จัดทัพกำชับนโยบายอุตสาหกรรม

จากการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านมาหลายเดือนก็เริ่มเห็นนโยบายที่ชัดเจนขึ้น และการบูรณาการการทำงานของหลายๆ หน่วยงานไปพร้อมๆ กัน จากสิ่งแรกที่เห็นคือการปรับปรุงนโยบายของกระทรวงภายใต้คำว่า MIND “ใช้หัวและใจ” ทำงาน โดยแบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่

คือ 1.ความสำเร็จทางธุรกิจ การปรับธุรกิจให้เหมาะสมกับโลกอนาคต 2.การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรมทั้งยามปกติและเมื่อเกิดวิกฤต 3.การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก และ 4.การกระจายรายได้ให้แก่ประชาชน และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เน้นสร้างงาน สร้างอาชีพ และกระตุ้นผู้ประกอบการให้ดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมทำงานร่วมกับชุมชนและเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในพื้นที่อย่างจริงจัง  

จากแนวความคิดการรีแบรนด์ของกระทรวงอุตสาหกรรมสู่ MIND ด้วยเหตุนี้เองจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน อย่างที่กล่าวไปว่าเริ่มเห็นการบูรณาการจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว แต่หน่วยงานหลักภายใต้การดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม อย่างสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ก็จำเป็นต้องยึดหลักนโยบายนี้และเดินไปพร้อมกันด้วย 

ล่าสุดจึงเห็นว่าท่านปลัด “ณัฐพล รังสิตพล” ก็ได้จัดทัพเดินสายกำชับให้มีการตรวจติดตามราชการในพื้นที่สำนักอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ทั่วประเทศ เพื่อถ่ายทอดและเน้นย้ำนโยบาย MIND ที่ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมให้ไว้เป็นแนวการทำงานของทุกหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนแผนงานปี 2566 โดยการย้ำให้ทุกโรงงานในพื้นที่ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำงาน มุ่งสู่ความสำเร็จทั้ง 4 มิติ ตามนโยบายของกระทรวง ทั้งในด้านผลิตภาพและการดูแลสิ่งแวดล้อม ใส่ใจชุมชนและร่วมพัฒนาอาชีพ กระจายรายได้ให้ชุมชนโดยรอบโรงงาน

โดย “วิษณุ ทับเที่ยง” หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดเผยว่า สำหรับในการตรวจติดตามราชการปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ข้อเสนอแนะการตรวจราชการ ดังนี้ 1.เน้นย้ำการตรวจกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม โดยการเร่งรัดการตรวจ กำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำเสีย มลพิษทางอากาศ และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจะเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการให้ปฏิบัติตามกฎหมาย  

2.ให้เตรียมสำรวจและคัดเลือกสถานประกอบการเป้าหมาย เพื่อกรอกข้อมูลลงในระบบ I-Single Form พร้อมมอบหมายเจ้าหน้าที่ให้ศึกษาการใช้งานระบบ I-Single Form ให้มีความชำนาญ พร้อมสำหรับการเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้การใช้งานระบบต่อสถานประกอบการในพื้นที่ 3.การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (GI) เน้นย้ำให้เร่งประชาสัมพันธ์ชี้แจงความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการ พร้อมเชิญชวนสมัครเข้าร่วมโครงการ เตรียมยกระดับการขอรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวให้ผู้ประกอบการต่อไป 

4.คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ OPOAI-C โดยมุ่งเน้นส่งเสริมกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงาน หรือสุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการโรงงาน เพื่อลดผลกระทบจากเรื่องร้องเรียนและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อโรงงานอุตสาหกรรม 5.ประชาสัมพันธ์และคัดเลือก เสนอรายชื่อโรงงานในพื้นที่ที่มีการประกอบการที่ดี เป็นแบบอย่าง มีการดำเนินงานครบ 4 มิติ ตามนโยบายของกระทรวง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นและอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมของกระทรวงอุตสาหกรรม 

และ 6.ปัญหาผังเมืองที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของจังหวัด ให้อุตสาหกรรมจังหวัดรวบรวมข้อมูลปัญหาและอุปสรรคจากภาคเอกชนในพื้นที่ และนำเสนอการแก้ไขผังเมือง เริ่มต้นตั้งแต่การประชุมภายในจังหวัดเพื่อให้มีต้นเรื่องจากจังหวัดเสนอเข้าไปสู่หน่วยงานส่วนกลาง เพื่อดำเนินการพิจารณาแก้ไขผังเมืองให้ตอบสนองต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไป

หลังจากนี้คงต้องติดตามกันอย่างเข้มข้นว่าความชัดเจนของนโยบาย MIND นั้นจะสามารถสร้างความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการและประชาชนในประเทศได้มากน้อยเพียงใด และในช่วงที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหลังการเลือกตั้งใหม่นั้น จะเห็นอะไรที่เปลี่ยนไปของนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมอีกหรือไม่ แต่ก็เชื่อว่าทุกแนวทางดำเนินงานน่าจะนำประชาชนและผู้ประกอบการเป็นที่ตั้งแน่นอน.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว