การปรับสร้างการศึกษาในสังคมอุตสาหกรรม 4.0

ถ้ามองภาพของอุตสาหกรรม 4.0 ที่วันนี้กำลังกลายเป็นฐานสำคัญในภาคการผลิตและบริการ เป็นที่พึ่งพาใหม่ของทุกกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่อย่างเข้มข้นทุกขณะ หากเข้าใจสังคมอุตสาหกรรม 4.0 ในมิติของสภาพแวดล้อม ความเคลื่อนไหว และพลังขับเคลื่อนที่มีต่อโลกวันนี้และอนาคตข้างหน้า จะพบว่าความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรม 4.0 นั้น เป็นเหมือนโลกใบใหม่ที่ต่างจากโลกเก่าอย่างสิ้นเชิงในแทบทุกบริบทของกลไกความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้างความคิด ระบบงาน-ลักษณะงาน ทักษะ-สมรรถนะความรู้และการทำงาน รวมทั้งผลลัพธ์โดยรวมที่พึงมี-พึงได้จากโลกของอุตสาหกรรม 4.0!!!

กลไกความเคลื่อนไหวในระบบการผลิตและบริการแบบ 4.0 มีโครงสร้างเฉพาะที่ต้องเข้าใจเพื่อการออกแบบระบบการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นไปตามรูปแบบและเป้าหมายที่ต้องการ! ซึ่งนัยสำคัญของกลไกความเคลื่อนไหวของระบบดังกล่าว จะเปลี่ยนจากความเคลื่อนไหวและการงานที่เคยพึ่งพาความคิด-ขั้นตอนการงาน-แรงงาน ที่ใช้มนุษย์เป็นหลัก สู่การปรับสร้างยุคใหม่ที่เชื่อมต่อความต้องการและความสามารถของคนเข้ากับโครงสร้างระบบดิจิตอล ที่มีหุ่นยนต์กลไก ระบบข้อมูล การออกแบบระบบ ที่จะสร้างผลลัพธ์เป็นผลผลิตและบริการตามเป้าหมาย จากการเชื่อมต่อกันของระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์กลไก ที่มีลักษณะโครงสร้างการจัดการและการงานแบบใหม่ ที่ต่างจากระบบเดิมๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมยุคเก่าที่ขับเคลื่อนการผลิตและบริการของบ้านเมืองอยู่!!!

ระบบการผลิตและบริการในอุตสาหกรรม 4.0 ผู้คน-บุคลากรจะมีภารกิจการงานหลัก นอกจากการออกแบบระบบแล้ว ก็จะทำงานในกลุ่มการขับเคลื่อน ควบคุม และซ่อมบำรุงในระบบวงจรงานตามระบบและแบบแผนที่วางไว้ การผลิตและบริการในอุตสาหกรรม 4.0 จะพึ่งพาเทคโนโลยี และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพแบบ 5G ต้องการใช้ผู้คนที่มีความรู้-ทักษะ-สมรรถนะที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และการทำงานบนแพลตฟอร์มดิจิตอล ที่จะทำให้มีผลิตผลและประสิทธิภาพโดยรวมจะสูงกว่า/ดีกว่าระบบเดิม ซึ่งจากการศึกษาความแตกต่างจะพบว่ามีศักยภาพรวมสูงกว่ากันราว 40 เปอร์เซ็นต์ กล่าวคือ มีผลผลิต+ผลรวมจากการผลิตที่มากกว่า+การประหยัดทรัพยากรมากกว่า+ความสูญเสียที่น้อยลงกว่าเดิม ที่รวมแล้วดีกว่าเดิมเกือยร้อยละ 40 ทีเดียว ขณะเดียวกันก็จะใช้บุคลากรทำงานลดลงกว่าเดิมราว 10 เท่า นี่คือภาพรวมความเปลี่ยนแปลงและผลิตภาพโดยเปรียบเทียบระหว่างระบบอุตสาหกรรมเดิมกับระบบอุตสาหกรรม 4.0!

ผลรวมดังกล่าวมีความหมายต่อการจัดการองค์กรในการผลิตบริการในหลายมิติ ตั้งแต่โครงสร้างองค์กร ระบบการผลิตและบริการ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาบุคลากร และการปรับสร้างทักษะสมรรถนะในกลุ่มบุคลากร ฯลฯ ซึ่งการทำงานในระบบอุตสาหกรรม 4.0 ต้องการบุคลากรที่มีฐานความรู้ เนื้อหาความเข้าใจโลกของดิจิทัล และการปรับสร้างพัฒนาทักษะความรู้และสมรรถนะโดยรวมที่ต่างไปจากเดิม! ซึ่งประเด็นนี้เป็นโจทย์ใหญ่ของสถาบันการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรในปัจจุบันที่มีนัยสำคัญยิ่ง

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ระบบการศึกษาปรับตัววนอยู่แค่ชายขอบของสาระสำคัญทางการศึกษาเท่านั้น! มีการปฏิรูปโครงสร้าง วิธีการ ขอบเขตตำแหน่งอำนาจ และเรื่องจิปาถะส่วนใหญ่ ฯลฯ ที่ล้วนอยู่นอกบริบทของการสร้างความรู้ การพัฒนาสติปัญญา และการยกระดับทักษะสมรรถนะที่จะปรับตัวให้เท่าทันนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผุดขึ้นรวดเร็วต่อเนื่องและอย่างมากมายที่รับรู้กันอยู่!

สภาพรวมท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรม 4.0 จึงส่งผลให้การศึกษาระบบเดิมถูกเบียดขับทำลายพ้นวงจรความต้องการจริงอยู่ทุกขณะในวันนี้! นี่คือโจทย์ปัญหาใหญ่ที่สำคัญของการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรวันนี้! ไม่นับรวมปัญหาอุปสรรคจากระบบระเบียบที่เป็นขวากหนาม ที่ไม่ส่งเสริมให้มีการต่อยอดพัฒนาเรียนรู้สร้างสรรค์ หรือการปรับตัวในแบบ unlearn relearn ตามความต้องการจริงของยุคสมัย ซึ่งมีความต้องการบุคลากรที่มีสมรรถนะตรงตามสภาวะการปรับตัวของนวัตกรรมและเทคโนโลยียุคใหม่ในภาคการผลิต-บริการ ในโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมและวิถีชีวิตยุคใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องรวดเร็วในปัจจุบัน!

ช่วงเวลาราวเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของการพัฒนาบุคลากรตามเป้าหมายของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มุ่งปรับทิศทางการศึกษาทุกระดับให้หลุดพ้นจากระบบเดิม ที่มีความสูญเปล่า-สูญเสียมหาศาล สู่ทิศทางใหม่ที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการบุคลากรตามสมรรถนะและฐานความรู้ที่เปลี่ยนจากโลกอนาล็อกสู่โลกดิจิตอล ในทิศทางการพัฒนาบุคลากร-การศึกษาที่เรียกโดยรวมว่า Demand driven เพื่อสร้างฐานหลักในการจัดวางการศึกษา-การพัฒนาบุคลากร ให้ปรับตัวได้ทุกระดับ-เชื่อมต่อกับความต้องการที่แท้จริงของการมีงานทำ-การเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งการศึกษาในวังวนเดิมถูกตีกรอบแน่นฝังในระบบระเบียบเก่า ไม่ผูกโยงกับการพัฒนา-ความก้าวหน้า-และความเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งความเคลื่อนไหวในทิศทางใหม่นี้ยังอยู่ในระยะแรกของการปรับตัว ยังต้องการพลังที่จะขับเคลื่อน-เชื่อมโยงระบบการศึกษา ให้เป็นหนึ่งเดียวกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ! โดยเฉพาะในการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่แม้จะมีความร่วมมือที่ดีจากภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน ฯลฯ รวมทั้งภาคเอกชนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่ม 12 s-curve ที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาลแล้ว แต่ก็ยังต้องการเพื่อนร่วมทางและพลังอีกมากเข้าร่วมปรับตัวขับเคลื่อนเรื่องนี้ ให้เท่าทันอนาคตที่กำลังไล่ล่าใกล้เข้ามาทุกขณะ!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต

บนเส้นทางมหาปรินิพพาน “มัชฌิมาปฏิปทา สู่ อัปปมาทธรรม”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนา.. บนเส้นทางมหาปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมสมัย มีปรากฏร่องรอยธรรมที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง

มาฆบูชาโลก ณ เวฬุวันมหาวิหาร ชมพูทวีป (พ.ศ.๒๕๖๗)

เจริญพรศรัทธาสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาระหว่าง ๒๒-๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปประกอบศาสนกิจอันสำคัญยิ่งในชมพูทวีป บนแผ่นดินเกิดพระพุทธศาสนา เนื่องใน วันมาฆบูชาโลก ซึ่งปีนี้ตรงกับ วันเสาร์ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็น “วันมาฆบูชาปูรณมี”

“มายาสาไถย..” ..ในสังคมปัจจุบัน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ย่อมมีประโยชน์ ๓ ระดับ ได้แก่