นวัตกรรมแยกขยะชุมชน

ในแต่ละปีนั้นมีขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยกว่า 27.8 ล้านตัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นภาครัฐจึงให้การสนับสนุนการนำขยะไปเป็นเชื้อเพลงสำหรับผลิตไฟฟ้า ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมแล้วยังลดปัญหาขยะล้นเมือง แต่ก็ยังพบปัญหาในด้านกระบวนการจัดเก็บ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องการคัดแยกขยะ ส่งผลให้การกำจัดขยะหรือการนำขยะไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

ดังนั้น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ได้จัดทำโครงการสร้างนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ Wonder Waste!

โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตระหนักในเรื่องการจัดการขยะให้ได้คุณภาพก่อนนำไปกำจัด หรือเพิ่มทางเลือกด้วยการนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าที่เป็นพลังงานหมุนเวียน

ซึ่ง บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ระบุว่า กกพ. ร่วมกับ CEA เปิดตัว 4 พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะเพื่อการผลิตไฟฟ้า บนพื้นฐานของการศึกษาพฤติกรรมผู้ทิ้งในระดับครัวเรือนและชุมชนในจำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ ย่านเจริญกรุง ย่านหนองแขม กรุงเทพฯ ย่านศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น และย่านเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต ภายใต้โครงการ Wonder Waste! 

ทั้งนี้ โครงการ Wonder Waste ทั้ง 4 โครงการนั้นประกอบด้วย 1.ลานใบไม้ บริษัท ยิบ อิน ซอย จำกัด บางรัก กรุงเทพฯ แพลตฟอร์มที่มีแนวคิดแก้ไขปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้นหลังบริโภคจากฟู้ดเดลิเวอรีในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยแพลตฟอร์มนี้จะเข้ามาบริหารคัดแยกบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มประเภทพลาสติกเบา รวมทั้งกระดาษในรูปแบบ Pop-Up ที่มีบริการรับถุงแยกขยะรีไซเคิลด้วยตู้อัตโนมัติ และเคาน์เตอร์เซอร์วิส พร้อม Lab ที่ทำหน้าที่ทั้งรับ บด ล้าง อบ และแพ็กขยะ สู่การแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) พร้อมใช้จักรยานเพาเวอร์พิกไฟฟ้าบรรทุก หรือ PowerPick WtE eBike บริการรับแยกขยะแบบเคลื่อนที่ผ่านแอปพลิเคชันในการกำหนดเวลารับขยะถึงที่

2.หมู่บ้านจิตรณรงค์ 21 ใกล้โรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม กรุงเทพฯ แพลตฟอร์มระบบเก็บขยะเพื่อส่งเข้าโรงเผาขยะ ด้วยเทคนิคลดความชื้นขยะด้วยวิศวกรรมและการออกแบบ มาใช้ร่วมกับระบบคัดแยกเพื่อทำให้การเผาขยะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการปรับปรุงคุณภาพขยะ และลดขั้นตอนการคัดแยกให้มีความซับซ้อนน้อยลง ด้วยกระบวนการแยกขยะ-รับขยะ-พักขยะ-ส่งขยะ สำหรับการแยกขยะ จะมีถุงและถังขยะที่ออกแบบให้เหมาะสม วางไว้ในแต่ละจุดของบ้านพร้อมเอกสารแนะนำ เพื่อสร้างความเข้าใจในวิธีการคัดแยก มีการรับขยะถึงหน้าบ้านเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับคนในพื้นที่ โดยมีจักรยานเข้าไปรับขยะมาจัดการตามแต่ชนิด และการพักขยะโดยการลดความชื้นด้วย Solar Waste Dryer ก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการบริหารจัดการของกรุงเทพมหานครต่อไป

3.บุญบุญ ถังขยะมาหาคน ถังขยะในรูปแบบของหุ่นยนต์แมว ที่นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ขนส่งมาใช้ นอกจากจะเป็นการปูพื้นฐานเครือข่ายการพัฒนาหุ่นยนต์รับส่งของที่รองรับสมาร์ทซิตี้แล้ว ยังดึงค่านิยมการทำบุญและการมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นในจังหวัดขอนแก่นมาเป็นแรงจูงใจในการคัดแยกขยะในพื้นที่

และ 4.พื้นที่เมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต แพลตฟอร์มการจัดการขยะสำหรับธุรกิจคาเฟ่และบ้านเรือน โดยใช้ถุงสีแยกขยะตามประเภท ขยะแห้ง ขยะเศษอาหาร ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และถังขยะสำหรับใช้ภายในคาเฟ่หรือบ้านเรือน

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าปัจจุบันประชาชนยังขาดความเข้าใจเรื่องการคัดแยกขยะ รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้กำจัดขยะยังใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น    โครงการ Wonder Waste! จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์รูปแบบหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ในการคัดแยกขยะที่ชุมชนและผู้ประกอบการในพื้นที่มีส่วนร่วม เพื่อเป็นต้นแบบนำไปสู่การใช้งานได้จริง และเพิ่มทางเลือกในการผลิตเชื้อเพลิง.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา