จับตาน้ำท่วมฉุดภาคการผลิต

สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันยังมีความน่าเป็นห่วงอย่างมาก แม้ในกรุงเทพฯ นั้นจะยังเห็นภาพไม่ชัด แต่ในพื้นที่ต่างจังหวัดได้รับผลกระทบไปเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ในภาคอีสาน ภาคกลาง แม้กระทั่งภาคใต้ จากผลพวงของพายุและมวลน้ำที่มากขึ้นจนความสามารถของเขื่อนกักเก็บไม่เพียงพอ รวมถึงน้ำทะเลที่หนุนสูงจนส่งผลรวมมาที่เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ทั่วประเทศไทย

แน่นอนว่าปีนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่น้ำท่วม แต่ก็ไม่ใช่เหตุการณ์ที่จะสามารถคาดเดาได้อย่างชัดเจน รวมถึงการเตรียมพร้อมของบางพื้นที่ก็อาจจะไม่เพียงพอ ขณะที่เมื่อเกิดการท่วมแล้วการระดมความช่วยเหลือก็อาจจะล่าช้าได้ เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีแผนงานเพื่อดูแลประชาชนที่ชัดเจนต่อไป แต่อีกหนึ่งฝ่ายที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือเรื่องของกลุ่มอุตสาหกรรมภาคการผลิต ทั้งบริษัทหรือโรงงานต่างๆ

เนื่องจากหากประสบกับเหตุการณ์น้ำท่วมจะทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ทันที และส่งผลกระทบกับสินค้าที่จะส่งออกสู่ตลาด จนทำให้เกิดความต้องการสูงแต่ไม่มีสินค้า และส่งผลไปสู่ภาวะของแพง ทั้งนี้กลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เสี่ยง เนื่องจากจะไม่ใช่แค่การท่วมเพียงแห่งหรือสองแห่งเท่านั้น แต่จะเสียหายเป็นวงกว้าง รวมถึงภาคแรงงานเองก็ต้องหยุดชะลอการทำงานไป

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ออกมายืนยันว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและมีนิคมอุตสาหกรรมตั้งอยู่ 3 แห่ง ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน และนิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า รวมถึงชุมชนรอบข้างนิคมฯ ปัจจุบันระดับน้ำตามจุดเฝ้าระวังต่างๆ เมื่อเทียบกับคันป้องกันน้ำท่วมของแต่ละนิคมอุตสาหกรรมแล้วยังอยู่ในระดับที่ห่างพอสมควร ถือว่าปลอดภัย

โดยมวลน้ำยังอยู่ภายนอกแนวคันป้องกันชั้นนอก (ถนนทางหลวง) ยังไม่ข้ามเข้ามายังคันป้องกันน้ำท่วมของพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ส่วนข้อกังวลของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม หากน้ำสูงขึ้นท่วมถนนภายนอกนิคมอุตสาหกรรมที่มีระดับต่ำกว่าแนวป้องกันน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม อาจส่งผลกระทบต่อการเดินทางมาทำงานของคนงาน การขนส่งวัตถุดิบ-สินค้านั้น ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันเส้นทางสัญจรในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้ด้วย เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ตามนโยบายของรัฐบาล

ซึ่ง กนอ.ได้เฝ้าระวังและเตรียมมาตรการรับมืออย่างเต็มที่ ล่าสุดได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นประธานการประชุม โดยได้รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งความพร้อมในการรับมือสถานการณ์น้ำของแต่ละนิคมอุตสาหกรรม อาทิ ระบบป้องกันน้ำท่วม เช่น คันป้องกันน้ำท่วม ระบบสูบน้ำ และพื้นที่รองรับน้ำภายในนิคมอุตสาหกรรมที่มั่นคงเพียงพอ อย่างไรก็ตาม

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น ปริมาณฝน รวมทั้งการปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนหลักต่างๆ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนเจ้าพระยา และเขื่อนป่าสักฯ ที่เริ่มลดการระบายน้ำลงแบบเป็นขั้นบันได ทำให้ระดับน้ำเริ่มทรงตัวและลดลงตามลำดับ ถึงแม้ว่าจะยังคงมีมวลน้ำค้างทุ่งที่ถูกระบายลงมาเติมบ้างเล็กน้อยแต่ก็ไม่ส่งผลกระทบมากนัก ดังนั้นหากไม่มีพายุเข้ามาเพิ่มเติมอีก สถานการณ์น้ำในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่งน่าจะอยู่ในระดับปกติ ถึงระดับเฝ้าระวัง ขอยืนยันว่าภาพรวมขณะนี้ยังสามารถรับมือและป้องกันสถานการณ์น้ำท่วมได้ และเชื่อว่าสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ

ที่ต้องคอยรายงานสถานการณ์น้ำท่วม แน่นอนว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ยังเห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระตือรือร้นที่จะทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อดูแลวิกฤติที่อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของประเทศได้ และยังทำให้ประชาชนทั่วไปพอที่จะประเมินสถานการณ์และเตรียมตัวที่จะรับมือได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา