การประชุมสภาผู้แทนราษฎร หลังการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (๕๗)

 

หลังจากที่รัฐบาลได้รับพระราชทาน “พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ”  รัฐบาลได้ออก “คำแถลงการณ์ของรัฐบาลเกี่ยวกับการสละราชสมบัติ” ให้ประชาชนได้รับทราบ และคณะรัฐมนตรีได้เสนอเรื่องต่อสภาผู้แทนราษฎร

ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสละราชสมบัติ พระองค์ได้เสด็จยังต่างประเทศ และได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2477 และเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ทรงยืนยันว่าพระองค์ได้ทรงพ้นตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปพร้อมกับการสละราชสมบัติ และการตั้งผู้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระองค์นั้น  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงได้มีกระแสรับสั่งว่า พระองค์ทรงสละสิทธิ์ที่จะตั้งผู้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระองค์

ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรต่อกรณีการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ผู้เขียนได้นำเสนอคำแนะนำที่หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรฯทรงประทานให้แก่ที่ประชุมสภาฯ นั่นคือ สภาผู้แทนราษฎรไม่มีอำนาจในการรับหรือไม่รับการสละราชสมบัติ  เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเล้าฯทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  และพระองค์มีสิทธิ์ที่จะสละราชสมบัติโดยไม่จำเป็นต้องขอการอนุมัติจากสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น สิ่งที่สภาผู้แทนราษฎรจะทำได้คือรับทราบการสละราชสมบัติเท่านั้น ส่วนในกรณีพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อไป หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรทรงให้ความเห็นว่า “ส่วนพระองค์ต่อไปซึ่งจะขึ้นครองราชสมบัติ ก็ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร”

หลังจากมีการอภิปรายไปพอสมควร เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ รัฐมนตรีกระทรวงวัง กล่าวว่า “ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาลตามที่สมเด็จกรมพระนริศฯ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสละราชสมบัติ/ผู้เขียน) ได้ทรงสืบสวนแล้ว ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงสงขลาฯ ซึ่งได้สิ้นพระชนม์แล้ว กับมีพระราชโอรส คือ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล นั้นเป็นผู้สืบราชสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาล ตามที่ได้แจกไปให้ท่านแล้ว”

เอกสารที่แจกให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ เอกสารบัญชีลำดับสืบราชสันตติวงศ์ ตามกฎมณเฑียรบาล

ลำดับสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลำดับที่

          พระนาม

ประสูติ พ.ศ.

     หมายเหตุ

 

 

สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์

๒๔๓๔

 

หาพระองค์ไม่แล้ว

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล

๒๔๖๘

 

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช

๒๔๗๐

 

สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต

๒๔๒๔

 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมพฏพงศ์บริพัตร

๒๔๔๗

 

 

 

 

สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์

๒๔๒๕

หาพระองค์ไม่แล้ว

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล

๒๔๕๓

 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลทิฆัมพร

๒๔๕๖

 

พระเจ้าวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุศรมงคลการ

๒๔๕๘

 

 

พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนารถ (กิติยากร)

๒๔๑๗

หาพระองค์ไม่แล้ว

หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์

๒๔๔๐

 

หม่อมเจ้านักขัตรมงคล

๒๔๔๑

 

๑๐

หม่อมเจ้าขจรจบกิตีคุณ

๒๔๔๓

 

 

พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี (ประวิตร)

 

หาพระองค์ไม่แล้ว

๑๑

หม่อมเจ้ากัลยาณวงศ์ประวิตร

๒๔๔๙

 

๑๒

หม่อมเจ้าจิตรปรีดี

๒๔๕๐

 

๑๓

หม่อมเจ้าวิกรมสุรสีห์

๒๔๕๔

 

 

พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงไชยศรีสุรเดช (จิรประวัติ)

 

หาพระองค์ไม่แล้ว

๑๔

หม่อมเจ้าประสบศรีจิรประวัติ

๒๔๔๔

 

๑๕

หม่อมเจ้านิทัศนาธร

๒๔๔๘

 

๑๖

หม่อมเจ้าขจรจิรพันธ์

๒๔๕๕

 

 

พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ (อาภากร)

 

หาพระองค์ไม่แล้ว

๑๗

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา

๒๔๔๗

 

๑๘

หม่อมเจ้ารังษิยากร

๒๔๔๙

 

๑๙

พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชร์อัครโยธิน (ฉัตรชัย)

๒๔๒๔

 

๒๐

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร

๒๔๕๖

 

๒๑

พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (วุฒิไชย)

๒๔๒๖

 

๒๒

หม่อมเจ้าทรงวุฒิไชย

๒๔๕๓

 

๒๓

หม่อมเจ้าอุไทยเฉลิมลาภ

๒๔๕๖

 

(ที่ขีดเส้นสัญประกาศไว้ใต้พระนามพระองค์ใด หมายความว่า พระมารดาของท่านพระองค์นั้นเป็นเจ้า คือ เป็น อุภโตสุชาติ อันแปลว่า พระชาติกาเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย)

จากบัญชีลำดับสืบราชสันตติวงศ์นี้  สมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายจนเกิดข้อถกเถียงว่า สภาผู้แทนราษฎรไม่จำเป็นต้องเลือกกษัตริย์ตามกฎมณเฑียรบาล เพราะสภาผู้แทนราษฎรทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงกว่ากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๗  สภาผู้แทนราษฎรจะเลือกเจ้านายพระองค์ใดก็ได้  และสมาชิกในที่ประชุมได้อภิปรายโต้เถียงกันถึงความไม่เหมาะสมที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์เจ้าอานันทมหิดลด้วยเหตุผลที่ยังทรงพระเยาว์ มีพระชันษาเพียง 10 ชันษาเท่านั้น อย่างเช่น ขุนเสนาสัสดี ผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า    “….นี่เพิ่ง ๑๐ ชันษา จะเป็นพระมหากษัตริย์อย่างไร ข้าพเจ้าสงสัยว่า ราษฎรทั้งชาติเขาจะนับถือด้วยประการทั้งปวงแล้วหรือ ข้าพเจ้าข้องใจเป็นอันมาก”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 20: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 7)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 19: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 6)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 18: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 24 กันยายน 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า