กางแผนบูรณาการดันอีอีซี

ก่อนหน้านี้เห็นอีอีซีเงียบๆ ไป เหมือนจะหมดวาระโปรโมตและอยู่ในช่วงดำเนินงานหลังบ้าน แต่ก็แว่วข่าวมาบ่อยๆ พอจะให้โล่งใจได้ว่าไม่ได้หายไปไหน ทั้งการร่วมลงนามกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งอนุมัติแผนงานและแผนลงทุนเป็นช่วงๆ ไหนจะออกมาตรการใหม่ๆ มากำกับดูแลการทำงาน

และล่าสุด พื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ก็ได้เปิดความสำเร็จแผนบูรณาการฯ ต้นแบบเชื่อมโยงร่วมมือรัฐ-เอกชน-ท้องถิ่น โดย นายคณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ออกมากล่าวปาฐกถาพิเศษ “แผนงานบูรณาการอีอีซี สู่การสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศ” โดยมีผู้บริหาร สกพอ. พร้อมด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่ความสำเร็จการพัฒนาพื้นที่อีอีซี และชี้แจงสร้างความเข้าใจทิศทางดำเนินการแผนงานบูรณาการปีงบประมาณ 2567 มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

รวมพลัง รัฐ เอกชน ท้องถิ่น ขับเคลื่อน 5 ภารกิจหลัก ตอบโจทย์พัฒนาอีอีซีครบรอบด้าน การจัดเสวนาฯ ครั้งนี้จะสร้างการขับเคลื่อนพื้นที่อีอีซีอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ “แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” และจะได้ร่วมกันนำเสนอแผนงานบูรณาการอีอีซีในปีงบประมาณ 2567 โดยเฉพาะการขับเคลื่อนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการ และงบประมาณปี 2567 ให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด พัฒนาพื้นที่อีอีซีอย่างสมดุลและยั่งยืน

แนวทางขับเคลื่อนแผนบูรณาการอีอีซีได้กำหนด 5 ภารกิจหลักเชื่อมโยงความร่วมมือทุกภาคส่วน ได้แก่ 1.สานต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง สาธารณูปโภค และดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบคมนาคมแบบไร้รอยต่อ ให้ทันสมัย คู่กับวางโครงข่ายดิจิทัล 5G เพื่อจูงใจภาคเอกชน 2.พัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัยและนวัตกรรม สร้างทักษะบุคลากรให้เพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติงานจริง รองรับความต้องการภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมเพื่อนำไปขยายผลเชิงพาณิชย์

3.พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ทันสมัย มีมาตรฐาน ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพในการรักษา และเสริมสร้างสุขภาพของประชาชน รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย 4.พัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดการพัฒนาทัดเทียมนานาชาติ พัฒนาศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ยกระดับสินค้าโอทอปพื้นที่ สร้างรายได้ให้ชุมชนต่อเนื่อง

และ 5. มุ่งให้เกิดการลงทุนด้านเศรษฐกิจ BCG ในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มี และสร้างการรับรู้สู่ประชาชน ผลักดันให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มุ่งเน้นเศรษฐกิจ BCG ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับผลการประชุมผู้นำเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (เอเปก) ที่ได้ประกาศร่วมกัน

ทั้งนี้ จากความสำเร็จแผนงานบูรณาการอีอีซี พร้อมอัตราขยายตัวของ GDP ในพื้นที่อีอีซีเพิ่มขึ้น 6.8% โดยแผนบูรณาการอีอีซีภายใต้แนวคิด “ร่วมคิด ร่วมลงทุน ร่วมพัฒนา” เป็นต้นแบบการจัดทำแผนงานบูรณาการของประเทศ โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างรัฐ-เอกชน-ท้องถิ่น-ประชาชน พึ่งพางบประมาณแผ่นดินให้น้อยที่สุด ไม่เน้นการใช้งบประมาณจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ซึ่งการจัดทำแผนบูรณาการอีอีซีตั้งแต่ปี 2561-2566 ได้มีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม 15 กระทรวง รวมกว่า 44 หน่วยงาน ปัจจุบันได้รับอนุมัติงบประมาณ (จนถึงปีงบประมาณ 2568) รวม 94,514 ล้านบาท และสามารถดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายจากมูลค่าการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนรวม 1,182,538 ล้านบาท ซึ่งทำให้สามารถสร้างมูลค่าลงทุนจริงได้สูงกว่า 747,509 ล้านบาท

เชื่อว่า แผนบูรณาการอีอีซีจะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาพื้นที่และชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม มุ่งเน้นเรื่องเกษตรสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร การขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ เป็นศูนย์ธุรกิจรองรับและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและการเติบโตของธุรกิจ.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล