อนาคตของ 'ไฟใต้' จะดับด้วยการ 'พัฒนา' หรือด้วยการใช้กำลังอาวุธ

ขึ้นปีงบประมาณใหม่ ไฟใต้ เบ่งบานในพื้นที่ จ.นราธิวาส ทั้งใน อ.ยี่งอ, บาเจาะ, จะแนะ และสุไหงปาดี ลามไปถึงการวางระเบิดเสาไฟฟ้าบนถนนสายสุไหงปาดี-สุไหงโก-ลก และเชื่อว่าการก่อเหตุร้ายจะลุกลามเข้ามายัง จ.ปัตตานี และพื้นที่อื่นๆ ตลอดทั้งเดือนตุลาคม 2564 นี้ นี่เป็นการ วิเคราะห์ สถานการณ์ของ ไฟใต้ แบบรายเดือน ซึ่งจะมีการก่อเหตุทุกเดือน ก็เท่ากับ ไฟใต้ ยังเกิดขึ้นตลอดไป และหากยังไม่มี นโยบาย ที่ถูกต้องมาเป็นตัวกำหนด ไฟใต้ ก็จะเป็น สงครามประจำถิ่น ตลอดปี และตลอดไป  

นโยบายในการดับ ไฟใต้ ที่ดำเนินมาตั้งหลายปี มีหลักๆ ด้วยกัน 3 เรื่องใหญ่ๆ ที่นำไปสู่การ ดับไฟใต้ นั่นคือการดับ ไฟใต้ ด้วยการพัฒนา ซึ่งหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบคือ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. ที่มีบทบาทในการ บูรณาการ กับภาคส่วนต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน  

ในส่วนของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งทำหน้าที่ในด้านการรักษาความสงบ ป้องกัน ปราบปราม ขบวนการแบ่งแยกดินแดน มีอยู่ 2 แนวทางที่ทำการ ขับเคลื่อน เพื่อการดับ ไฟใต้ นั่นคือการใช้วิธีการ เจรจา กับฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่มี บีอาร์เอ็น เป็นผู้นำ ซึ่งการใช้แนวทางในการ เจรจา ทำกันมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ที่เป็นการ เจรจา และเปิดเผยให้สังคมได้รับรู้ เริ่มตั้งแต่ 10 ปีก่อน สมัยที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น นายกรัฐมนตรี  

และอีกแนวทางหนึ่งของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า คือการดับ ไฟใต้ ด้วย ยุทธวิธี ทางทหารภายในพื้นที่ ซึ่งมีการก่อความไม่สงบ เช่น การปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม นำคนผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และหากมีการต่อสู้ก็จบลงด้วยการ วิสามัญ ซึ่งเป็นความชอบธรรมทางกฎหมาย  

วันนี้จะติดตามการดับ ไฟใต้ ก็จะเห็นว่ามีการ ขับเคลื่อน ไปพร้อมๆ กันทั้ง 3 แนวทาง ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันคือ การ ยุติ สงครามแบ่งแยกดินแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกิดขึ้นและ คาราคาซัง นานนับ 100 ปี  

งานด้านการใช้การพัฒนาเพื่อดับ ไฟใต้ ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ขับเคลื่อนอยู่นั้น จะมุ่งเน้นไปที่ปัญหาของความยากจน ความเหลี่ยมล้ำในสังคม ด้วยการพัฒนาอาชีพ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ดึงกลุ่มทุนเข้ามาลงทุนให้มากที่สุด เพื่อให้คนว่างงานได้มีงานทำ พัฒนาการค้าชายแดน และการท่องเที่ยว ที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่  

ปีงบประมาณใหม่นี้ ศอ.บต.กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้แบบ พลิกโฉมหน้า ด้วยการใช้การวิจัยและนวัตกรรมเข้ามาเพื่อเป็นเครื่องมือในการทำข้อมูลประชากรในพื้นที่ ซึ่งอยู่ในข่ายของ คนจน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงครบถ้วน เพราะที่ผ่านมาแม้จะมีข้อมูลจำนวนคนจน จำนวนครัวเรือนที่ยากจน แต่ยังไม่มีการลงรายละเอียดว่าเป็นความจนในด้านไหน  

เช่น จนในด้านอาชีพ จนในด้านการศึกษา จนในด้านสุขภาพ, จนในด้านของรายได้ จนในด้านสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งเป็นคนจน 5 ประเภท ของภาคใต้ และจะมีฐานข้อมูลจากเลข 13 หลัก และเลขที่บ้านเป็นหลักฐาน เพื่อง่ายต่อการดำเนินการในการแก้ปัญหาของคนจนที่ค้นเจอ  

เป็นการค้นหาคนจนแบบ ชี้เป้า คนจนอยู่ที่ไหน ต้องไปค้นหาให้เจอ และต้องตั้งโจทย์ว่า สาเหตุของความจนมาจากอะไร และจะแก้อย่างไร โดย ศอ.บต.ได้มอบหมายให้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ดำเนินการในการลงพื้นที่เพื่อการค้นหาคนจนแบบชี้เป้า แบบต้องหาให้เจอ ต้องมีหลักฐาน ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ 3 แห่ง ได้ดำเนินการแล้วใน จ.นราธิวาส ในพื้นที่ อ.เมือง, สุไหงปาดี และสุคิริน  

โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งต่อให้กับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด และนำมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา โดย ศอ.บต.เป็น แม่งาน ในการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทุกกระทรวง โดยมีกำลังสำคัญในพื้นที่ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และพัฒนาชุมชน เป็นต้น  

โดยจะมีการให้ความสำคัญกับทุนเดิมในพื้นที่ซึ่งมีอยู่แล้ว เมื่อพิจารณาจากทุนเดิมก็จะทราบว่าควรจะพัฒนาอย่างไร และจะนำไปสู่แบบบูรณาการประจำปีของงบประมาณในปี 2565 ซึ่งต่อไปหน่วยงานในพื้นที่หน่วยไหนทำอะไร มีแผนพัฒนาอย่างไร แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ศอ.บต.ต้องรับรู้ และมีการ บูรณาการ ด้วยกัน มิใช่ต่างหน่วยต่างทำ ต่างคนต่างเดิน และซ้ำซ้อนทับซ้อนกันอย่างที่เคยเกิดขึ้น  

และการพลิกโฉมการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ใน มิติใหม่ คือ จะใช้งานวิจัยและนวัตกรรมให้มากขึ้น โดยสำนักวิจัยแห่งชาติ (วช.) จะเป็นหน่วยงานที่จัดหางบประมาณเพื่อให้คนในพื้นที่ ซึ่งมีความรู้ เป็นปัญญาชน เป็นปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ และอื่นๆ ทำการวิจัยในปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัญหาของพื้นที่ โดยให้คนในพื้นที่เป็นผู้วิจัยและนำเสนองานวิจัยให้กับ ศอ.บต. โดย ศอ.บต.จะเป็นผู้กำหนดเงื่อนเวลาของงานวิจัยต้องใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน ยกตัวอย่างเช่น ไปวิจัยว่า ในสถานการณ์ของ โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่าเป็นยุคของ นิวนอร์มอล เราจะอยู่อย่างไร เป็นต้น  

ต่อไปนี้ปัญหาของคนในพื้นที่ จะเป็นหน้าที่ของคนในพื้นที่เป็นผู้กำหนด โดย ศอ.บต.กับ วช.เป็นผู้วางกรอบชี้เป้าให้ บ้านเกิดของท่านจะเป็นอย่างไร ท่านต้องการเห็นอย่างไร ท่านจะต้องมีส่วนในการกำหนด หน้าที่ของ ศอ.บต.คือศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น เจ้าภาพ เพื่อขับเคลื่อนการ บูรณาการ แบบ จริงๆ จังๆ  

แต่..ในการขับเคลื่อนของทุกภาคส่วนที่จะเกิดขึ้นตามแผนพัฒนาเดินหน้าจังหวัดชายแดนภาคใต้โฉมใหม่ ต้องอิงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แผนแม่บท, พหุวัฒนธรรม และปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9 การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาเป็นด้านหลัก  

นี่คือบางส่วนบางตอนที่เป็นการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่จะใช้นโยบาย พลิกโฉมจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการพัฒนา เพื่อที่จะบอกว่า ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้จะจบอย่างไรอยู่ที่คนในพื้นที่ต้องการ  

สำหรับในส่วนของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้านั้น ปีงบประมาณใหม่ ในนโยบายเดิม เพราะ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ย้ำมาโดยตลอดว่า เราเดินมาถูกทางแล้ว ดังนั้นจึงยังคงเดินหน้าในเรื่องของการนำคนกลับบ้าน การใช้เวทีของ สล.2 และ สล.3 ที่มีนโยบาย นักรบพบรัก กล้วยและแอปเปิล ซึ่งเป็น ไอเดีย ของ พล.ท.ธิรา แดหวา แม่ทัพน้อยที่ 4 ที่เป็นผู้กำกับดูแล ศูนย์สันติวิธี ด้วยการเน้นการ พูดคุย ในพื้นที่เป็นด้านหลัก  

ส่วนการ เจรจา กับตัวแทนของบีอาร์เอ็น ที่มีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวก ซึ่งมีการ ยุติ ไปเพราะ สถานการณ์ของ โควิด-19 โดยมีเพียงการ พูดคุย นอกรูปแบบระหว่างกันนั้น ก็ต้องฟังดูว่า เลขาธิการสภาความมั่นคงคนใหม่ พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม จะมีนโยบายอะไรใหม่ๆ หรือยังเป็นนโยบายเดิมที่กำกับการแสดงโดย "แม่ทัพเมา" - พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 และอดีตหัวหน้าคณะ พูดคุย ซึ่งปฏิเสธที่จะไม่คุยกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนกลุ่มอื่นๆ ยกเว้นบีอาร์เอ็นเท่านั้น  

แต่...กลุ่มบีอาร์เอ็นที่มีรายชื่อในโต๊ะของการ พูดคุย ณ วันนี้ ซึ่งสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปแล้วนั้น อาจจะเป็นบีอาร์เอ็นก็จริง แต่เป็นบีอาร์เอ็นที่ไม่มีตำแหน่งแห่งหนในขบวนการแล้ว ดังนั้นการเจรจากับบีอาร์เอ็นกลุ่มนี้ก็อาจจะไม่มีมรรคมีผลที่จะทำให้ ไฟใต้ สามารถ ยุติ ลงได้ด้วยการ เจราจา ก็แเป็นได้  

หรือสุดท้ายแล้วการดับ ไฟใต้ ยังต้องใช้ บริการ กำลังเจ้าหน้าที่และอาวุธในการใช้ความรุนแรง ภายใต้อำนาจของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า จนกว่าบีอาร์เอ็นจะอ่อนแรง หรือจนกว่าบีอาร์เอ็นจะสร้างมวลชนได้ในจำนวนที่ต้องการ และสร้างสถานการณ์ให้ ต่างชาติ เข้ามาเป็น คนกลาง ในการตัดสินปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้  

ก็ต้องจับตามองว่า การใช้แผนพลิกโฉมการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ศอ.บต.จะทำให้มวลชนละทิ้ง ขบวนการบีอาร์เอ็นได้หรือไม่ เพราะการแพ้-ชนะในสงครามแบ่งแยกดินแดนนั้น มวลชนคือผู้ชี้ขาด ถ้าบีอาร์เอ็นไม่มีมวลชนสนับสนุน ไม่มีงบประมาณ ไม่มีที่พักพิง ไม่มีผู้ส่งเสบียงอาหาร ก็เหมือน ตะเกียง ที่ขาดน้ำมัน สุดท้ายก็ย่อมที่จะดับไปเอง. 

เมือง ไม้ขม รายงาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

พนัส อดีตสว.-อดีตสสร. คัดเลือกสภาสูง 2567 ฝ่ายประชาธิปไตยมีสิทธิลุ้น

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง"สมาชิกวุฒิสภา"(สว.) ชุดใหม่ ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ....

อย่าใหญ่เกินธรรมชาติ .. พ่อมหาจำเริญ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. ภาวะโลกร้อน (Global warming) .. อันเกิดเนื่องเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังอยู่ใต้ห้วงวิกฤตการณ์อันเนื่องจากการกระทำของคนเรา

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

มทภ.4 สั่งไล่ล่าคนร้าย ซุ่มยิง อส.ดับ 2 บาดเจ็บ 9 พื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส

แม่ทัพภาค 4 แสดงความเสียใจกับครอบครัวเจ้าหน้าที่ 2 นาย ที่เสียชีวิตจากเหตุคนร้ายซุ่มยิง ในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส พร้อมสั่งการคุมเข้มพื้นที่ เร่งติดตามผู้ก่อเหตุมาดำเนินคดีตามกฎหมายโดยเร็วที่สุด