เปิดพฤติกรรมคนไทยส่งท้ายปี

ในช่วงเดือนธันวาคมนับเป็นเวลาที่หลายคนรอคอยเนื่องจากมีเทศกาลต่างๆ รออยู่ และแบรนด์ต่างๆ ก็สามารถทำตลาด แคมเปญต่างๆ เพื่อดึงกำลังซื้อของผู้บริโภคได้ ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์โควิดจะยังคงอยู่ แต่ดูเหมือนว่าคนไทยก็เริ่มคุ้นชินกับนิวนอร์มอลกันแล้ว โดยที่ผ่านมานั้นสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัท สปา-ฮาคูโฮโด จำกัด ได้สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยประจำเดือนธันวาคม 2564 พบว่า คนไทยส่วนใหญ่มีความสุขเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 จะยังคงอยู่ในปัจจุบัน แต่คนไทยก็ปรับตัวและมุ่งหวังการสร้างความสุขในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือบรรยากาศหลังจากประกาศเปิดประเทศ สถานการณ์ต่างๆ ก็เริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง คนไทยมีแนวโน้มจับจ่ายเพิ่มสูงขึ้นในช่วงปลายปี 2564 และวางแผนในการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

ดูเหมือนว่าคนไทยส่วนใหญ่มีความหวังมากขึ้น ถึงแม้จะยังมีความกังวลกับสถานการณ์และการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือพลังใจที่คนไทยทั้งประเทศกำลังเรียกคืนความสุขกลับมานั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก รวมไปถึงพลังแห่งการใช้จ่ายที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก หลังจากประกาศเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 บรรยากาศต่างๆ และธุรกิจการท่องเที่ยวก็เป็นไปอย่างคึกคักเพื่อรองรับเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง

ผลสำรวจพบว่าคนไทยมีความสุขมากขึ้น 9% และกลุ่มผู้บริโภคเพศหญิงยังคงพร้อมใจช็อปปิ้งรับความสุขซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 5% เมื่อเทียบจากผลสำรวจในช่วงเดือนตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่ 2 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1 คนไทยเตรียมวางแผน แบรนด์ควรสร้างธีมเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลแห่งความสุข ถือเป็นช่วงแห่งการสร้างสุขที่แท้จริง ซึ่งทางทีมวิจัยพบว่าคนไทยส่วนใหญ่เริ่มมีความต้องการในการจับจ่ายใช้สอยที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในส่วนของแบรนด์ต่างๆ ก็พากันตื่นตัวและอาศัยบรรยากาศในช่วงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองนี้กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมามอบรางวัลให้แก่ตัวเองด้วยเช่นกัน

ถือเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่จะทำให้ตัวของผู้บริโภคกล้าตัดสินใจที่จะใช้จ่ายมากขึ้น โดยเฉพาะกับสิ่งที่พวกเขาไม่ค่อยได้ซื้อในช่วงสถานการณ์ที่ไม่ปกติก่อนหน้านี้ และถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีนับจากนี้หากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่กลับมารุนแรงอีกครั้ง

ส่วนข้อ 2 แรงกระตุ้นด้านอารมณ์ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้จ่ายแบบทันที ถึงแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่จะยังมีความกังวลกับสถานการณ์ต่างๆ ของสังคม แต่ความต้องการความสุขของคนไทยก็ยังมีความสำคัญ จะเห็นได้ว่าการทำกิจกรรมนอกบ้านถือเป็นแรงกระตุ้นอารมณ์ ส่งผลไปสู่การจับจ่าย ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารนอกบ้าน การท่องเที่ยวภายในประเทศ โปรโมชั่นลดแลกแจกแถมที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้จ่ายแบบปัจจุบันทันด่วนได้เป็นอย่างดี

แน่นอนว่าย่อมทำให้ธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ กลับมาเปิดให้บริการได้อีกครั้ง นักการตลาดต่างรีบส่งกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อเชื่อมโยงแบรนด์ไปสู่สินค้าชุมชนได้มากขึ้น โดยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงและการรับรู้ของแบรนด์ในชุมชนนั้นๆ เพื่อให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภคในการจับจ่ายใช้สอย ถือเป็นกิจกรรมสร้างสุขที่ยั่งยืนจากสังคมสู่ชุมชนได้เป็นอย่างดี

แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากผลวิจัยในครั้งนี้คือ กลุ่มผู้บริโภคผู้หญิงมีความสุขเพิ่มสูงขึ้น วิถีการดำเนินชีวิตได้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ หลายโรงเรียนต่างๆ ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมไปถึงโรงเรียนในต่างจังหวัดเริ่มกลับมาเปิดทำการเรียนการสอน หลังจากที่เรียนออนไลน์กันมานาน

อย่างไรก็ดี หากแบ่งสัดส่วนตามภูมิภาคพบว่า ภาคกลางมีความหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น จึงมีความกล้าที่จะใช้จ่ายกับของใช้ส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นการซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม สินค้าแต่งบ้าน และอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ ขณะที่ภาคตะวันออกมีความหวังว่าการเงินจะฟื้นฟูและมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายกับสินค้าฟุ่มเฟือย รวมไปถึงการท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งมีผลคะแนนเท่ากันอยู่ที่ 61 คะแนน ส่วนภูมิภาคที่มีแนวโน้มการใช้จ่ายสูงสุดเท่ากันคือ ภาคอีสานและภาคใต้ ที่เตรียมตัวเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุขเพื่อเป็นการให้รางวัลแก่ตัวเองอีกด้วย.

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี

ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว