พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด

การดำเนินงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 นั้น ในปัจจุบันอาจจะเห็นช่องทางที่ชัดเจนมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงแรกๆ ที่เกิดการแพร่ระบาด เนื่องจากคนในสังคมยังมีความหวาดกลัว รวมถึงยังรับมือไม่ถูกกับเชื้อไวรัสดังกล่าว ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักลงไป แต่ในทุกวันนี้ผ่านมาแล้วกว่า 2 ปี จึงเป็นเรื่องที่เกิดความเคยชินและมีการปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลายเป็นการใช้ชีวิตวิถีใหม่ที่โฟกัสมาที่การดูแลและรักษาตัวเองมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกัน ด้านเศรษฐกิจก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตท่ามกลางความยากลำบากนี้ได้แล้วจากการประเมินของหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าปัจจุบันยังมีปัจจัยลบอื่นๆ เข้ามาฉุดรั้งอยู่บ้าง แต่หลายฝ่ายก็ยังมองว่ายังมีแนวโน้มที่ดูจะสดใสกว่าเดิม ซึ่งภาคการดำเนินธุรกิจเองก็เริ่มเข้าใจตลาดและความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นจากการทำการวิเคราะห์และศึกษาผ่านเวลามาขนาดนี้ แต่เชื่อว่าแม้จะมีการปรับตัวที่เพิ่มขึ้นแล้วในกลุ่มธุรกิจก็ยังมีปัญหาและผลกระทบมาอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากไม่ใช่ทุกคนจะสามารถแบกรับต้นทุนหรือภาระที่ถาโถมเข้ามาได้ในช่วงแรก ด้วยเหตุนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม จึงได้ดำเนินมาตรการ “พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด” ภายใต้นโยบายโควิด 2.0 ช่วยเหลือผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ ยกระดับกระบวนการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า ผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งพร้อมรองรับความต้องการที่หลากหลายของผู้ประกอบการ ด้วยเครื่องจักรกลกว่า 50 ประเภท โดยเน้นกลุ่มอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง เช่น เกษตรแปรรูป อาหาร และสมุนไพร

ด้วยโครงการนี้เอง จึงน่าจะเชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถดูแลและพยุงกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอี รายย่อย หรือกลุ่มไมโครเอสเอ็มอีที่น่าเป็นห่วงที่สุดให้สามารถแก้ไขปัญหาและจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ตามแผนของนโยบายโควิด 2.0 จะผลักดันให้ศูนย์ ITC ทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศ เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการในการยกระดับกระบวนการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของแต่ละพื้นที่ ให้สามารถประยุกต์ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย นำเทคนิคหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปสร้างความแปลกใหม่น่าสนใจให้กับสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน

ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กล่าวว่า ดีพร้อมได้เห็นการปรับตัวของผู้ประกอบการทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนมากผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลถือว่ามีทิศทางการผลิตสินค้า-บริการใหม่ๆ ที่สอดรับกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าแฟชั่น ตลอดจนการเข้ามารับคำปรึกษาเพื่อเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัปของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่อยู่ในระหว่างกระบวนการพัฒนาและที่ต่อยอดมูลค่าทางธุรกิจได้สำเร็จ

ส่วนในระดับภูมิภาค กลุ่มที่เข้ามาขอรับคำปรึกษาและพัฒนาธุรกิจจะมีทั้งผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน โดยผู้ประกอบการในภาคเหนือมักจะเป็นเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เช่น การนำใบชามาพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปาก การต่อยอดผลผลิตจากการเลี้ยงผึ้ง การแปรรูปสมุนไพรต่างๆ อาทิ การนำกระชายสดมาทำการแปรรูปเป็นกระชายผงโดยการอบแห้งด้วยเครื่องอบลมร้อน และบดให้เป็นผงด้วยเครื่องบด เป็นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กระชายผงที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ขณะเดียวกัน

ผู้ประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างมีความเด่นชัดในเชิงการพัฒนาวัตถุดิบจากท้องถิ่น เช่น การแปรรูปแมลง หอยเชอรี่ ผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้า การต่อยอดสินค้าจากการเลี้ยงไหม และการพัฒนากระบวนการผลิตข้าว ส่วนผู้ประกอบการในภาคใต้จะมีความคล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ เน้นพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นหลัก เช่น การเพิ่มมูลค่าให้กับน้ำยางพารา ผลผลิตจากปาล์มน้ำมัน รวมไปถึงการ แปรรูปอาหารทะเล

และด้วยความพร้อมของศูนย์พัฒนาฯ ทั้ง 13 แห่งทั่วประเทศ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการพัฒนากระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบต่างๆ ที่ช่วยลดต้นทุน เพื่อให้สามารถทำการตลาดได้ง่ายและตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ท่ามกลางสถานการณ์ยากลำบากที่อาจจะส่งผลต่อเนื่องไปในอนาคตได้แน่นอน.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”