วิกฤตยูเครนกดศก.ไทยโตช้า

หลังการระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เศรษฐทั่วโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัว รวมถึงประเทศไทย แต่เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่รุนแรงมากขึ้น ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก และความตึงเครียดก็ยืดเยื้อกว่าที่คาด ซึ่ง ปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ในระยะข้างหน้าอาจชะลอตัวลงบ้างจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งขึ้นจากราคาน้ำมัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราวและเฉลี่ยทั้งปีมีโอกาสเกินกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายที่ 3%

ด้าน วิจัยกรุงศรี ประเมินในกรณีฐานหากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนมีการสู้รบยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2/2565 ทำให้ชาติตะวันตกใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงมากขึ้น โดยมีการห้ามนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่พลังงานจากรัสเซียไปจนถึงกลางปีหน้า ส่งผลกระทบให้การผลิตและการค้าของโลกลดลง ซึ่งจะเชื่อมโยงมาสู่การส่งออก การผลิต และภาคท่องเที่ยวของไทย

ล่าสุด วิจัยกรุงศรีจึงปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจ หรือจีดีพีไทยในปี 2565 มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเหลือ 2.8% จากเดิมที่คาดไว้ 3.7% และยังปรับลดมูลค่าการส่งออก (รูปดอลลาร์) ขยายตัวอยู่ที่ 2.6% จากเดิมคาดไว้ 5%

นอกจากนี้ ภาพการส่งออกที่อ่อนแอลง ขณะที่ราคานำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาพลังงาน ประกอบกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง จึงอาจนำไปสู่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเร่งขึ้น โดยทั้งปีคาดว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.8% อาจบั่นทอนกำลังซื้อและทำให้การบริโภคของผู้มีรายได้ในแต่ละกลุ่มฟื้นตัวได้แตกต่างกัน

และยังคาดการณ์อัตราการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ปรับลดลงเหลือ 3.0% จากเดิมคาดไว้ 3.8% แม้การใช้จ่ายอาจได้รับแรงหนุนจากการปรับดีขึ้นของรายได้เกษตรกรที่ได้อานิสงส์จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์อยู่บ้างก็ตาม

อย่างไรก็ตาม วิจัยกรุงศรียังระบุว่า รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการเปิดประเทศเพิ่มเติม ขณะที่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวยังเผชิญหลายแรงกดดัน การประชุมของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศบค.) วันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบปรับระดับพื้นที่ของสถานการณ์การระบาดเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ

โดยปรับพื้นที่ควบคุมสีส้ม เหลือ 20 จังหวัด จาก 44 จังหวัด, พื้นที่เฝ้าระวังสูงสีเหลืองเป็น 47 จังหวัด จาก 25 จังหวัด, พื้นที่สีฟ้าหรือพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวเพิ่มเป็น 10 จังหวัด จาก 8 จังหวัด

นอกจากนี้ยังมีการผ่อนคลายมาตรการ Test & Go เพิ่มเติม โดยปรับเกณฑ์ไม่ต้องแสดงการตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง แต่ให้ตรวจ RT-PCR ในวันแรกที่เดินทางถึงไทย และตรวจแบบ ATK ในวันที่ 5 ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 

แม้จะมีการปรับปรุงมาตรการเพื่ออำนวยความสะดวกและดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ แต่การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวอาจยังเผชิญแรงกดดันจากหลายปัจจัยลบ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการยกระดับไทยเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูงจากสหรัฐเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว

และยังมีการสู้รบระหว่างรัสเชีย-ยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อถึงไตรมาส 2 ซึ่งนอกจากจะส่งผลทางตรงต่อนักท่องเที่ยวรัสเซียที่เดินทางมาไทยในช่วงที่เหลือของปีแล้ว ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง ส่งผลกระทบเชิงลบต่อรายได้ ขณะที่วิกฤตราคาพลังงานส่งผลต่อต้นทุนการเดินทางขยับขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวอาจชะลอการเดินทางออกไป ล่าสุดวิจัยกรุงศรีปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อยู่ที่ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาดไว้ที่ 7.5 ล้านคน

ดังนั้น ในปีนี้รัฐบาลยังคงต้องเหนื่อยอย่างหนัก เพราะปัจจัยลบต่างๆ นั้นล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุม โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน.

+++++++++++++++++

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว