เงินเฟ้อ ปัญหาหนักอกของรัฐบาล

หลังจากเหตุการณ์การสู้รบระหว่างยูเครน-รัสเซีย ยืดเยื้อมาเกือบ 2 สัปดาห์ ทำให้ทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์ที่เป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต คือ วิกฤตไวรัสโควิด-19 วิกฤตเงินเฟ้อ และวิกฤตสงครามยูเครน-รัสเซีย ได้ส่งผลกระทบราคาพลังงานโลก

คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น อาจจะเห็นตัวเลขราคาน้ำมันโลกที่ 120 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ปัจจุบันน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 106.58 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เบรนต์ 118.11 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และเวสต์เทกซัส 110.07 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าและขนส่ง ก็จะทำให้ราคาสินค้าและค่าขนส่งยิ่งแพงขึ้น กระทบทั้งค่าครองชีพและภาคการส่งออก รวมทั้งสภาวะเงินเฟ้อที่มาพร้อมกับเงินฝืดจะส่งผลต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับครอบครัวและมหภาค

ก่อนหน้านี้  นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาคเอกชนและหอการค้าไทยได้ติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอย่างใกล้ชิด พร้อมประเมินว่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น โดยทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลจะทำให้ราคาน้ำมันในไทยปรับขึ้น 50 สตางค์ต่อลิตร หากเกิดสงคราม คาดว่าราคาน้ำมันจะปรับขึ้นถึง 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือจะกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศถึง 6 บาทต่อลิตร

จากตัวเลขคาดการณ์ที่ออกมาย่อมส่งผลกระทบต่อความเดือดร้อนของประชาชนอย่างแน่นอน สะท้อนได้จากเรื่องของเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ก.พ.2565 เท่ากับ 104.10 เทียบกับ ม.ค.2565 เพิ่มขึ้น 1.06% เทียบกับเดือน ก.พ.2564 เพิ่มขึ้น 5.28% สูงสุดในรอบ 13 ปี นับจากปี 2551

ส่วนเงินเฟ้อรวม 2 เดือนปี 2565 (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้น 4.25% และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนีอยู่ที่ 102.20 เพิ่มขึ้น 1.20% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.2565 และเพิ่มขึ้น 1.80% เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.2564 และรวม 2 เดือนเพิ่มขึ้น 1.16%

เห็นได้ชัดว่า ตัวเลขเงินเฟ้อนั้นเพิ่มสูงถึง 5% ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ปกติ เพราะยิ่งมีเงินเฟ้อมาก หมายความว่าค่าของเงินจะลดลง หรือในอีกทีทางหนึ่งก็คือ จะกลายเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนมากขึ้น โดยเงินเฟ้อจะไปกระทบต่อชีวิตของคนชั้นกลางและคนรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ำ

และเงินเฟ้อในครั้งนี้ไม่สามารถใช้กลไกดอกเบี้ยมาจัดการได้ เพราะไม่ได้เป็นเงินเฟ้อที่มาจากเศรษฐกิจเติบโต ดังนั้นสิ่งที่ตามมาจากการประเมินในครั้งนี้ พอสินค้าแพงและคนไม่มีกำลังจะซื้อ ก็จะเริ่มวางแผนควบคุมค่าใช้จ่าย และนำไปสู่ภาวะเงินฝืดตามมา ซึ่งก็จะถือเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่สามารถจะเกิดขึ้นได้

ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดภาวะวิกฤตซ้ำซ้อน ในเมื่อรัฐไม่สามารถที่จะควบคุมราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ สิ่งที่รัฐบาลพอจะทำได้คือ การดูแลราคาสินค้าไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคา รวมถึงการจะต้องดำเนินนโยบายเพิ่มกำลังซื้ออีกครั้ง แต่จะต้องโฟกัสให้กลุ่มคนมีเงินนำเงินออกมาใช้ ลำพังแค่คนละครึ่งก็ช่วยได้เฉพาะกลุ่มคนชั้นกลางและล่างเท่านั้น

ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องพิจารณากู้เงินเพิ่มเติมขึ้นมาอีกเพื่อมาใช้ประคองธุรกิจ ซึ่งนี่ก็เป็นอีกแนวทางที่รัฐบาลพอจะดำเนินการได้ แม้จะต้องเจอกับปัญหาหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม

ส่วนราคาน้ำมันที่คาดว่าจะผันผวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็อาจจะใช้การสนับสนุนที่เฉพาะจุดกับคนที่ทำธุรกิจขนส่งมากขึ้น ไม่ใช่ให้แบบเหมารวม ซึ่งจะช่วยโฟกัสและไม่เป็นภาระงบประมาณมากเกินไป

ทั้งหมดคงจะต้องติดตามการแก้ปัญหาของรัฐบาลอีกครั้งว่าจะจัดการอย่างไร.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา