แผนดันเศรษฐกิจไทยด้วยซอฟต์เพาเวอร์

ในช่วงปีที่ผ่านมา คนไทยมักจะได้ยินคำว่าซอฟต์เพาเวอร์ (Soft Power) อย่าหนาหู เพราะมีกระแสเกิดขึ้นมากมาย ทำให้ผลผลิต สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการของไทยนั้นได้รับความนิยมมากขึ้น จากทั้งคนไทยด้วยกันเองและต่างชาติ ถ้าพูดถึงแล้วน่าจะอ๋อกันก็คือ ความนิยมของข้าวเหนียวมะม่วง จากการที่ศิลปินชาวไทยนำขนมไทยชนิดนี้ขึ้นไปรับประทานบนคอนเสิร์ตระดับโลกในสหรัฐอเมริกา หรือการที่ศิลปินไทยที่ไปโด่งดังที่เกาหลี พูดถึงลูกชิ้นยืนกิน ของเด็ดจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งทำให้สินค้าเหล่านี้ได้เกิดการรู้จักและนิยมมากขึ้นอย่างมาก

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้านั้นๆ ได้รับผลดีจากยอดสั่งซื้อเป็นเท่าตัว และเป็นกระแสไปยังช่องทางอื่นมากมาย ทั้งหมดนี้เรียกว่าซอฟต์เพาเวอร์ แต่ต้องยอมรับว่าในประเทศไทยเอง

การที่จะผลักดันเรื่องพวกนี้ยังถือว่ามีน้อยอยู่มากถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะเกาหลีใต้ ที่มีอิทธิพลและความสามารถอย่างมากในการผลักดันซอฟต์เพาเวอร์ในเรื่องต่างๆ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในระดับโลกได้ ซึ่งเรื่องนี้เขาทำมามากกว่า 10 ปีแล้ว และทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศเกาหลีนั้นมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะเป็นอาหาร สินค้า บริการ สถานที่ท่องเที่ยว หรือวัฒนธรรม แม้กระทั่งคนไทยเอง ในบางเรื่องก็ยังได้ความรู้และความเข้าใจในซอฟต์เพาเวอร์ของเกาหลีเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้เอง ประเทศไทยที่ถือว่าเป็นประเทศที่มีโอกาส เนื่องจากยังมีสินค้า บริการ และผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลักดันให้กลายเป็นซอฟต์เพาเวอร์ได้อีกหลายชนิด จึงต้องมาเอาจริงเอาจังกับด้านนี้

และล่าสุดที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หารือสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ร่วมผลักดันซอฟต์เพาเวอร์ไทยผ่านอุตสาหกรรมสารัตถะ (คอนเทนต์) เดินหน้าต่อยอดโมเดลเศรษฐกิจ BCG พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงไทยก้าวสู่สากล คาดช่วยหนุนให้ไทยขยับจากประเทศที่มีซอฟต์เพาเวอร์ อันดับ 35 ในปี 65 ให้อยู่ในอันดับดีขึ้น และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่เศรษฐกิจไทย โดยนายเขมทัตต์ พลเดช นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ นำคณะกรรมการสมาพันธ์ฯ เข้าพบนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. หารือประเด็นดังกล่าว

โดยนายเกรียงไกรกล่าวว่า ซอฟต์เพาเวอร์ในปี 2565 เป็นพลังสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ประเทศที่โดดเด่นที่สุดในการใช้ซอฟต์เพาเวอร์มาสนับสนุนเศรษฐกิจคือ สาธารณรัฐเกาหลี ที่ก่อนหน้านี้ GDP ต่ำกว่าญี่ปุ่น แต่ปัจจุบัน GDP แซงหน้าญี่ปุ่นไปแล้ว คนทั่วโลกรู้จักซอฟต์เพาเวอร์อย่าง K-POP รวมถึงหนังและซีรีส์เกาหลี

ซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มทำได้หลายวิธี แต่ตัวที่ดีที่สุดและประเทศไทยทำได้แน่นอนคือ ซอฟต์เพาเวอร์ที่ประกอบไปด้วย 5F คือ อาหารไทย (Food) ผ้าไทยและการออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film) มวยไทยและศิลปะการป้องกันตัว (Fighting) เทศกาลประเพณีไทย (Festival)

 “สำหรับประเทศไทยมีซอฟต์เพาเวอร์สำคัญ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเผยแพร่ผ่านอุตสาหกรรมสารัตถะ (คอนเทนต์) เพื่อช่วยยกระดับอุตสาหกรรมไทย หากไทยสามารถสร้างแบรนด์ของตัวเองแทนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมแบบ OEM ที่เป็นอุตสาหกรรมรับจ้างผลิต ก็จะสามารถนำรายได้เข้าประเทศได้เพิ่มขึ้น” นายเกรียงไกรกล่าว

นายเขมทัตต์กล่าวว่า การสร้างซอฟต์เพาเวอร์ของไทย เราเน้นไปที่การท่องเที่ยวไทยเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงๆ แล้วการกระตุ้นการอุปโภคบริโภคสินค้าทางอ้อมผ่านคอนเทนต์ไทย จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่ช่วยสร้างซอฟต์เพาเวอร์ไทยให้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งสินค้าต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยก็มาจากผลิตผลจากภาคอุตสาหกรรมไทย จึงเป็นที่มาที่ต้องการมาหารือและสร้างความร่วมมือกับ ส.อ.ท.ให้เกิดขึ้นในวันนี้

จึงน่าติดตามว่าการร่วมมือกันครั้งนี้ ทั้ง ส.อ.ท.และสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ จะร่วมกันผลักดันซอฟต์เพาเวอร์ในรูปแบบไหน และจะหยิบยกสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการใดของไทยมานำเสนอ รวมถึงจะใช้วิธีการหรือสถานการณ์ใดในการเดินหน้าในเกิดขึ้นได้จริง ซึ่งเป็นเรื่องที่คนไทยทุกคน โดยเฉพาะผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ กำลังจับตามองอยู่ เพื่อหวังว่าจะไปสนับสนุนยอดขายหรือรายได้ให้เติบโตขึ้น.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล