รถไฟไทยยุคใหม่ การขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าใหม่

รถไฟไทยวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป มีการพัฒนาเร่งปรับตัว-ปรับระบบ-ปรับบริการ และขยายขีดความสามารถให้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในวันนี้อย่างต่อเนื่อง โลกวันนี้ระบบรางพัฒนาขึ้นเป็นระบบคมนาคมและโลจิสติกส์ที่สำคัญ มีต้นทุนที่เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน-สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ได้ไม่แพ้การคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ในแบบอื่นๆ ซึ่งระบบรางของไทยก็กำลังปรับตัวสร้างความก้าวหน้าใหม่อย่างมุ่งมั่นเช่นกัน!

ถ้าย้อนหลังกลับไปดูจะพบว่า เรามีรถไฟทั้งแรงตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีการสร้างทางรถไฟสยามจากกรุงเทพฯถึงโคราชตั้งแต่ 1 มีนาคม รศ. 109 หรือพ.ศ 2433 ต่อจากนั้นการรถไฟก็ค่อย ๆ ขยายไปยังภูมิภาคเหนือ กลาง อีสาน ออก ตก ของประเทศต่อมาอย่างช้า ๆ ในช่วงเริ่มแรกก็ใช้หัวรถจักรไอน้ำลากจูงขบวน ต่อมาก็ใช้รถจักดีเซล และมีช่วงสะดุดหยุดพัฒนาไปนานทีเดียวในช่วงที่การรถไฟบริหารจัดการระบบราง

เมื่อสิ้นสุดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เส้นทางรถไฟเชื่อมโยงขยายตัวใน 5 ทิศทางทั้งสายเหนือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ยาว 752.077 กิโลเมตร

สายใต้ สถานีธนบุรี-สุไหงโกลก นราธิวาส ยาว 1,144.140 กิโลเมตร/ แยกสถานีปาดังเบซาร์ยาว 43.502 กิโลเมตร/ แยกสถานีสุพรรณบุรียาว 78.090 กิโลเมตร/ แยกคีรีรัตน์นิคมความยาว 31.250 กิโลเมตรแยกกันตังความยาว 92.802 กมและแยกนครศรีธรรมราช ยาว 35.081 กิโลเมตร

สายอีสาน กรุงเทพฯ - อุบลราชธานี 575 กิโลเมตรกรุงเทพฯ - หนองคาย 627.5 กิโลเมตร

สายตะวันตก กรุงเทพฯ-ชุมทางหนองปลาดุก สถานีน้ำตกจังหวัดกาญจนบุรียาว 130.989 กิโลเมตร

สายภาคกลางและตะวันออก กรุงเทพ-สถานีอรัญประเทศจังหวัดสระแก้วยาว 260.449 กิโลเมตร สถานีคลอง 19 ชุมทาง แก่งคอย ยาว 81.358 กิโลเมตร ชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตาพุดยาว 24.070 กิโลเมตร

สำหรับการตื่นตัวและพัฒนาระบบรางในปัจจุบันของไทยเรา กระทรวงคมนาคมได้จัดตั้ง กรมการขนส่งทางรางขึ้นเมื่อเดือน มีนาคม 2562 และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมทางรางทั้งระบบเดิมและระบบรถไฟความเร็วปานกลาง ความเร็วสูง และดูและปรับปรุงระบบรางเดิม ๆ ที่ดำเนินการอยู่ พร้อมทั้งขยายงานบริหารจัดการระบบโลจิสติกทางรางขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งสถาบันรางพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระบบรางและจนถึงการพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนที่เป็นกลุ่มสาขาขาดแคลน และพัฒนายกระดับระบบเดิมขึ้นมาในการบริหารระบบรางไทยยุคใหม่ในวันนี้ด้วย

มีการจัดทำแผนและปฏิบัติการที่มุ่งพัฒนาความก้าวหน้าของระบบรางสู่การคมนาคมที่ยั่งยืน ได้บรรจุไว้ในแผนในยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่มุ่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายรถไฟอย่างจริงจัง ช่วงที่ คสช. ขับเคลื่อนการบริหารประเทศ ได้มีมติเห็นชอบหลักการและยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ปี พ.ศ. 2558-2565 โดยเห็นชอบให้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟเดิม ในช่วงที่มีปัญหาการเดินรถ 6 เส้นทาง และให้ปรับสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการสร้างรถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตรจำนวน 2 เส้นทาง เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าใหม่-ให้เร่งพัฒนาโครงข่ายระบบราง-ระบบรถไฟ ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าใหม่-เป็นไปตามนโยบายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีวงเล็บ 2560 - 2579 และให้ขยายโครงข่ายรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ โดยให้มีโครงข่ายทางรถไฟครอบคลุมการพัฒนาทั่วประเทศ สอดรับกับการพัฒนายุคใหม่และความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และการเชื่อมต่อกับทุกภูมิภาคที่สำคัญ

กระทรวงคมนาคมได้เร่งปรับปรุงมาตรฐานระบบรถไฟ-การพัฒนารถไฟ ตั้งสถาบันรางขึ้นสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร โดยมีแผนการลงทุนที่สำคัญคือการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,500 กิโลเมตร และได้พัฒนาขยายเส้นทางเชื่อมภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกให้เชื่อมต่อและขยายเส้นทางต่อเชื่อมกันมากขึ้น

ส่วนที่ 2 ได้เดินหน้าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร 2 เส้นทางคือเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี กับเส้นทางที่จะไปเชื่อมต่อกับเส้นทางที่จีนสร้างลงมาถึง สปป.ลาว

ส่วนที่ 3 มีโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เช่นช่วงกาญจนบุรี – กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ช่วงกาญจนบุรี – กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

รวมการพัฒนาระบบรางของรถไฟยุคใหม่นี้ทั้งหมดรวมทั้งสิ้นราว 4,000 กว่ากิโลเมตร ที่มีการประสานเทคโนโลยีจากทั้ง ญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ซึ่งจะสร้างเชื่อมต่อกับทุกภาคของประเทศและเชื่อมภูมิภาคของประเทศเพื่อนบ้านด้วยในขณะเดียวกัน ก้าวใหม่ของรถไฟไทยวันนี้จึงเป็นก้าวกระโดดที่มุ่งสร้างประเทศ-สร้างศักยภาพการแข่งขัน ในช่วงเวลาที่ประเทศต้องเร่งสร้างความก้าวหน้า-เปลี่ยนแปลงให้เท่าทันกับโลกแวดล้อมที่กำลังปรับตัวเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้ .

โลกใบใหม่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)

ลัทธิผีบุญ .. ภัยร้ายต่อพระศาสนา!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบันที่ยังเจริญเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ คือ การยึดถือคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรมดั้งเดิม...

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต

บนเส้นทางมหาปรินิพพาน “มัชฌิมาปฏิปทา สู่ อัปปมาทธรรม”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนา.. บนเส้นทางมหาปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปัจฉิมสมัย มีปรากฏร่องรอยธรรมที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง