แนวโน้มภัยคุกคามไซเบอร์ปี2024

การเติบโตของปฏิบัติการอาชญากรรมทางไซเบอร์ในรูปการบริการ หรือ Cybercrime-as-a-Service (CaaS) รวมถึงการเกิดขึ้นของ Generative AI ทำให้ผู้ก่อภัยคุกคามมีตัวช่วยให้ทำงาน “ง่าย” ยิ่งขึ้นเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ที่ช่วยให้โจมตีได้ง่ายดายกว่าที่ผ่านมา ซึ่งการใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้กลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเพิ่มความซับซ้อนในการโจมตีได้ดี กลุ่มคนเหล่านี้จึงสามารถโจมตีโดยเจาะจงเป้าหมายได้มากขึ้นและปกปิดตัวตนได้ดีขึ้น โดยเป็นการออกแบบเพื่อให้สามารถหลบหลีกมาตรการควบคุมความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง และดำเนินการได้คล่องตัวมากขึ้นด้วยการทำให้ยุทธวิธีในการโจมตีทั้งหมดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า ในรายงานการคาดการณ์ภัยคุกคามปี 2024 ทีมทำงานจาก FortiGuard Labs ของ ฟอร์ติเน็ต ได้มองไปสู่ยุคใหม่ของอาชญากรรมไซเบอร์ขั้นสูง โดยตรวจสอบว่า AI กําลังเปลี่ยนเกมการโจมตีไปสู่รูปแบบใด พร้อมให้แนวโน้มภัยคุกคามใหม่ที่ต้องจับตามองทั้งในปีนี้และปีต่อๆ ไป รวมถึงให้คำแนะนำแก่องค์กรธุรกิจถึงวิธีการเสริมสร้างความยืดหยุ่นโดยรวม เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีพัฒนาการก้าวหน้าตลอดเวลา

จากการเฝ้าสังเกต พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธวิธีการโจมตีซึ่งเป็นที่นิยมมานานหลายปี และได้รวบรวมหัวข้อเหล่านี้ไว้ในรายงานฉบับก่อนหน้า ซึ่งการโจมตีด้วยวิธีการ "คลาสสิก" ยังไม่ได้หายไปไหน ขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาและก้าวหน้ามากขึ้น เพราะผู้โจมตีสามารถเข้าถึงทรัพยากรใหม่ๆ ได้

อีกเรื่องที่ไม่ควรลืมคือ วิวัฒนาการของ Generative AI การนำ AI ไปใช้เป็นอาวุธเพื่อการโจมตี ถือเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้กับกองไฟที่กำลังลุกโชน ด้วยการหยิบยื่นวิธีการง่ายๆ ให้ผู้โจมตีได้ใช้เพื่อยกระดับการโจมตีในหลายขั้นตอน ซึ่งจากที่เคยคาดการณ์ไว้ในอดีต ผู้คนกำลังได้เห็นอาชญากรไซเบอร์นำ AI มาใช้สนับสนุนกิจกรรมประสงค์ร้ายด้วยวิธีใหม่ๆ กันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหลบเลี่ยงการตรวจจับความพยายามในการหลอกลวงโดยใช้จิตวิทยาทางสังคม ไปจนถึงการเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ เป็นต้น

ในขณะที่ อาชญากรไซเบอร์มักจะอาศัยยุทธวิธีและเทคนิคที่เคยลองแล้วได้ผลดีมาตลอดมาใช้หาเงินอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันบรรดาผู้โจมตีมีเครื่องมือมากมายที่พร้อมนำมาใช้สนับสนุนการโจมตี และเมื่ออาชญากรรมทางไซเบอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าจะได้เห็นแนวโน้มใหม่อีกหลายอย่างเกิดขึ้นในปี 2024 และปีต่อๆ ไป และนี่คือภาพส่วนหนึ่งที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้น

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามขณะที่อาชญากรไซเบอร์จำนวนมากใช้แรนซัมแวร์ในการโจมตีเพื่อกอบโกยรายได้ กลุ่มอาชญากรรมต่างๆ กำลังละความสนใจอย่างรวดเร็วจากกลุ่มเป้าหมายขนาดเล็กและโจมตีง่าย เมื่อมองไปข้างหน้าคาดการณ์ว่าผู้โจมตีทั้งหลายจะหันมาใช้กลยุทธ์ “มุ่งเป้าหมายใหญ่ แล้วไปให้สุด” โดยหันมามุ่งเป้าอุตสาหกรรมหลักสำคัญที่จะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อสังคม ทําให้ผู้โจมตีได้รับผลตอบแทนมหาศาล และผู้โจมตีก็จะขยายแผนการโจมตีด้วยการสร้างกิจกรรมการโจมตีที่เน้นตัวบุคคลมากขึ้น รุนแรงขึ้น และทำลายล้างมากขึ้น

ขณะที่ องค์กรธุรกิจต่างขยายไปสู่การใช้งานแพลตฟอร์ม แอปพลิเคชัน และเทคโนโลยีต่างๆ มากมายเพื่อการดำเนินงานในทุกวัน อาชญากรไซเบอร์เองก็มีโอกาสมากเป็นพิเศษที่จะค้นพบช่องโหว่และใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เหล่านี้ คาดว่าจะได้เห็นนายหน้าหรือโบรกเกอร์ของ Zero Days ซึ่งเป็นกลุ่มอาชญากรที่นำเอา Zero Days ไปขายในตลาดมืดให้กับผู้ซื้อจำนวนมาก ในชุมชน CaaS ขณะเดียวกันช่องโหว่แบบ N-day ก็ยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อองค์กรเช่นกัน

ในอนาคตคาดว่าจะเห็นผู้โจมตีใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ทางการเมืองและโอกาสที่ขับเคลื่อนโดยอีเวนต์ต่างๆ ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามมุ่งเป้าไปที่อีเวนต์สำคัญๆ อาชญากรไซเบอร์ในปัจจุบันก็มีเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ AI เชิงสร้างสรรค์ หรือ Generative AI เพื่อสนับสนุนการโจมตี ขณะที่ผู้โจมตีจะยังคงขยายการโจมตีแบบครบชุด ทั้งวิธีการ กลยุทธ์ และขั้นตอนต่างๆ ในการโจมตี เพื่อสร้างช่องโหว่หรือจุดอ่อนให้กับองค์กรที่เป็นเป้าหมาย

อาชญากรรมไซเบอร์ส่งผลกระทบต่อทุกคน และแผ่ขยายเป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าผู้ก่อภัยคุกคามจะได้เปรียบเสมอไป ชุมชนด้านการรักษาความปลอดภัยของเราสามารถดำเนินการได้ในหลายรูปแบบเพื่อช่วยคาดการณ์ความเคลื่อนไหวขั้นต่อไปของอาชญากรไซเบอร์ อีกทั้งขัดขวางกิจกรรมก่อการร้ายเหล่านี้ได้ด้วยความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชน ในการแบ่งปันข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภัยคุกคาม รวมถึงการใช้มาตรการที่เป็นมาตรฐานในการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และอื่นๆ มาช่วยรับมือ.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19