โชว์นวัตกรรมปิดฉากเอเปก

ปิดฉากไปอย่างเรียบร้อยกับการประชุมเวทีผู้นำโลก APEC 2022 ครั้งที่ 29 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 18-19 พ.ย.65 ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ในประวัติศาสตร์อีกงานหนึ่ง และถือเป็นความสำเร็จร่วมกันของสมาชิกเอเปกทั้งหมด รวมทั้งทีมงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยการประชุมดังกล่าวเป็นจุดผลักดันให้ประเทศไทยจะได้รับโอกาสมากมาย ทั้งยังสร้างสัมพันธ์อันดีให้กับสมาชิก และยังสามารถสานต่อการหารือต่างๆ ได้อย่างดี

ซึ่งที่ผ่านมา ทั้งก่อนระยะเวลางาน รวมถึงในช่วงระยะเวลาที่จัดงานก็เห็นกระแสและความเคลื่อนไหวในหลายๆ ด้านของงาน ทำให้เห็นสีสันและพลังของความร่วมมือของสังคมที่ชัดเจน นอกจากนี้คนไทย บริษัทไทย และประเทศไทยก็ยังได้โชว์ศักยภาพที่มีอยู่ให้เห็นในระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ระบบต่างๆ อาหาร หรือความสามารถของบุคลากรและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี

โดย ธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวว่า การประชุม APEC 2022 Thailand ได้นำแนวคิด BCG มาสานต่อ เพื่อเปิดกว้างการค้า การลงทุน ส่งเสริมให้คนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ซึ่งทุกเขตเศรษฐกิจให้ความสำคัญ ในการวางเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรยั่งยืน ซึ่งจะสำเร็จได้จำเป็นต้องรวมพลังและศักยภาพจากทุกภาคส่วน โดยภาคเอกชนไทยซึ่งมีความสามารถได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ จะเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการเชื่อมโยงโอกาสใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวหลังยุคโควิด-19

หนึ่งในบริษัทที่มีโอกาสได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ภายในงานก็คือ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี (SCG) ที่ได้นำเสนอหลากหลายนวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ภายใต้แนวคิด “Together to Sustainable Future” โดยได้เปิดตัว “ผลงานชะลอม ตราสัญลักษณ์ APEC 2022 Thailand” หนึ่งเดียวในโลก ผลิตจากนวัตกรรม CPAC 3D Printing Solution เทคโนโลยีการพิมพ์ได้อย่างอิสระ สวยงาม

ซึ่งเป็นการนำเครื่องพิมพ์แบบ 3 มิติขนาดใหญ่ ขึ้นรูปด้วยปูนงานโครงสร้าง เอสซีจี สูตรไฮดรอลิก คาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล สร้างเสร็จไว ช่วยลดวัสดุเหลือทิ้งอย่างน้อย 70%

สามารถสร้างสรรค์ได้หลายรูปแบบ ทั้งงานก่อสร้างและงานตกแต่ง ทั้งเฟอร์นิเจอร์ หรือชิ้นงานตกแต่งแลนด์สเคป รวมทั้งสามารถพรินต์เป็นวัสดุฐานลงเกาะตัวอ่อนปะการัง ซึ่ง “ผลงานชะลอม ตราสัญลักษณ์ APEC 2022 Thailand” นี้ จะร่วมมือกับ APEC 2022 Thailand นำไปวางเป็นบ้านปะการังเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังที่เสียหาย เพิ่มความหลากหลายระบบนิเวศทางทะเล ส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ยั่งยืนให้ชุมชนต่อไป

นอกจากนี้ เอสซีจียังนำเสนอ “โครงการพัฒนาทักษะอาชีพที่ตลาดต้องการ” เช่น วิสาหกิจชุมชน ช่างประจำบ้าน คนขับรถบรรทุก เพื่อเปิดกว้างโอกาส สร้างอาชีพรายได้มั่นคงให้ชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ

โดย นิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ฯ ได้ออกมาเปิดเผยว่า “เอสซีจีมีความตั้งใจนำความเชี่ยวชาญของเรามาผสานศักยภาพกับทุกภาคส่วน เพื่อทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงโอกาสใหม่ๆ ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ที่สมดุลทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งเราหวังว่าจะช่วยให้เกิดการรวมพลังทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง ต่อเนื่อง ยั่งยืน โดยเอสซีจีได้จัดแสดงโซลูชันเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition Solutions) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก”

อาทิ “พลังงานชีวมวล (Biomass)” จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร สำหรับทดแทนพลังงานฟอสซิลในกระบวนการผลิต และ “SCG Cleanergy โซลูชันพลังงานสะอาดครบวงจร” ในรูปแบบ Smart Grid เครือข่ายอัจฉริยะจัดการพลังงานสะอาด เพื่อการซื้อ-ขายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้อย่างง่ายดาย

แสดงให้เห็นว่า SCG พร้อมสานต่อแนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG โดยพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ “SCGC GREEN POLYMER” เพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก มุ่งใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้ง “ร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตไบโอ-เอทิลีนสำหรับการผลิตพลาสติกชีวภาพ” โดยร่วมมือกับ Braskem (บราสเคม) ผู้นำด้านพลาสติกชีวภาพระดับโลกจากประเทศบราซิล ตอบโจทย์ความต้องการใช้พลาสติกรักษ์โลกที่กำลังเติบโต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”