ค้าปลีกไทยโตกลางปัจจัยเสี่ยง

หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายส่วนก็เริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น เช่นเดียวกับการจับจ่ายใช้สอยที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น ซึ่งส่งผลดีกับหลายธุรกิจ โดยเฉพาะ ธุรกิจค้าปลีก แต่ก็ต้องยอมรับว่าการฟื้นตัวดังกล่าวยังอยู่ภายใต้ปัจจัยกดดันอีกหลายประการที่ต้องติดตาม

ก่อนหน้านี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retail Sentiment Index) ประจำเดือน ส.ค.2565 พบว่าดัชนีฯ ทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แม้ว่าจะมีสัญญาณบวกเพราะผู้บริโภคเริ่มออกมาใช้ชีวิตปกติ หลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ แนวโน้มดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น และค่าแรงขั้นต่ำที่ประกาศเพิ่มขึ้นอีก 5-8% ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกในอีก 3 เดือนข้างหน้าดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากการฟื้นตัวของธุรกิจยังต้องใช้เวลา และผู้ประกอบการยังมีความกังวลอย่างต่อเนื่องต่อต้นทุนและราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความรู้สึกในการจับจ่ายใช้สอยไม่คึกคักเท่าที่ควร!! โดยยอดใช้จ่ายต่อใบเสร็จลดลง ขณะที่ความถี่ในการจับจ่ายเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย รวมทั้งยอดขายสาขาเดิม Same Stroe Sale Growth (SSSG-MoM) เดือน ส.ค.ก็ปรับลดลงด้วยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มชะลอการใช้จ่ายลง ไม่เพียงเท่านี้กำลังซื้อที่อ่อนแอ ทำให้การจับจ่ายโดยรวมไม่เติบโตอีกด้วย

 “ความกังวลต่อภาวะหนี้ครัวเรือนและรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ เป็นเหตุผลสำคัญเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคมุ่งเน้นการซื้อสินค้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือย ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนัก โดยผู้ประกอบการมีความกังวล 2 ด้าน คือผลกระทบต่อผู้บริโภค เพราะกำลังซื้อยังไม่กลับมา อีกด้านหนึ่งคือ ผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่ต้องแบกรับต้นทุนจากค่าแรงที่เพิ่มขึ้นและแรงงานขาดแคลน”

ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้คาดการณ์ว่า ยอดขายค้าปลีก Convenience store (CVS) ปี 2565 จะกลับมาฟื้นตัวราว 13-15% จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า จากปัจจัยหนุนทั้งการกลับมาของลูกค้าหลักอย่างพนักงานออฟฟิศและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ราคาสินค้าบางรายการที่ปรับสูงขึ้น และการเปลี่ยนรูปแบบสาขาจากโชห่วยมาเป็นพันธมิตรหรือเครือข่ายของค้าปลีกใหญ่ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในกลุ่มค้าปลีกท้องถิ่น ที่แม้ว่าจะยังมีสัดส่วนยอดขายไม่สูงนัก ราว 10% ของยอดค้าปลีก Convenience store ทั้งหมด แต่สัดส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น

แต่!! ธุรกิจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากจำนวนผู้เล่นในตลาดที่มีมากรายและค่อนข้างหนาแน่น ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคยังคงเผชิญกับสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูง ภาวะเงินเฟ้อ และมีกำลังซื้อที่จำกัดหรือฟื้นตัวไม่เร็ว ส่งผลให้ ตัวเลขการเติบโตในภาพรวมอาจไม่สะท้อนถึงผลประกอบการของผู้ประกอบการที่ดีขึ้นทุกราย และมองว่าธุรกิจยังคงเผชิญกับความยากลำบากในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงพอ แต่การแข่งขันภายใน Segment เดียวกัน แต่ยังรวมไปถึงการแข่งขันกับค้าปลีก Segment อื่นๆ รวมถึง E-commerce ที่มีบทบาทมากขึ้น ขณะที่สินค้าในแต่ละ segment อาจไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก

 “Convenience store ในไทย ถือว่าค่อนข้างอิ่มตัวหากเทียบกับฐานการบริโภค และถ้าเทียบกับประเทศที่มีโมเดลใกล้เคียงกันอย่างญี่ปุ่น มองไปข้างหน้า ด้วยข้อจำกัดการเติบโตจากประเด็นโครงสร้างประชากร ท่ามกลางแผนการขยายสาขาที่ยังคงเพิ่มขึ้น จะทำให้ Convenience store ในไทยหนาแน่นขึ้นอีก นำมาซึ่งความท้าทายในการที่จะรักษายอดขาย โดยเฉพาะยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ให้มีความสม่ำเสมอหรือเพิ่มขึ้น”

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการสร้างยอดขายต่อสาขาให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกแต่ละราย โดยร้านค้าที่ได้ทราฟฟิกจากลูกค้าประจำอย่างสม่ำเสมอจะมีโอกาสไปต่อในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็ว.

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

อวดชาวโลกสีสันสงกรานต์2567

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ประชาชนส่วนใหญ่นิยมเดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด และเดินทางกลับภูมิลำเนา แต่กรุงเทพมหานครก็ได้จัดกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมเชิญชวนชาวไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567” บริเวณถนนราชดำเนินกลางและท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 11–15 เมษายนนี้

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี