เอสเอ็มอีใช้“มาร์เทค”อัปสกิลธุรกิจ

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปมาก และเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของผู้คน ทำให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวตามเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที ทางด้านการตลาดก็มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงยุค 4.0 ซึ่งเป็นยุคการตลาดดิจิทัล มีการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น และได้พัฒนามาสู่ยุค 5.0 ที่มีการนำเทคโนโลยีและข้อมูลจำนวนมหาศาลมาช่วยในการวิเคราะห์ เพื่อตอบสนองและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ถือเป็นยุคของการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยดาต้า โดยเรียกว่า “Technology for Humanity”

ในช่วงที่ผ่านมา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) ได้เผยผลสำรวจมุมมองของเอสเอ็มอีไทยต่อเครื่องมือ MarTech พบว่ามีเอสเอ็มอีถึง 68% ที่เคยได้ยินคำว่า MarTech แต่มีเพียง 29% เท่านั้นที่เคยนำ MarTech มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ

โดยเครื่องมือ MarTech ที่เอสเอ็มอีนิยมใช้ 5 อันดับแรกคือ Meta Business Suite, Google Analytics, Google Ads, Line Official Account และ CHOCOCRM โดยในช่วงระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมานั้น พบว่าเครื่องมือ MarTech เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดกว่า 7,000% อีกด้วย

บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ระบุว่า ข้อมูล หรือ Data ต่างๆ ที่อยู่ในมือผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภค การจับจ่ายใช้สอย สถานที่ที่ลูกค้าซื้อของ และอื่นๆ อีกมากมาย ถือเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจและถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาร่วมกับการทำการตลาด กลายเป็น “Marketing Technology” หรือเรียกย่อๆ ว่า “MarTech” ซึ่งมีคำนิยามว่า เป็นชุดของเทคโนโลยีที่มีการบูรณาการ เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้งานด้านการตลาด 

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยในยุคนี้มีการเติบโตค่อนข้างสูง หรือมีจำนวนมากถึง 3.178 ล้านราย คิดเป็น 99.57% ของจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น 71.86% และทำให้จีดีพีของเอสเอ็มอีมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 35.2% ของจีดีพีรวมของประเทศ จากตัวเลขทั้งหมดเห็นได้ว่าธุรกิจมีความน่าสนใจและสามารถเติบโตอีกได้ โดยใช้ MarTech เข้ามาสนับสนุนเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีไทยให้ก้าวทันธุรกิจในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาผ่านกลุ่มตัวอย่างเอสเอ็มอี 51 ราย แบ่งเป็นภาคการค้า 40% ภาคการบริการ 38% และภาคการผลิต 22%

ขณะเดียวกันยังมีการศึกษาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน MarTech ทั้งหมด 16 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 43.75% และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องมือ MarTech 56.25% จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า MarTech มีประโยชน์ต่อเอสเอ็มอีเป็นอย่างมาก โดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ด้าน คือ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำการตลาด 2.การลดระยะเวลาในการทำงาน ทำให้งานเร็วขึ้น และลดความผิดพลาดจาก Human Error 3.การพัฒนาธุรกิจ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และเพิ่มการลงทุนขยายธุรกิจ 4.การสร้างระบบการทำงานให้เป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ MarTech จะช่วยเชื่อม Customer Journey ของลูกค้าในจุดต่างๆ ที่เราสามารถเจอลูกค้าได้ เพียงแค่ต้องรู้ว่าลูกค้าอยู่ในขั้นไหนของ Journey

โดยการเดินทางบนเส้นทางการตลาดของลูกค้าหลักๆ มีอยู่ 5 ขั้นตอน คือ Aware สร้างการรับรู้ถึงสินค้าและบริการ Appeal ดึงดูดความสนใจจนอยากทำความรู้จัก Ask นำเสนอคำตอบของคำถามเพื่อให้ตัดสินใจ Act ตัดสินใจซื้อ และ Advocate แนะนำให้เกิดการบอกต่อ แต่ละจุดสามารถนำ MarTech Tools มาใช้ประกอบการทำการตลาดได้ตามความสามารถของแต่ละเครื่องมือ เมื่อลูกค้ามีความสนใจจะเกิดการถามหาข้อมูลในขั้น Ask การมีแชตบอตเข้ามาจะช่วยตอบคำถามและวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะช่วยทุ่นแรงในการทำงานได้เป็นอย่างดี 

แน่นอนว่าการเลือกเครื่องมือ MarTech มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจก็มีส่วนสำคัญ โดยจะต้องสำรวจธุรกิจของตนเองเพื่อให้ทราบถึงปัญหา (Pain Point) และความจำเป็นในการใช้ MarTech เปรียบเสมือนเป็นการวินิจฉัยโรค ถ้าวิเคราะห์ได้ตรงจุดก็สามารถรักษาได้ถูกต้อง พร้อมกับเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง เพื่อให้แก้ปัญหาที่วิเคราะห์ออกมาให้ได้อย่างตรงจุดมากที่สุด และควรเลือกเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน เตรียมความพร้อมทั้งในด้านทีมงานที่มีความสามารถและเข้าใจการใช้เครื่องมือ MarTech เพื่อทำให้การใช้เครื่องมือเกิดประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด และในด้านงบประมาณซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในช่วงที่กำลัง Transform ธุรกิจ และต้องทดลองใช้งานเครื่องมือเพื่อดูความเหมาะสมในการใช้งาน ตรวจสอบดูระหว่างทดลองใช้ว่าเครื่องมือที่หยิบมา เหมาะกับบริบทขององค์กรมากน้อยเพียงใดก่อนนำมาใช้งานจริง.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19