เที่ยวอย่าง..ไมโครทัวริสซึม

จากการที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย ส่งผลให้กิจกรรมทางสังคมต่างๆ เริ่มกลับมาเป็นเหมือนก่อนที่จะเกิดความการระบาด คนในสังคมมีการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยม รวมทั้งมีการเสริมภูมิคุ้มกันในด้านต่างๆ ทำให้การติดเชื้อโควิดนั้นมีอาการเบาลงจนสามารถประกาศเป็นโรคประจำถิ่นได้แล้วในหลายพื้นที่ ประเทศไทยเองก็มีแนวโน้มที่ดีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การอุปโภคบริโภคเริ่มกลับมา แม้จะมีผลกระทบอื่นๆ อาทิ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน แต่ก็เริ่มเห็นผู้คนออกมาใช้ชีวิตกันเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ซึ่งประเทศไทยก็มีความหวังว่า ในปี 2565 นี้จะมีแนวโน้มทางเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นจากปีที่แล้วด้วย โดยมีปัจจัยที่หนุนอยู่หลายด้าน หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการท่องเที่ยว ที่เดิมเคยเป็นอุตสาหกรรมหลักที่จะช่วยสร้างเม็ดเงิน สร้างเงินสะพัด และสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศได้

ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็เหมือนว่าความหวังเรื่องการท่องเที่ยวนั้นจะเริ่มกลับมาจริงๆ โดยตอนนี้สิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมการก็คือ การพัฒนา ฟื้นฟู และเตรียมความพร้อมของพื้นที่หรือสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ให้พอรองรับกับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในอนาคตอันใกล้นี้ได้

โดยเห็นว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ก็มีโครงการที่จะเร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวชุมชน-กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้พร้อมรับการท่องเที่ยวในยุคใหม่ที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางไมโครทัวริสซึมด้วย ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญ เพราะเป็นการทำความเข้าใจรูปแบบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบบใหม่ เพราะหลังจากนี้จะพบว่ามีแนวโน้มที่นักท่องเที่ยวและประชาชนจะหันมาให้ความสนใจกับโมเดล “ไมโครทัวริสซึม” มากขึ้น ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่จำกัดในเรื่องจำนวนนักท่องเที่ยว ความปลอดภัย เวลา และค่าใช้จ่าย

รวมถึงทางเลือกของสถานที่ที่ผู้คนจะให้ความสนใจไปสู่เมืองเล็ก เมืองรอง หรือชุมชน เนื่องด้วยเป็นการหลีกเลี่ยงความแออัดจากสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม พร้อมทั้งตอบโจทย์กับเรื่องงบประมาณที่มีอย่างจำกัดมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับภาคการท่องเที่ยวชุมชนและวิสาหกิจชุมชน ให้ได้มีโอกาสสร้างมูลค่าจากการดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง ดีพร้อมจึงได้วางแนวทางฟื้นฟูภาคส่วนดังกล่าวไว้ดังนี้

1.การพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ให้มีความแข็งแกร่งและชัดเจนมากกว่าที่ผ่านมา โดยจะมุ่งเน้นตั้งแต่การคัดเลือกพื้นที่ที่มีอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม พร้อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีศักยภาพในเรื่องการบริหารจัดการอัตลักษณ์ชุมชน ให้สามารถสร้างมูลค่าได้ทั้งในลักษณะของการผลิตสินค้า และทำให้สินค้าเหล่านั้นสามารถออกสู่ตลาดได้ทั้งในช่องทางออนไลน์-ขายผ่านนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชน ต่อเนื่องถึงการผลักดันให้พึ่งพาตัวเองได้ด้วยการรู้จักวิธีจัดทำบริการท่องเที่ยว ที่พัก รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดึงดูดนักท่องเที่ยว

2.ส่งเสริมด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบการหรือแต่ละชุมชนต้องเร่งปรับตัวให้ทัน โดยเฉพาะการเข้าไปช่วยแนะนำช่องทางการค้าขายออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ เทคนิคในการไลฟ์สดเพื่อนำเสนอภาพลักษณ์ที่น่าสนใจของชุมชน และทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น การใช้แพลตฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาที่พัก หรือบริการร้านอาหารบนอินเทอร์เน็ต โดยยังรวมไปถึงการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในกระบวนการพัฒนาสินค้า เช่น การลดของเสีย การทำให้สินค้าเก็บได้นาน กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3.การช่วยด้านการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดมูลค่าในผลิตภัณฑ์เดิมและผลิตภัณฑ์ใหม่ผ่านหน่วยงานสำคัญ เช่น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคของดีพร้อมทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (IDC) และสิ่งที่จะมุ่งเน้นคือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีทั้งความสวยงาม เหมาะกับช่องทางค้าขาย และสื่อถึงแหล่งผลิตหรือพื้นที่ท่องเที่ยวในแต่ละแห่ง ซึ่งนอกเหนือจากประเด็นดังกล่าวแล้ว ยังจะมีการเข้าไปช่วยการพัฒนาคอนเทนต์เชิงรูปภาพ วิดีโอ บทความออนไลน์

เชื่อว่า แม้สถานการณ์โควิดได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคไป แต่หากว่าทุกภาคอุตสาหกรรมมีการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้เข้ากับความต้องการของสังคมในปัจจุบัน จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ยังสร้างการเติบโตและการสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจได้.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล