉันทมติ 5 ข้อ

นักการทูตในภูมิภาคนี้เผยกับรอยเตอร์ว่า อาเซียนจะใช้การกีดกันผู้นำเมียนมาเป็นหมากกดดันให้เขาอนุญาตให้ทูตอาเซียนได้พบกับฝ่ายต่อต้านกองทัพ บททดสอบครั้งต่อไปคือการประชุมสุดยอดผู้นำจีน-อาเซียนเดือนหน้า ที่คาดว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง จะเข้าร่วมด้วย ขณะที่การประชุมสุดยอดอาเซียน-อียูในปีนี้ เชื่อว่าเมียนมาก็คงไม่คิดเข้าร่วม เพราะการต่อต้านจากยุโรป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'หมอตังค์' ยูทูบเบอร์ดังเคลื่อนไหว หลังโดนคนกัมพูชาลอกคอนเทนต์

เพิ่งมีกระแสร้อนแรงไม่กี่วันก่อนเมื่อยูทูบเบอร์ชาวกัมพูชาที่ชื่อว่า 'Doctor Sem Ratana' ลอกคอนเทนต์ของยูทูบเบอร์-แพทย์หนุ่ม ตังค์-มรรคพร ขัติยะทองคำ เจ้าของรายการ "เวรชันสูตร" จากช่อง "Tang Makkaporn" ที่มียอดติดตามกว่า 1 ล้านคน

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา