คณะมนตรีความมั่นคงประณามฆ่าหมู่ 35 ศพในเมียนมา

คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นออกแถลงการณ์ประณามการสังหารหมู่ 35 ศพในรัฐกะยาของเมียนมา ซึ่งมีเด็กและเจ้าหน้าที่ขององค์กรเซฟเดอะชิลเดรนเสียชีวิตด้วย โดยฝ่ายต่อต้านกล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของทหาร

ภาพจากกองกำลังป้องกันแห่งชาติกะเหรี่ยงแดง (เคเอ็นดีเอฟ) เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2564 เผยสภาพรถยนต์และบรรทุก 2 คันโดนเผาที่เมืองพรูโซ รัฐกะยา (KARENNI NATIONALITIES DEFENSE FORCE (KNDF) / AFP)

เอเอฟพีรายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม 2564 ว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติออกแถลงการณ์เมื่อค่ำวันพุธที่ผ่านมาตามเวลานิวยอร์ก ประณามการโจมตีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ในรัฐกะยาทางภาคตะวันออกของเมียนมา โดยคำแถลงกล่าวว่า มีคนเสียชีวิต "อย่างน้อย 35 คน" รวมถึงเด็ก 4 คน และเจ้าหน้าที่ 2 คนของมูลนิธิเซฟเดอะชิลเดรน ที่เป็นองค์กรการกุศลจากอังกฤษ

แถลงการณ์กล่าวว่า ชาติสมาชิกคณะมนตรีฯ เน้นถึงความจำเป็นที่ต้องมีการรับผิดชอบต่อการกระทำนี้ และเรียกร้องให้ "ยุติความรุนแรงทั้งหมดโดยทันที และเน้นย้ำความสำคัญของการเคารพสิทธิมนุษยชนและการรับประกันความปลอดภัยของพลเรือน" รวมถึงเน้นความจำเป็นที่การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต้องสามารถเข้าถึงทุกคนที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและไร้ข้อจำกัด และการให้ความคุ้มครอง, ความปลอดภัย และความมั่นคงของบุคลากรด้านมนุษยธรรมและแพทย์อย่างเต็มที่

นักรบกองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารเผยว่า พวกเขาพบศพมากกว่า 30 ศพโดนเผาพร้อมกับรถหลายคันบนทางหลวงในรัฐกะยาเมื่อวันเสาร์ ภายหลังเกิดการปะทะกันระหว่างนักรบกับทหารในวันศุกร์ องค์กรเซฟเดอะชิลเดรนยืนยันเมื่อวันอังคารว่า เจ้าหน้าที่ชาวเมียนมาของมูลนิธิ 2 คน โดนฆ่าแล้วเผาในเหตุการณ์นี้ ซึ่งกลุ่มสิทธิและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของทหาร

หลังการโจมตีครั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐเรียกร้องประชาคมระหว่างประเทศอีกครั้งให้ปิดล้อมด้านอาวุธต่อรัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งขึ้นสู่อำนาจภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

ชาติตะวันตกจำกัดการค้าอาวุธกับกองทัพเมียนมามายาวนานแล้ว เมื่อเดือนมิถุนายน สมัชชาใหญ่ยูเอ็นลงมติป้องกันการขนส่งอาวุธไปยังเมียนมา แต่มตินี้เป็นแค่เชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากไม่ได้ผ่านคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งจีนและรัสเซียในฐานะชาติสมาชิกถาวรมีสิทธิยับยั้ง สองประเทศนี้รวมถึงอินเดียถือเป็นผู้ขายอาวุธรายใหญ่ให้เมียนมา.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม