'ฮุน เซน' หน้าแหก เมียนมาปัดข่าวปล่อยนักเศรษฐศาสตร์ออสซี่

นายกรัฐมนตรีฮุน เซน เสียหน้า โดนทางการเมียนมาปฏิเสธข่าวการปล่อยตัวฌอน เทอร์เนลล์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรเลียที่ปรึกษาของนางอองซาน ซูจี ที่ถูกคุมขังมาเกือบ 1 ปีเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายความลับทางราชการ

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2565 นายกฯ ฮุน เซน (ขวา) จับมือกับพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ระหว่างงานเลี้ยงรับรองมื้อค่ำที่กรุงเนปยีดอ (Photo by An Khoun SamAun / National Television of Cambodia (TVK) / AFP)

รายงานเอเอฟพีเมื่อวันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 กล่าวว่า ไม่กี่ชั่วโมงภายหลังโฆษกรัฐบาลเมียนมาแถลงปฏิเสธข่าวการปล่อยตัวเทอร์เนลล์ ผู้นำกัมพูชาก็ชี้แจงผ่านเพจเฟซบุ๊กของเขาว่า ข่าวที่เขาประกาศก่อนหน้านี้เป็นการได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด

เมื่อเช้าวันจันทร์ ฮุน เซน ประกาศข่าวว่า เทอร์เนลล์ ซึ่งถูกทางการเมียนมาควบคุมตัวในเวลาไม่กี่วันภายหลังการรัฐประหาร 1 กุมภาพันธ์ 2565 "ได้รับการปล่อยตัวแล้ว" เมื่อ 1 วันก่อนหน้านี้ โดยฮุน เซน บอกว่า เขาได้ส่งผ่านคำร้องขอของรัฐบาลออสเตรเลียเพื่อให้ปล่อยตัวเทอร์เนลล์ ไปยังพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ระหว่างการพบกันที่กรุงเนปยีดอเมื่อเดือนที่แล้ว และมิน อ่อง หล่าย ตอบรับว่าเขา "จะพิจารณาเรื่องนี้ในเชิงบวก"

ต่อมา ซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลเมียนมา ปฏิเสธว่า เทอร์เนลล์ยังไม่ได้รับการปล่อยตัว แต่เขายอมรับว่า ผู้นำกัมพูชาได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นกล่าวระหว่างการมาเยือนเมียนมา

ในคำชี้แจงเมื่อค่ำวันจันทร์ ฮุน เซน กล่าวว่า เขาได้รับข้อมูลมาผิด "ผมอยากให้เข้าใจในความผิดพลาดที่ไม่ได้เจตนานี้" เขาโพสต์ลงเฟซบุ๊ก

เทอร์เนลล์ถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายความลับทางราชการของเมียนมา ซึ่งมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 14 ปี โดยเป็นจำเลยร่วมในคดีเดียวกับนางซูจี รายงานกล่าวว่า เขาถูกส่งตัวขึ้นศาลในกรุงเนปยีดอทุกวันพฤหัสบดี ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดชัดเจนว่าเขากระทำความผิดข้อหาใด แต่โทรทัศน์ของทางการเมียนมารายงานว่า เขาเข้าถึง "ข้อมูลลับทางการคลังของประเทศ" และพยายามหลบหนีออกจากเมียนมา

กลุ่มสิทธิมนุษยชนแสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดำเนินคดีเขา โดยเฉพาะหลังจากสถานทูตออสเตรเลียถูกปฏิเสธคำขอเข้ารับฟังการไต่สวนในศาลเมื่อเดือนกันยายน

เมื่อวันจันทร์ กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลียได้เรียกร้องซ้ำอีกครั้ง ให้เมียนมาปล่อยตัวเทอร์เนลโดยทันที และให้รักษาสิทธิและสวัสดิภาพของเขา.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อารักขาเข้ม! วงดินเนอร์ ทักษิณ-อันวาร์-มินอ่องหล่าย

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในฐานะที่ปรึกษาส่วนตัวประธานอาเซียน เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรอง ดาโตะ เซอรี อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียน และคณะที่ปรึกษาประธานอาเซียน ในช่วงค่ำวันนี้ (17 เม.ย.) 

'พ่อนายกฯ' ชี้ต้องคุยกับ 'เมียนมา' มากขึ้น ร่วมแก้ยาเสพติด-แก๊งคอลฯ-ฝุ่นPM2.5-สารหนู

'ทักษิณ' ชี้ต้องคุยกับเมียนมามากขึ้น ร่วมกันแก้ปัญหา ทั้งปมยาเสพติด-คอลเซ็นเตอร์-ฝุ่นPM2.5-สารหนู พร้อมปลอบคนเชียงใหม่และเชียงราย รัฐบาลเร่งจัดการ

สทร. ยอมรับได้คุย ‘มินอองไลง์’ หวังเห็นเมียนมาเปิดเจรจาปูทางสันติสุข

"ทักษิณ" รับได้คุย "มินอองไลง์" ปัดเข้าข้าง - หวังเห็นเมียนมาเปิดเจรจาปูทางสันติสุข - แนะคุยชนกลุ่มน้อย-ปล่อยนักโทษการเมืองก่อนเลือกตั้ง

ส่งกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว 'เมียนมา' ตามยุทธการมัณฑะเลย์ 82

พลเอก อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมส่งกำลังพลของ

วิเคราะห์เจาะลึก ‘เลือกตั้งเมียนมา’ ชำแหละ ‘เบื้องหลัง-ความหวัง’ รบ.ทหาร ปูทางสู่ ‘รัฐบาลผสม’ ที่กองทัพยังคุมเกม

รัฐบาลทหารเมียนมาเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งใหญ่ นับตั้งแต่ทำรัฐประหารเมื่อปี 2564 โดยการประกาศจัดการเลือกตั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นใ