กลุ่ม Hamas เป็นใคร? (ภาค 1)

พอพูดถึงสงครามที่กำลังเกิดขึ้นในอิสราเอลนั้น ยอมรับว่าเมื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ยิ่งเฉพาะจากสื่อตะวันตก แทบจะต้องฟังหูไว้หู และต้องกลั่นกรองข้อมูลที่ออกมา เพราะสื่อตะวันตก ยิ่งเฉพาะเวลาพูดถึงเรื่องอิสราเอลจะเอียงยิ่งกว่าอะไร ทำให้สื่อบ้านเราที่เอียงตามสีชัดเจนอยู่แล้ว ดูเป็นกลางขึ้นมาทันที เห็นได้ชัดจากการใช้คำพูด เมื่อคนอิสราเอลเสียชีวิตเปรียบเทียบกับคนปาเลสไตน์เสียชีวิต เวลาคนอิสราเอลเสียชีวิต เขาจะถูกตราหน้าว่าเป็นฆาตกร ถ้าเป็นคนปาเลสไตน์เสียชีวิต จะเป็นเหยื่อตามเหตุการณ์

ดังนั้นสงครามที่กำลังเกิดขึ้นมาสัปดาห์เต็มๆ แล้ว ยากที่จะรับข้อมูลที่ไม่เอียง วันนี้ผมจะพยายามอธิบายว่ากลุ่ม Hamas คือใคร มาจากไหน อย่างไร

กลุ่ม Hamas ก่อตั้งเมื่อปี 1987 ถือว่าเป็นกลุ่มแยกออกมาจากกลุ่ม Muslim Brotherhood จากประเทศอียิปต์ ที่ก่อตั้งเมื่อยุค 1920 (พวกเราคงคุ้นเคยและจำชื่อกลุ่ม Muslim Brotherhood ใช่ไหมครับ?) คำว่า Hamas ย่อมาจาก Harakat al-Muqawama al-Islamiya (ซึ่งในภาษาอังกฤษแปลว่า Islamic Resistance Movement) วัตถุประสงค์ของการตั้งกลุ่ม Hamas คือ “To provide an Islamic alternative to the nationalist and leftist groups that then dominated the Palestinian scene in resistance to Israel.”

Hamas เริ่มมีบทบาทและเป็นที่รู้จักจากเหตุการณ์ Intifada ถ้าจะเข้าใจ Hamas ดีขึ้นเราต้องย้อนเวลากลับไปดูว่า Intifada คืออะไร และใครเล่นบทบาทอะไรบ้าง เพราะความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ มันซับซ้อน และต้องเล่าภูมิหลังเยอะถึงจะเห็นภาพได้ครับ

Intifada คือความพยายามของกลุ่มปาเลสไตน์ขับไล่อิสราเอลออกจากพื้นที่ “ตัวเอง” (ในย่าน West Bank กับ Gaza) เพื่อสร้างพื้นที่และรัฐปาเลสไตน์แท้ๆ Intifada เกิดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 1987 และจบเดือนกันยายน 1993 ด้วยข้อตกลงประวัติศาสตร์ Oslo Accords เป็นข้อตกลงที่ปูพื้นฐานให้เกิดความสันติสุขและความสงบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มปาเลสไตน์ ส่วน Intifada รอบที่สอง (ที่บางคนเรียกว่า Al-Aqsa Intifada) เกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายนปี 2000 และเหมือนค่อยๆ แผ่วลง จบปี 2005 ความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก Intifada ทั้งสองครั้งคือ ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 5,000 คน ส่วนชาวอิสราเอลเสียชีวิต 1,400 คน

ถ้าอยากจะเข้าใจที่มาของ Intifada รอบแรกต้องย้อนเวลากลับไปปี 1977 ที่พรรค (ขวาจัด) Likud Party ชนะการเลือกตั้งในอิสราเอล และมีนโยบายกดดันชาวปาเลสไตน์ และประกาศชัดเจนว่าย่าน West Bank กับ Gaza จะต้องเป็นของอิสราเอล เลยทำให้ชาวปาเลสไตน์ไม่ยอมและลุกขึ้นประท้วง มีการปะทะกันเป็นระยะๆ จนกระทั่งเดือนธันวาคม ปี 1987 มีเหตุการณ์ที่ชาวอิสราเอลเสียชีวิตจากการแทงโดยฝีมือชาวปาเลสไตน์ จนทำให้มีการล้างแค้นขึ้นมาด้วยการฆ่าแรงงานปาเลสไตน์ 4 รายโดยชาวอิสราเอล

เหตุการณ์นี้จุดชนวนให้มีการปะทะและมีการประท้วงมากขึ้น และจากที่เคยชุมนุม ปะทะและประท้วง ด้วยการโยนหินและโยนไม้นั้น เขายกระดับมาใช้ปืนและระเบิดแทน เหตุผลเพราะตำรวจกับทหารอิสราเอลใช้ความรุนแรงปราบปรามการประท้วง รุนแรงมากกว่าเดิมด้วยการปะทะและต่อสู้ที่ยืดยาวนาน ทำให้แกนนำกลุ่มชาวปาเลสไตน์ที่เรียกกันว่า Palestine Liberation Organization (PLO) มีความเห็นว่าเหตุการณ์จะยุติต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายเปิดช่องทางพูดคุยและเจรจากัน ถ้าต่างฝ่ายยิ่งใช้ความรุนแรง เหตุการณ์ไม่มีวันจบ และในปี 1988 ผู้นำ PLO (Yassar Arafat) ยอมรับเงื่อนไขที่สหรัฐเสนอมาให้เปิดช่องทางเจรจาระหว่างสหรัฐกับปาเลสไตน์ ให้กลุ่มปาเลสไตน์ประณามเหตุการณ์ก่อการร้ายทุกหนทาง ให้ยอมรับประเทศอิสราเอลมีสิทธิ์ครองพื้นที่บางส่วนได้

และเนื่องจากว่า Intifada เป็นภาระหนักที่รัฐบาลอิสราเอลต้องแบก เมื่อปี 1992 มีรัฐบาลใหม่เข้ามา มีนโยบายหลักคือเจรจากับฝ่าย PLO ให้เกิดสันติสุขและความสงบให้ได้ จึงปูทางให้เกิดข้อตกลง Oslo Accord ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ทาง อิสราเอลจะยอมรับ PLO เป็นตัวแทนของชาวปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ อิสราเอลจะยอม ถอยและถอนตัวเองออกมาจากพื้นที่บางส่วนของ West Bank กับ Gaza เป็นระยะๆ และเมื่อถอนออกมาจะปล่อยให้ปาเลสไตน์บริหารพื้นที่ด้วยตนเองและเพื่อตัวเอง

ถือว่าเป็นข้อตกลงที่คนทั่วโลกปรบมือ เพราะเหมือนเป็นครั้งแรกที่มีความหวังว่าซีกตะวันออกกลางของโลกนั้นจะมีความสงบ แต่ในขณะที่อิสราเอลกับ PLO จับมือเพื่อสร้างความสันติสุข กลุ่มใหม่ที่สร้างและเกิดขึ้นมา (Hamas) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง Hamas ประณามข้อตกลง Oslo Accord ปฏิเสธและไม่ยอมรับข้อตกลงทุกประการ และไปในทางสุดโต่งคือ โจมตีและทำร้ายคนอิสราเอลด้วยวิธีแบบผู้ก่อการร้าย ซึ่งไม่แน่ใจว่านั่นคือเหตุผลที่ทำให้ Oslo Accord ต้องล้มเหลว หรือเป็นข้อแก้ตัวเฉยๆ เพราะอิสราเอลก็ไม่ได้ออกจากพื้นที่ทั้งหมดตามข้อตกลง แถมเพิ่มกำลังเพื่อควบคุมพื้นที่ดังกล่าว เช่นเดียวกัน ฝ่ายปาเลสไตน์ก็เพิ่มอาวุธ เพิ่มกำลัง เพื่อปกป้องตัวเอง และยั่วยุฝ่ายอิสราเอลเป็นระยะๆ เลยเป็นที่มาของ Intifada รอบสองครับ

ในสัปดาห์ต่อไป ผมขอไปต่อเรื่อง Hamas และที่มาที่ไปของเขา วันนี้ถือว่าเป็นการปูทางระดับหนึ่ง ในสัปดาห์หน้าจะขอปูทางต่อครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Be Careful What You Wish For….Your Wishes May Come True

ปกติถ้าบอกว่า “รอดูผลอีก 9 เดือน” คงไม่ต้องอธิบายความหมายใช่ไหมครับ? แต่สำหรับแฟนๆ TikTok ในสหรัฐอเมริกา ความหมายจะแตกต่างโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่วันพุธที่ผ่านมา ประธานาธิบดี Joe Biden ได้ลงนามอย่างเป็นทางการให้บริษัท Bytedance ขาย TikTok ในสหรัฐภายใน 9 เดือน หรือถ้าจะยืดเวลาออกไป

Sending a Message หรือ The Calm Before the Storm?

เมื่อสัปดาห์ก่อน ช่วงเวลาที่พวกเราสนุกและพักผ่อนกันเต็มที่ช่วงสงกรานต์นั้น มีเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่มันเกิดได้ทุกเมื่อ และในที่สุดก็เกิดขึ้นจริงๆ ครับ

หลานชายคุณปู่

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ ช่วงเขียนคอลัมน์นี้ ผมยังอยู่ที่บ้านเฮา เจออากาศทั้งร้อนมากและร้อนธรรมดา เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเขียนเรื่องการขับรถขึ้นมาบ้านเฮากับลูกสาว

หลานคุณปู่

คอลัมน์สัปดาห์นี้กับสัปดาห์หน้า น่าจะเป็นคอลัมน์เบาๆ ครับ ผมเชื่อว่าแฟนๆ ครึ่งหนึ่งน่าจะหนีร้อนในไทยไปสูดอากาศเย็น (กว่า) ที่อื่น ส่วนใครที่ไม่ไปไหน คงไม่อยากอ่านเรื่องหนักๆ

'แก๊ง'ล้มรัฐบาลได้ด้วยเหรอ? (ตอน 2)

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเขียนเรื่องราวแก๊งที่ผมสัมผัสและรู้จักสมัยอยู่สหรัฐ สำหรับใครที่ชอบฟังเพลงแนว Gangster Rap ก็คงจะคุ้นเคยกับสิ่งที่ผมเขียนไป แต่สำหรับหลายท่านที่เติบโตคนละยุคคนละสมัยอาจไม่คุ้นเลย

'แก๊ง'ล้มรัฐบาลได้ด้วยเหรอ? (ตอน 1)

ผมมีความรู้สึกว่า ช่วงนี้มีข่าวประเภทแก๊งมีอิทธิพลในประเภทประเทศเอลซัลวาดอร์ โคลอมเบีย และเม็กซิโก มีผลต่อเสถียรภาพการเมืองระดับชาติประเทศเขา