ความเสี่ยงธุรกิจครัวเรือนไทยยุคดิจิทัล

ปัจจุบัน เรื่อง “เทคโนโลยีดิจิทัล” ถือเป็นอีกหนึ่งอาวุธสำคัญ ไม่ว่าจะสำหรับภาคธุรกิจหรือภาคครัวเรือน ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในทุกมิติ แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวในประเทศไทยยังอาจจะอยู่ในระดับต่ำ หรืออาจจะยังไม่ถูกพัฒนาให้เติบโตเท่าทันยุคสมัยมากเพียงพอ

ทั้งนี้ ล่าสุด PwC ได้เปิดผลสำรวจฉบับล่าสุดเกี่ยวกับความสามารถด้านดิจิทัล-ความหลากหลายของคณะกรรมการของธุรกิจครอบครัวไทยอยู่ในระดับต่ำ โดยพบว่ามีเพียง 1 ใน 4 หรือ 25% ของธุรกิจครอบครัวไทยที่มีความสามารถด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ต่ำกว่าทั่วโลกที่ 42% ขณะที่มากกว่า 70% มีแต่สมาชิกในครอบครัวเท่านั้นที่นั่งเป็นบอร์ดบริษัท มากกว่าเกือบสองเท่าของทั่วโลก สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ธุรกิจครอบครัวจะต้องทบทวนการดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อสร้างความไว้วางใจกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการสืบทอดมรดกและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน

ไพบูล ตันกูล หัวหน้ากลุ่มลูกค้าธุรกิจครอบครัวและหุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี บริษัท PwC ประเทศไทย ระบุว่า ธุรกิจครอบครัวมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะสูญเสียความไว้วางใจหากยังดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิมๆ เพราะพฤติกรรมและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับ ESG การสนับสนุนความแตกต่างหลากหลายและความเท่าเทียม รวมไปจนถึงคุณค่าและเป้าหมายขององค์กรที่ต้องสอดคล้องกับคุณค่าส่วนบุคคลและสังคมส่วนรวมด้วย

ขณะเดียวกันผลจากการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า ธุรกิจครอบครัวไทยให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัลในระดับต่ำ โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 25% เท่านั้นที่กล่าวว่าตนมีความสามารถด้านดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ต่ำกว่าทั่วโลกที่ 42% และมีเพียง 27% ที่มองการปรับปรุงความสามารถด้านดิจิทัลเป็นภารกิจอันดับต้นๆ ขององค์กร ต่ำกว่าทั่วโลกเช่นกันที่ 44% ไม่เพียงเท่านี้ ธุรกิจครอบครัวไทยส่วนใหญ่ยังขาดความพร้อมในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data governance) โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 27% เท่านั้นที่กล่าวว่ามีการสื่อสารและป้องกันการใช้ข้อมูลอย่างแข็งขัน ขณะที่ 14% มีการตอบโต้การโจรกรรมข้อมูลและละเมิดความเป็นส่วนตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งสองตัวเลขต่ำกว่าทั่วโลกที่ 29% และ 27% ตามลำดับ

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงการจัดการกับความขัดแย้งภายในครอบครัว พบว่า ธุรกิจครอบครัวไทยเกือบครึ่ง หรือ 49% เลือกที่จะจัดการกับความขัดแย้งกันเอง โดยมีเพียง 18% เท่านั้นที่ประยุกต์ใช้กลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict resolution mechanism) เพื่อแก้ไขข้อพิพาท เช่น ธรรมนูญครอบครัว ข้อตกลงผู้ถือหุ้น หรือแม้กระทั่งพินัยกรรม ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจครอบครัวไทยยังขาดความไว้วางใจในสมาชิกครอบครัวบางกลุ่ม โดยผู้นำรุ่นใหม่ (NextGens) ได้รับความไว้วางใจต่ำกว่าสมาชิกกลุ่มอื่นๆ ที่ 20% เปรียบเทียบกับทั่วโลกที่ 43% ขณะที่ความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัท (Board diversity) ก็อยู่ในระดับต่ำ โดยผู้ตอบแบบสำรวจมากถึง 71% กล่าวว่า มีสมาชิกในครอบครัวเท่านั้นที่เข้าร่วมในคณะกรรมการบริษัท คิดเป็นสองเท่าของธุรกิจครอบครัวทั่วโลกที่ 36%

ส่วนการให้อำนาจการตัดสินใจกับพนักงาน ผลสำรวจพบว่า ธุรกิจครอบครัวไทยไม่ถึงครึ่ง หรือ 47% มีกระบวนการภายในเพื่อให้พนักงานได้อุทธรณ์ หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของฝ่ายบริหารได้ ต่ำกว่าทั่วโลกที่ 57%

อย่างไรก็ดี ธุรกิจครอบครัวไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้ดำเนินการที่จำเป็นในการสร้างความไว้วางใจกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ ลูกค้า พนักงาน และสมาชิกในครอบครัว ซึ่งรวมถึงการผนวกแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ความมุ่งมั่นที่ชัดเจนในเรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม และการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล เป็นต้น

การเปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างหลากหลาย จะเป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างความไว้วางใจและนำความยั่งยืนมาสู่กิจการ เพราะจะช่วยให้ธุรกิจครอบครัวเห็นมุมมองที่แตกต่าง และสามารถดึงดูดและรักษาคนเก่งไว้กับองค์กรได้.

 

ครองขวัญ รอดหมวน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอเชียกับเศรษฐกิจโลกยุคใหม่

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีงานวิจัยล่าสุดที่จัดทำโดย McKinsey Global Institute (MGI) ในหัวข้อ Asia on the cusp of a new era เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการเมืองโลกในปัจจุบันอาจส่งผลให้โลกเข้าสู่ยุคใหม่

“เอลนีโญ”ดันเทรนด์Net Zeroมาแรง

รายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ระบุว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในสภาวะ “เอลนีโญ” ซึ่งจะยาวนานไปจนถึงช่วงมกราคม-มีนาคม 2567 และคาดในเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2567

จับตา'สุกี้หมาล่า'มาแรงผุดทุกหัวถนน

ในระหว่างนั่งทำงานเพลินๆ ผมได้เปิดช่องดีบีซัวเถาฟัง เพราะอยากรู้เกี่ยวกับมุมมองของจีนและความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแดนมังกร และในอีพี 563 ล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ เจ๊กกุ่ย แป๊ะตง 2 ผู้รอบรู้

เทรนด์ธุรกิจตอบโจทย์ตลาดสูงวัย

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ เพราะในมุมของภาครัฐถือเป็นอีกประเด็นใหญ่สำหรับภาระงบประมาณที่จะต้องจัดสรรมาเพื่อดูแลสวัสดิการสำหรับประชากรกลุ่มนี้

เทคโนโลยีผนวกวิถีรักษ์โลก

ปัจจุบันที่กระบวนการดูแลรักษ์โลกนั้นก้าวหน้าไปอย่างมาก เช่นเดียวกับการพัฒนาเทคโนโลยี และเมื่อนำทั้ง 2 สิ่งมาผนวกกัน สังคมจึงมีเทคโนโลยีดีๆ ที่สามารถอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ รวมถึงการสร้างกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างผลกระทบให้กับโลกได้อีกด้วย

เตรียมเช็กอินนั่งสายสีชมพู

เมื่อพูดถึงโครงการไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู เป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลสายที่สองที่จะเปิดให้บริการในประเทศไทย มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเขตมีนบุรีและจังหวัดนนทบุรี มีระยะทางให้บริการ 34.5 กิโลเมตร (กม.)