ความหวังของเศรษฐกิจ กับการเปิดประเทศอีกครั้ง

ประเทศไทยหลังจากผ่านมรสุมมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของการต่อสู้กับโรคระบาดอย่างโควิด-19 ที่ยาวนานมากว่า 3 ปี รวมถึงเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมายังเกิดความโกลาหลกับเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง คือการก่อสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่ส่งผลต่อราคาต้นทุนและวัตถุดิบต่างๆ อย่างหนัก นอกจากนี้ยังมีภาวะอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ซึ่งถือว่าเป็นวิกฤตที่ค่อนข้างสาหัสกับเศรษฐกิจไทยเลยก็ว่าได้

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังกำลังต้องเผชิญกับวิกฤตราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น มีผลต่อราคาค่าไฟฟ้า คณะกรรมการกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีมติให้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บกับประชาชนเพิ่มเป็น 4.00 บาทต่อหน่วย จากเดิมเรียกเก็บที่ 3.76 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 5.82% สูงสุดเป็นประวัติการณ์

แต่เมื่อรัฐบาลได้ผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อมาควบคุมเหตุการณ์ไว้ได้บางส่วน และประเมินสถานการณ์แล้วว่าประเทศไทยอยู่ในจุดที่สามารถ และจำเป็นจะต้องเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาได้เหมือนเดิม จึงทำการประกาศเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ค.65 เพื่อจะสนับสนุนการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมา

ด้วยการเปิดประเทศครั้งนี้เป็นครั้งที่น่าจับตามอง เพราะหลายฝ่ายกำลังตั้งตารอ และก็มีหลายหน่วยงานออกมาการันตีว่าการเปิดประเทศครั้งนี้เป็นเรื่องที่ถูกที่ ถูกเวลา โดยเฉพาะ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SENA เองก็ออกมากล่าวถึงความมั่นใจว่า หลังวันที่ 1 พ.ค.นี้ เศรษฐกิจปี 65 จะกลับมาดีขึ้นจากปีก่อน

โดยคาดว่าจะส่งผลให้การท่องเที่ยวของไทยทยอยฟื้นตัว ซึ่งจะส่งต่อให้ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 65 ปรับตัวดีกว่าในปีที่ผ่านมา โดยจะเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาส 3-4 แต่สิ่งที่กังวลคือ ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าภาวะค่าครองชีพของประชาชนจะสูงขึ้นจากระดับราคาสินค้า ค่าพลังงานที่ปรับเพิ่ม เช่นเดียวกับต้นทุนของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นแล้วเฉลี่ยประมาณ 10%

ซึ่ง เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ SENA กล่าวว่า สถานการณ์ของต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น มีแนวโน้มว่าผู้ประกอบการอาจจะทยอยปรับราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของเสนาฯ อาจจะมีการปรับเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ราว 10% โดยมากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ ซึ่งปัจจุบันเสนาฯ ได้ออกแคมเปญต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละกลุ่มลูกค้า

ขณะที่ด้านราคาพลังงานก็เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้านั้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาทุกโครงการของเสนาฯ ก็ยังเป็นแนวทางเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกบ้าน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด 2 ปีที่ผ่านมาที่คนทำงานต้องปรับการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ โดยทำงานอยู่ที่บ้าน WFH ค่าไฟฟ้าจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่เป็นภาระค่าใช้จ่าย และที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งโซลาร์จะช่วยบรรเทาภาระ ลดภาระค่าไฟฟ้าได้อย่างแท้จริง ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน โดยในปี 2565 นี้จะมีการผลักดันการใช้โซลาร์รูฟท็อปในโครงการใหม่ของเสนาฯ ทุกโครงการ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดของปีนี้ โดยเฉพาะในโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ

เกษรามีความเห็นว่า เมื่อประเทศไทยกำลังเปิดประเทศ และโควิด-19 ก็เริ่มคลี่คลาย นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะต่างชาติก็น่าจะทยอยกลับมา แต่เราต้องยอมรับว่าการจะกลับไปยังจุดเดิมเหมือนก่อนเกิดโควิด-19 อย่าง กทม.มีต่างชาติเข้ามาเที่ยวถึง 60 ล้านคน เป็นอันดับที่ 11 ของโลก คงต้องใช้เวลา ดังนั้นเศรษฐกิจไทยก็จะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่แน่นอนว่าจะดีกว่าช่วงที่ไม่เปิดท่องเที่ยว แต่ระหว่างที่เศรษฐกิจเรากำลังทยอยกลับมาเราก็ต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูง ต้นทุนธุรกิจที่แพงขึ้น ดังนั้นช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าต้องกัดฟันสู้กันต่อไป

ด้วยความคิดเห็นของภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นของเสนาฯ หรือจากหน่วยงานอื่นๆ ก็มีความมั่นใจว่าประเทศไทยในปีนี้จะดีขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา จึงเป็นความหวังให้คนในสังคมว่าจะหลุดพ้นจากวิกฤตอย่างที่ผ่านมาได้ 100% นอกจากนี้ก็ต้องมาติดตามกันว่ารัฐบาลจะออกแผนงานอะไรเพิ่มเติม เพื่อมาประคองเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประเทศให้ยั่งยืนต่อไป.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล