ความฝันลมๆ แล้งๆ ของเซเลนสกี

บทความนี้นำเสนอแนวคิดลากอิหร่านเข้าสงครามเย็นใหม่ เท้าความตั้งแต่ข้อตกลงนิวเคลียร์ ตัวแปรรัสเซีย

ประวัติความเป็นมาของ JCPOA :

ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ Joint Comprehensive Plan of Action (JCPOA) เป็นข้อตกลงพหุภาคี อิหร่านกับ P5+1 (หรือ E3+3) ได้แก่ สหรัฐสมัยโอบามา รัสเซีย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนี เป้าหมายคือนำโครงการนิวเคลียร์อิหร่านเข้าสู่การตรวจสอบของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) หน่วยงานสังกัดสหประชาชาติ ให้มั่นใจว่าโครงการนิวเคลียร์อิหร่านใช้ในทางสันติเท่านั้น

ภาพ: มุมหนึ่งของเพิร์ลฮาร์เบอร์ในวันนี้

เครดิตภาพ: https://unsplash.com/photos/y2nFNuX_JLk

เมื่อสงครามยูเครนใกล้ครบเดือน กองทัพรัสเซียค่อยๆ รุกคืบกินพื้นที่ ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี (Volodymyr Zelenskiy) เดินสายปราศรัยออนไลน์ร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐและพวก

จุดยืนของรัฐบาลเซเลนสกีคือทำสงครามต่อไป เรียกร้องขอให้นาโตตั้งเขตห้ามบิน (no-fly zone) คว่ำบาตรรัสเซียมากกว่านี้ และโยนความเสียหายไม่ว่าจะชีวิตคน บ้านเมืองที่พังทลาย ชาวยูเครนที่อพยพออกนอกประเทศไปแล้วกว่า 3.5 ล้านคนแก่รัฐบาลรัสเซีย

ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียขยับเข้าเป้าหมายที่ต้องการ น่าติดตามว่าเมื่อไหร่ประธานาธิบดีเซเลนสกีจะตื่นจากความฝัน ทำไมไม่ตื่นจากความฝันลมๆ แล้งๆ เสียที

ความฝันเรื่องเขตห้ามบิน:

หลายครั้งที่ประธานาธิบดีเซเลนสกีกล่าวว่าเขตห้ามบินจะช่วยรักษาชีวิตคนยูเครนได้หลายพันคน คำขอของตนจึงเป็นประโยชน์และไม่มากเกินไป

ถ้านาโตตั้งเขตห้ามบินจริงย่อมหมายความว่าเครื่องบินรบนาโตจะสู้กับเครื่องบินรัสเซีย ถ้ารัสเซียมีเครื่องบินรบ 500 ลำ นาโตต้องใช้หลายร้อยลำเช่นกัน คิดลงรายละเอียดมากขึ้น การครองน่านฟ้าจะต้องทำลายระบบต่อต้านอากาศยานของรัสเซียในยูเครน ต้องทำลายสนามบินที่รัสเซียใช้ซึ่งหมายถึงต้องทำลายสนามบินในประเทศรัสเซีย ในมุมกลับกันรัสเซียย่อมต้องทำลายสนามบินนาโตในยุโรป เรือบรรทุกเครื่องบินของกองเรือที่ 5 กับ 6 ของสหรัฐหรือไกลกว่านั้นคือยิงขีปนาวุธใส่สนามบินอเมริกาที่อยู่อีกฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก

ดังนั้น เมื่อประธานาธิบดีเซเลนสกีร้องขอเขตห้ามบิน ต้องคิดลงรายละเอียดถึงขนาดนี้เป็นอย่างน้อย

ที่ผ่านมาสหรัฐเคยตั้งเขตห้ามบินในบางประเทศเช่น อิรักกับลิเบีย แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นบริบทที่กองทัพอากาศสหรัฐเหนือกว่าประเทศเหล่านั้นมาก แต่รัสเซียไม่ใช่เช่นนั้น

ความจริงแล้ว รัฐบาลสหรัฐประกาศชัดหลายรอบแล้วว่าเขตห้ามบินจะเป็นต้นเหตุสงครามโลกครั้งที่ 3 (นาโตกับสหรัฐประกาศชัดตั้งแต่กองทัพรัสเซียยังไม่บุกยูเครนว่าศึกนี้ทหารยูเครนจะปะทะกับทหารรัสเซียเท่านั้น ทหารนาโตจะไม่ปะทะตรงกับรัสเซียอย่างเด็ดขาด) สอดคล้องกับที่ประธานาธิบดีปูตินกล่าวตั้งแต่ก่อนเริ่มสงครามว่าตนไม่กลัวทำสงครามกับประเทศใด เตือนว่าตนพร้อมทำสงครามโลกเสมอ 2 สัปดาห์ก่อนบุกยูเครน รัสเซียซ้อมรบสงครามนิวเคลียร์เต็มรูปแบบ แสดงให้เห็นว่าอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในสถานะพร้อมยิง

แต่เซเลนสกีดื้อดึง ยังร้องขอเขตห้ามบินไม่หยุด เหมือนคนที่พยายามยึดความฝันที่ไร้เหตุผล

ถ้าพูดเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 3 สงครามนิวเคลียร์ล้างโลก ควรถามคนอเมริกัน คนฝรั่งเศสและอังกฤษ (เหล่าประเทศต้นแบบประชาธิปไตยโลก) ว่าเพื่อปกป้องเสรีภาพประชาธิปไตยของยูเครน ยินดีให้ลูกระเบิดนิวเคลียร์หล่นใส่บ้านตัวเองหรือไม่ ยินดีให้ลูกหลานพินาศพร้อมกับคนยูเครนหรือไม่

การร้องขออย่างไม่ลดละเหมือนคนมีความหวังว่าจะกลับมาเป็นฝ่ายเหนือกว่าทางอากาศ อาจสร้างความหวังแก่ชาวยูเครน แต่ในอีกมุมอาจตีความว่าเป็นความคิดไร้สาระ เป็นความฝันลมๆ แล้งๆ เหมือนคนไม่ใช้เหตุผล ไม่ยอมรับความจริง หลอกตัวเอง (และอาจหลอกคนอื่น) ไปเรื่อยๆ

ความฝันเรื่องเป็นสมาชิกนาโต:

กล่าวได้ว่า ต้นเหตุสงครามยูเครน-รัสเซียรอบนี้เกิดจากกระแสข่าวรัฐบาลยูเครนต้องการเป็นสมาชิกนาโต รัฐบาลปูตินตีความว่าเป็นการละเมิดเส้นต้องห้าม (red line) ที่ประกาศซ้ำหลายปีแล้ว ก่อนเปิดศึกรัฐบาลรัสเซียเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า แสดงออกหลายเดือนด้วยการระดมกองทัพนับแสนประชิดชายแดน ซ้อมรบแล้วซ้อมรบอีก แต่รัฐบาลเซเลนสกีไม่เปลี่ยนความตั้งใจ

ถ้าคิดอย่างคนใช้ตรรกะ ตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามนาโตกับรัฐบาลไบเดนพูดซ้ำหลายรอบว่า นาโตป้องกันประเทศที่เป็นสมาชิกเท่านั้นและจะไม่ทำสงครามกับรัสเซียโดยเด็ดขาด ข้อนี้ให้ความเข้าใจว่าทันทีเมื่อกองทัพรัสเซียบุกยูเครน โอกาสการเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนเท่ากับศูนย์ ตลกร้ายคือหลังสงครามผ่านไปได้ครึ่งเดือนเซเลนสกีจึงเริ่มพูดว่าเห็นทีต้องยอมรับว่าไม่อาจเป็นสมาชิกนาโตแล้ว

แปลกแต่จริงที่ผู้นำยูเครนยังคิดเรื่องการเป็นสมาชิกนาโต สัปดาห์ก่อนเซเลนสกีกล่าวว่ายูเครนจะไม่ถูกรุนรานถ้าเป็นสมาชิกนาโต ดูเหมือนว่าท่านผู้นำยังงงๆ กับเหตุผลที่รัสเซียบุกยูเครน

ล่าสุด การประชุมสุดยอดผู้นำนาโตนัดพิเศษเมื่อวันที่ 24 มีนาคม นาโตไม่เอ่ยเรื่องรับยูเครนเป็นสมาชิกและไม่ได้พูดเรื่องสร้างเขตห้ามบิน

ฝันลมๆ แล้งๆ ของเซเลนสกี:

ในความเป็นผู้นำประเทศ ย่อมต้องพยายามให้ตนเป็นฝ่ายชนะสงคราม แต่การคิดที่ขาดตรรกะ ไม่พิจารณาความเป็นไปได้ ความต้องการของรัฐบาลยูเครนกลายเป็น “ความฝันลมๆ แล้งๆ”

คิดให้ไกลว่านั้น ผู้เป็นประธานาธิบดีไม่จำต้องรู้ทุกเรื่อง เชี่ยวชาญทุกด้าน แต่รัฐบาลมีกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ มีนายพลเสนาธิการ นักการทูตผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำปรึกษาที่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรจะได้คำตอบว่านาโตจะไม่สร้างเขตห้ามบินและไม่อาจเป็นสมาชิกนาโต แต่ประธานาธิบดีเซเลนสกีเหมือนคนที่ไม่เข้าใจ ไม่ยอมเข้าใจ (เพิ่งมาพูดในเชิงยอมรับคงไม่ได้เป็นสมาชิกนาโตหลังสงครามดำเนินไปแล้วกว่าครึ่งเดือน)

ถ้าคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล เซเลนสกีควรยอมรับตั้งแต่ก่อนสงครามว่าศึกนี้เป็นการปะทะทางทหารระหว่างยูเครนกับรัสเซียเท่านั้น รัฐบาลสหรัฐกับพวกจะไม่ยอมปล่อยให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ทหารอเมริกันกับพวกจะไม่บาดเจ็บล้มตาย บ้านเมืองจะไม่พังพินาศอย่างยูเครน เซเลนสกีชอบอ้างประวัติศาสตร์และพูดถึงเพิร์ลฮาร์เบอร์ น่าจะเข้าใจว่าตั้งแต่เพิร์ลฮาร์เบอร์โดนถล่มในสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐทำสงครามอีกหลายครั้งแต่ไม่มีครั้งใดที่เกิดบนแผ่นดินอเมริกาเลย

บรรดารัฐบาลประชาธิปไตยทั้งหลายต่างย้ำว่ารัฐบาลมุ่งมั่นให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มั่นคงปลอดภัย เสียงประชาชนเรียกร้องสิ่งเหล่านี้ ผู้นำยูเครนควรเข้าใจและยึดถือข้อนี้เช่นกัน ส่วนที่รัฐบาลชาติตะวันตกสนับสนุนให้ยูเครนยืนหยัดต่อสู้กับทรราชย์เพื่อโลกเสรีประชาธิปไตย ต้องเข้าใจด้วยว่าไม่เกินกรอบที่วางไว้

ผลที่เกิดขึ้นเมื่อสงครามลากยาว:

ดังที่ได้นำเสนอแล้ว สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐได้จากสงครามยูเครนคือปิดล้อมรัสเซียเข้มข้นกว่าเดิมตามยุทธศาสตร์ของอเมริกา รัฐบาลไบเดนมีเหตุผลความชอบธรรมที่จะคว่ำบาตรรัสเซียเข้มข้นขึ้น ข้อต่อมาคือรัฐบาลสหรัฐกระชับอำนาจในยุโรป แสดงบทบาทผู้นำนาโต เพิ่มทหารกับเครื่องบินรบเข้ายุโรปหลายประเทศ และที่สำคัญคือได้โหมกระแสสงครามเย็นใหม่ ความเป็นปรปักษ์ระหว่างมหาอำนาจสหรัฐกับรัสเซียและจีนเพิ่มขึ้นเด่นชัด ความเป็นสงครามเย็นใหม่ชัดเจนขึ้น ข้อสุดท้ายนี้เป็นยุทธศาสตร์แม่บท (Grand Strategy)

การที่รัฐบาลสหรัฐกับพวกช่วยกันส่งอาวุธเครื่องกระสุนแก่ยูเครนรอบแล้วรอบเล่า นอกจากช่วยเรื่องกำลังใจแล้วยังทำให้ศึกนี้ยืดเยื้อ ทั้งรัสเซียกับยูเครนจะเสียหายมากขึ้นตามเวลาที่ยืดเยื้อออกไป

อนาคตของชาวยูเครนหลายสิบล้านดูเหมือนสิ้นหวังไม่แน่นอน เป็นไปได้ว่ารัฐบาลเซเลนสกีอาจกลายเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นถ้าการเจรจาสันติภาพล้มเหลว แต่ความสูญเสียของยูเครนช่วยให้รัฐบาลสหรัฐบรรลุเป้าหมายของตนมากขึ้น (ได้แก่ ปิดล้อมรัสเซียเข้มข้นกว่าเดิม กระชับอำนาจในยุโรป ได้ขายน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และโหมกระแสสงครามเย็นใหม่) ด้านรัฐบาลปูตินยืนยันทำศึกต่อ ชี้ว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเช่นกันแม้ต้องจ่ายราคาไม่น้อย

ความฝันของเซเลนสกีเป็นเรื่องลมๆ แล้งๆ ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐกับรัสเซียขยับเข้าเป้าหมายที่ต้องการ น่าติดตามว่าเมื่อไหร่ประธานาธิบดีเซเลนสกีจะตื่นจากความฝัน ทำไมไม่ตื่นจากความฝันลมๆ แล้งๆ เสียที แค่ประกาศวางตัวเป็นกลางเหมือนบางประเทศ เช่น ฟินแลนด์ ออสเตรียเท่านั้นเอง

สัปดาห์ก่อนประธานาธิบดีเซเลนสกีมีแผนให้คนยูเครนทำประชามติในข้อตกลงใดๆ ที่ทำกับรัสเซีย อันที่จริงหากคิดเรื่องทำประชามติเพื่อสันติภาพควรคิดเรื่องนี้ก่อนนำประเทศให้กลายเป็นสนามรบ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อดีตบิ๊กข่าวกรองเตือนสติ! อย่าหลับตาพูดลืมตาดูสถานการณ์โลกด้วย

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

อิสราเอลโจมตีกงสุลอิหร่านและการตอบโต้

ฮามาสทำศึกกับอิสราเอลได้ครึ่งปี เกิดสงครามตัวแทนระหว่างอิสราเอลกับกองกำลังที่อิหร่านสนับสนุน คราวนี้ถึงรอบอิหร่านปะทะกับอิสราเอลโดยตรงแล้ว

ทอ. เตรียมส่ง UAV สนับสนุนรักษาความปลอดภัยแนวชายแดน อ.แม่สอด

เพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force ได้เผยแพร่ภาพ และข้อมูลว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบตามแนวชายแดนด้านตรงข้าม อ. แม่สอด จว.ตาก กองทัพอากาศ โดยศูนย์ยุทธการทางอากาศ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา