น้ำท่วมหนักในบังกลาเทศและอินเดีย เสียชีวิตกว่า 60 ไร้บ้านหลักล้าน

น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 20 ปี ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบังกลาเทศ คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 60 ราย ผู้คนนับล้านรอความช่วยเหลือ ท่ามกลางสภาพอากาศเลวร้ายทั่วทั้งภูมิภาค

พื้นที่น้ำท่วมขนาดใหญ่หลังจากฝนตกหนักในเขตคัมปานิกาญจน์ ของบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม (Photo by AFP)

เอเอฟพีรายงานเหตุน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 20 ปี ของบังกลาเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า อุทกภัยครั้งใหญ่คุกคามผู้คนหลายล้านคนในบังกลาเทศที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำและลามไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

ฝนตกหนักในอินเดียช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงจนเขื่อนสำคัญแห่งหนึ่งในเขตสิเลฏของบังกลาเทศเกิดแตกร้าวเสียหายและน้ำท่วมทะลัก ส่งผลกระทบต่อผู้คนราว 2 ล้านคน น้ำท่วมหมู่บ้านหลายสิบแห่ง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย

อารีฟอุสมัน บุยยัน หัวหน้าศูนย์พยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วม กล่าวกับเอเอฟพีว่า น้ำท่วมหนักกินพื้นที่กว่า 70% ของเขตสิเลฏ และ 60% ในเขตสุนัมกาญจน์ ที่อยู่ใกล้เคียง ถือเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในภูมิภาค และหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้าหลังจากฝนตกหนักหยุดลง

ทางการบังกลาเทศได้เตรียมดำเนินการบรรเทาทุกข์สำหรับได้รับผลกระทบกว่า 2 ล้านคน ที่ไร้ถิ่นที่อยู่และขาดแคลนเสบียงอาหาร

โมซิบูร์ เราะห์มาน หัวหน้าเขตสิเลฏ กล่าวว่า เขื่อนที่เสียหายยังไม่สามารถซ่อมแซมได้เพราะกระแสน้ำยังคงมีปริมาณมาก ต้องรออีกสักระยะจนกว่าน้ำจะลดลง

ด้านอินเดีย ในรัฐอัสสัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้เสียชีวิตกว่า 50 รายจากเหตุน้ำท่วม, ดินถล่ม และพายุฝนฟ้าคะนอง และจากข้อมูลของหน่วยงานจัดการภัยพิบัติแห่งรัฐอัสสัม พบว่าเกือบ 3,250 หมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่ผู้อพยพหนีน้ำท่วมไปอยู่ในศูนย์บรรเทาทุกข์มีมากกว่า 92,000 คน

กองกำลังกู้ภัยของรัฐซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพ กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือผู้คนจากหมู่บ้านต่างๆ และแจกจ่ายอาหาร, น้ำดื่มสะอาด และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้แก่ผู้ประสบภัย.

เอเอฟพีรายงานเหตุน้ำท่วมใหญ่ในรอบ 20 ปี ของบังกลาเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า อุทกภัยครั้งใหญ่คุกคามผู้คนหลายล้านคนในบังกลาเทศที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำและลามไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ

ฝนตกหนักในอินเดียช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มสูงจนเขื่อนสำคัญแห่งหนึ่งในเขตสิเลฏของบังกลาเทศเกิดแตกร้าวเสียหายและน้ำท่วมทะลัก ส่งผลกระทบต่อผู้คนราว 2 ล้านคน น้ำท่วมหมู่บ้านหลายสิบแห่ง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย

อารีฟอุสมัน บุยยัน หัวหน้าศูนย์พยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วม กล่าวกับเอเอฟพีว่า น้ำท่วมหนักกินพื้นที่กว่า 70% ของเขตสิเลฏ และ 60% ในเขตสุนัมกาญจน์ ที่อยู่ใกล้เคียง ถือเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในภูมิภาค และหวังว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้าหลังจากฝนตกหนักหยุดลง

ทางการบังกลาเทศได้เตรียมดำเนินการบรรเทาทุกข์สำหรับได้รับผลกระทบกว่า 2 ล้านคน ที่ไร้ถิ่นที่อยู่และขาดแคลนเสบียงอาหาร

โมซิบูร์ เราะห์มาน หัวหน้าเขตสิเลฏ กล่าวว่า เขื่อนที่เสียหายยังไม่สามารถซ่อมแซมได้เพราะกระแสน้ำยังคงมีปริมาณมาก ต้องรออีกสักระยะจนกว่าน้ำจะลดลง

ด้านอินเดีย ในรัฐอัสสัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้เสียชีวิตกว่า 50 รายจากเหตุน้ำท่วม, ดินถล่ม และพายุฝนฟ้าคะนอง และจากข้อมูลของหน่วยงานจัดการภัยพิบัติแห่งรัฐอัสสัม พบว่าเกือบ 3,250 หมู่บ้านจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่ผู้อพยพหนีน้ำท่วมไปอยู่ในศูนย์บรรเทาทุกข์มีมากกว่า 92,000 คน

กองกำลังกู้ภัยของรัฐซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพ กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อช่วยเหลือผู้คนจากหมู่บ้านต่างๆ และแจกจ่ายอาหาร, น้ำดื่มสะอาด และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ให้แก่ผู้ประสบภัย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งเดินหน้ารับมือภัยแล้ง หลังพบ 4 แห่ง ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้รับรายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ จากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดยขณะนี้ มีปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ 46,027 ล้านลูกบาศก์

'เศรษฐา' เตรียมต้อนรับนายกฯบังกลาเทศ เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาล 24-29 เม.ย.นี้

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เชค ฮาซีนา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ มีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 24 - 29 เมษายน 2567

สัมผัสสถานที่จริง'สังเวชนียสถาน' ต่อยอดงานศาสนา

พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้เดินทางไปสัมผัสสถานที่จริงที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ซึ่งเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ 4 แห่ง สถานที่ประสูตร  สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน ในประเทศอินเดียและเนปาลอีกครั้งจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน

“พิพัฒน์” ห่วงใยแรงงาน ส่งหน่วยงานในสังกัดเข้าช่วยลูกจ้างน้ำท่วมศรีราชา ขอความร่วมมือนายจ้างไม่ถือเป็นวันลา ได้ค่าจ้างปกติ

วันที่ 21 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณี สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรีว่า ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในเขตพื้นที่ อ.ศรีราชา

'ดร.เสรี' ชี้น้ำท่วมใหญ่ของจริงยังไม่มา ยกเหตุชลบุรีจมบาดาล อนาคตจะรุนแรงมากกว่านี้

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #น้ำท่วมใหญ่ของจริงยังไม่มา ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลง