'มิน อ่อง หล่าย' ลดโทษให้ 'อองซาน ซูจี' เหลือจำคุก 2 ปี

สื่อทางการเมียนมาเผย พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลเมียนมา ให้อภัยโทษโดยลดโทษจำคุกนางอองซาน ซูจี และอดีตประธานาธิบดีวิน มยิน จากจำคุก 4 ปี เหลือ 2 ปี ขณะนานาชาติรุมประณาม

เมื่อวันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม 2564 ศาลพิเศษของเมียนมาในกรุงเนปยีดอมีคำพิพากษาจำคุก 4 ปี นางซูจี อดีตผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่โดนทหารยึดอำนาจ และอดีตประธานาธิบดีวิน มยิน จากความผิด 2 กระทง ฐานยุยงต่อต้านทหารและฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมโรคระบาด โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี แต่ต่อมาในวันเดียวกัน สถานีโทรทัศน์ของทางการเมียนมารายงานว่า พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย มีคำสั่งอภัยโทษลดโทษบางส่วนแก่ทั้งคู่ เหลือโทษจำคุกคนละ 2 ปี

สื่อทางการเมียนมารายงานด้วยว่า นางซูจีและวิน มยิน จะรับโทษในสถานที่ที่พวกเขาถูกควบคุมตัวอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่เปิดเผย บ่งชี้ว่าทั้งคู่จะไม่ถูกส่งเข้าคุก

คำพิพากษาจำคุกนางซูจี ซึ่งเป็นคดีแรกจากข้อกล่าวหา 11 ข้อหา ที่มีอาทิการครอบครองวิทยุสื่อสารอย่างผิดกฎหมาย, คอร์รัปชัน และฝ่าฝืนกฎหมายความลับทางราชการ ทำให้นานาชาติแสดงความกังวลและประณาม

รัฐบาลสหรัฐประณามคำพิพากษานี้ว่าเป็นการดูหมิ่นประชาธิปไตยและความยุติธรรม แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ กล่าวในแถลงการณ์ว่า สหรัฐเรียกร้องให้เมียนมาปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และผู้ที่ถูกคุมขังอย่างอยุติธรรมทุกคน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

สหภาพยุโรป (อียู) ประณามว่าเป็นคำตัดสินที่มีแรงจูงใจจากการเมืองและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างโจ่งแจ้ง โจเซป บอร์เรล หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศอียูออกแถลงการณ์ในนาม 27 ชาติสมาชิกว่า คำพิพากษานี้เป็นอีกก้าวหนึ่งของการรื้อถอนหลักนิติธรรม

มิเชล บาเชเลต์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุในแถลงการณ์ว่า การตัดสินลงโทษมนตรีแห่งรัฐหลังจากการพิจารณาคดีหลอกๆ ในศาลที่ทหารควบคุม ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากแรงจูงใจทางการเมือง และเรียกร้องให้เมียนมาปล่อยตัวนางซูจี

รัฐบาลอังกฤษโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ ลิซ ทรัสส์ กล่าวว่า การตัดสินจำคุกนางซูจีเป็นอีกความพยายามที่น่าตกใจของรัฐบาลทหารเมียนมา เพื่อยับยั้งฝ่ายค้านและกำจัดเสรีภาพและประชาธิปไตย อังกฤษเรียกร้องให้เมียนมาปล่อยนักโทษการเมือง, สานเสวนา และอนุญาตให้กลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตย การจับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมาคุมขังตามอำเภอใจเสี่ยงที่จะเกิดความไม่สงบยิ่งขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม