เปลี่ยนประเทศด้วยมาตรฐานน้ำมัน

เข้าปี 2566 มาเกือบครึ่งปีแล้ว ในปีนี้มีการดำเนินงานต่างๆ ของประเทศเกิดขึ้นมากมาย และเมื่อเร็วๆ นี้ก็คงหนีไม่พ้นการเลือกตั้งที่จะเข้ามากำหนดทิศทางของประเทศในอนาคต แต่หากไปดูรายละเอียดของการทำงานเบื้องหลัง ซึ่งมีอยู่หลายเรื่องที่ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลหรือไม่ก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป เพราะมีข้อกำหนดไว้อย่างชัดเจน หนึ่งในนั้นคือเรื่องการเปลี่ยนคุณภาพในน้ำมันเติมรถยนต์ในประเทศ ที่จะขยับมาตรฐานขึ้นไปจากปัจจุบันอยู่ที่ EURO4 (ยูโร 4) ขึ้นไปเป็น EURO5 (ยูโร 5) และ 6 ต่อไป เนื่องจากการปรับปรุงประสิทธิภาพมาตรฐานน้ำมันนั้น จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดประเด็นเรื่องมลภาวะของประเทศไปได้

แต่หากใครยังไม่รู้ว่ามาตรฐานน้ำมันยูโรระดับต่างๆ นั้นคืออะไร กรมธุรกิจพลังงานได้ทำสรุปข้อมูลมาตรฐานไอเสียรถยนต์ไว้ดังนี้ คําว่า ยูโร มาจากคําว่า ยุโรป ซึ่งในที่นี้หมายถึงกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป โดยกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้มีการวางกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สําหรับในด้านการใช้เชื้อเพลิงในภาคการขนส่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีการปล่อยมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มมีการควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะอย่างเป็นระบบตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) โดยได้มีการกําหนดมาตรฐานไอเสียสําหรับยานพาหนะควบคู่กับมาตรฐานของเชื้อเพลิง เพื่อให้ยานพาหนะที่ผลิตจําหน่ายออกมาปลดปล่อยไอเสียได้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด

ผลจากการกําหนดมาตรฐานดังกล่าว ก่อให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยียานพาหนะเพื่อให้สามารถควบคุมการปลดปล่อยมลพิษให้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน และในด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้แก่ น้ำมันเบนซินและดีเซล ก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดมลพิษให้น้อยลงไปด้วย มาตรฐานไอเสียและมาตรฐานน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้กําหนดไว้นั้น มีการพัฒนาให้มีความเข้มงวดมากขึ้นเป็นระยะๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมและปริมาณมลพิษที่ถูกปลดปล่อยออกมาตามปริมาณการใช้เชื้อเพลิง จึงเรียกชื่อมาตรฐานเหล่านี้ตามลําดับของการกำหนดออกมาบังคับใช้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 6 แต่ในประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 4

โดยแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนของประเทศไทยนั้น จะมีการบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 เริ่ม 1 ม.ค.2567 และยูโร 6 เริ่ม 1 ม.ค.2569 ควบคุมสารมลพิษจากรถยนต์ขนาดเล็ก รถกระบะ รถบัส และรถบรรทุก ทั้งที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ยกระดับการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และคุ้มครองความปลอดภัยประชาชน ด้วยเหตุนี้เองจึงมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งปรับตัวและดำเนินงานให้ตรงตามแผนที่ได้ประกาศมา

ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานที่มีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน และมีความกระตือรือร้นในการทำงาน ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยนายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการ สมอ. ได้จัดทำแผนการบังคับใช้มาตรฐานเพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์เตรียมความพร้อมและวางแผนการผลิตรถยนต์ตามกรอบเวลาที่กำหนดได้ ซึ่งจะสอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกที่ได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์ให้ปล่อยมลพิษออกมาน้อยที่สุด โดยปัจจุบันสหภาพยุโรปได้ประกาศบังคับใช้มาตรฐานยูโร 6 แล้ว ในเรื่องดังกล่าว สมอ.ได้จัดประชุมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2566 ที่ผ่านมา

เพื่อประชุมชี้แจงแผนการบังคับใช้มาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6 แก่ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย นำโดยนายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของไทย จำนวน 25 ราย อาทิ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย จำกัด, บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย จำกัด, บริษัท วอลโล่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด เป็นต้น

แน่นอนว่าการหารือร่วมกันเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการดำเนินงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายเดินหน้าไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถตอบสนองกับเป้าหมายใหม่ๆ ที่จะนำประเทศไปสู่ความสมบูรณ์แบบได้. 

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจบริการกับโลกยุคใหม่

หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางานบริการอย่างหลากหลาย

รับมือดอกเบี้ยขาขึ้น

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่บรรดาธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ประกาศขึ้นดอกเบี้ยกันถ้วนหน้า ซึ่งก็เป็นไปตามคาดหมาย หลังจากมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.

ความเสี่ยงธุรกิจครัวเรือนไทยยุคดิจิทัล

ปัจจุบัน เรื่อง “เทคโนโลยีดิจิทัล” ถือเป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญ ไม่ว่าจะสำหรับภาคธุรกิจหรือภาคครัวเรือน ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในทุกมิติ แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวในประเทศไทยยังอาจจะอยู่ในระดับต่ำ หรืออาจจะยังไม่ถูกพัฒนาให้เติบโตเท่าทันยุคสมัยมากเพียงพอ

แผนดันเศรษฐกิจไทยด้วยซอฟต์เพาเวอร์

ในช่วงปีที่ผ่านมา คนไทยมักจะได้ยินคำว่าซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) อย่าหนาหู เพราะมีกระแสเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ผลผลิต สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการของไทยนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น

ล้อมคอกแท็กซี่นอกรีต

ดูเหมือนว่าปัญหาแท็กซี่เอารัดเอาเปรียบผู้โดยสารจะกลับมาเป็นประเด็นร้อนแรงอีกครั้ง หลังจากโลกออนไลน์ได้มีการโพสต์ถึงพฤติกรรมแท็กซี่ไม่กดมิเตอร์-โก่งราคาผู้โดยสารชาวต่างชาติ หนักหนาสาหัสไปกว่านั้นคือไม่รับผู้โดยสารคนไทย ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นที่บริเวณอิมแพ็ค

ESGความยั่งยืนคือ“โอกาส”

ESG แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืนกำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลกในปัจจุบัน และไม่ใช่แค่เทรนด์เท่านั้น เป็นแนวคิดระดับโลกที่ธุรกิจทุกขนาดจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้โลกของเราอยู่ได้อย่างยั่งยืน และธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้ในอนาคต โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก