เทคโนโลยีที่มาพร้อมกับความเสี่ยง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมานี้ คงไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถสร้างกระแสและสร้างความน่าตื่นตาตื่นใจได้เท่ากับเทคโนโลยี Generative AI และด้วยการเกิดขึ้นของเครื่องมือ AI เชิงสร้างสรรค์ที่กลายเป็น AI Viral เมื่อปลายปี 2565 อย่าง ChatGPT ส่งผลให้บริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่และสตาร์ทอัปต่างเปิดตัว AI เพื่อแข่งขันกันอย่างดุเดือด จนอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า ขีดความสามารถของ AI จะพัฒนาต่อไปอย่างไร เมื่อความเก่งกาจของ AI ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลกจนกลายเป็นดาวเด่นของวงการเทคโนโลยี

ในช่วงที่ผ่านมา OPEN-TEC ศูนย์รวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี (Tech Knowledge Sharing Platform) ภายใต้การดูแลของ TCC TECHNOLOGY GROUP ได้หยิบยกส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาที่ให้เกียรติมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับ Generative AI ในรายการ open talk หากใครไม่อยากตกขบวนแล้วล่ะก็ ต้องรีบศึกษาไว้เลย

หากถามว่า Generative AI คืออะไร ก็ต้องบอกว่า Generative AI หรือ Generative Artificial Intelligence (GenAI) เป็นอีกแขนงหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ให้เกิดเป็นผลลัพธ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรที่เป็นข้อความ โดยใช้การประมวลผลและตอบคำถาม รูปภาพ วิดีโอ เสียง โมเดลสามมิติ งานออกแบบดีไซน์ และอื่นๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้งานได้ในหลายด้าน เช่น ศิลปะ การออกแบบ การผลิตหนังสือ และโฆษณา รวมถึงสามารถนำไปใช้ในงานวิจัยและการทำนายผลในอนาคต

ยกตัวอย่าง Generative AI ที่เห็นได้ชัดอย่างเช่น ChatGPT AI Chatbot ที่ทั้งโลกกำลังจับตามองด้วยความอัจฉริยะด้านภาษา มีการโต้ตอบเสมือนพูดคุยกับคนอย่างเป็นธรรมชาติ เพียงแค่พิมพ์สิ่งที่ต้องการลงไปในระบบ จากนั้น Generative AI ใน ChatGPT จะทำงานโดยการประมวลผลจากข้อมูลที่มีอยู่มาสร้างสรรค์เป็นคำตอบให้ได้เลยทันที หรือ DALL-E AI Text-to-image ที่มีความสามารถที่น่าทึ่งในการสร้างรูปภาพจากข้อความคำสั่งและประมวลผลออกมาเป็นรูปภาพ โดยรูปนั้นเป็นผลงานชิ้นใหม่ มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตัวเอง

อย่างที่ทราบกันดีว่า กระแส Generative AI กำลังเป็นที่แพร่หลาย ด้วยความชาญฉลาดและความคิดสร้างสรรค์เป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทำให้ Generative AI โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ChatGPT AI Chatbot ที่สามารถตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติและลื่นไหล กลายเป็นเพื่อนคู่คิดของมนุษย์ที่ช่วยรังสรรค์สิ่งต่างๆ รวมถึงอำนวยความสะดวกและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน นักศึกษาที่ใช้ประโยชน์จาก ChatGPT ในการลดขั้นตอนการหาข้อมูลเพื่อศึกษาข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ ไปจนถึงพนักงานแทบทุกตำแหน่งและทุกระดับงานในองค์กรต่างหันมาใช้ประโยชน์จาก ChatGPT เพื่อประหยัดเวลาในการทำงานกันทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าความสามารถของ Generative AI จะน่าประทับใจ แต่ก็ทำให้ธุรกิจและเหล่าผู้ใช้งานเริ่มตระหนักถึงข้อจำกัด หรือเกิดความกังวลเกี่ยวกับจริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี Generative AI

โดย พิณนรี ธีร์มกร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ Sasin School of Management, Head of Artificial Intelligence - Ignite Innovation Lab และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท อินเตอร์ ดาต้า รีคัฟเวอรี จำกัด กล่าวว่า “AI จะดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ เปรียบเสมือนกับมีด อยู่ที่ว่าเราจะนำไปสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ทำชีวิตให้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น นำไปช่วยเพิ่มโอกาสให้กับคนด้อยโอกาส หรือนำไปใช้ในทางที่ผิด ดังนั้นเรื่องของการอบรมด้านจริยธรรมในการนำ AI ไปใช้จึงสำคัญมาก”

ทางด้าน ศักดิ์ เสกขุนทด ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิด้าน Digital Transformation สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ETDA ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “สิ่งที่น่ากลัวของ Generative AI คือผลลัพธ์ หรือ Output ที่ได้ เพราะเหมือนมนุษย์มาก เราแทบแยกไม่ออกเลยว่าคือมนุษย์หรือ AI ที่เป็นคนทำขึ้นมา ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นประเด็นหนึ่งที่จะเกิดปัญหาในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นถามว่าประโยชน์มีไหมมีมโหฬาร ถามว่าความเสี่ยงมีไหม ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้จากการใช้ Generative AI เหล่านี้คือ ต้องรู้ว่าจะใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และในขณะเดียวกันลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลด้วย นี่คือข้อพึงระวังที่เราควรมี”   

การใช้งานเทคโนโลยีทุกประเภทก็เหมือน “ดาบสองคม” ที่ควรศึกษาทั้งผลดีผลเสียก่อนใช้งาน และถึงแม้ Generative AI จะเป็นเทคโนโลยีที่น่าทึ่ง แต่ยังมีข้อจำกัดสำคัญคือ Generative AI นั้นอาจมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการให้ข้อมูลในบางเรื่อง นั่นเป็นเพราะข้อมูลพื้นฐานที่ AI เรียนรู้มาจากข้อมูลมหาศาลที่อยู่ในโลกออนไลน์ที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ที่อาจจะมีข้อมูลถูกต้องและมีข้อมูลที่บิดเบือน ข้อมูลที่ไม่มีการอัปเดต ข้อมูลที่มีอคติทางสังคมรวมอยู่ในนั้นด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมและความรับผิดชอบในการพัฒนา Generative AI เพื่อให้การนำมาใช้งานเป็นไปอย่างระมัดระวังและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่กระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอนาคต.

 

รุ่งนภา สารพิน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

30@30 โอกาส SME

สำหรับนโยบาย 30@30 เป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 จนมาถึงปัจจุบันที่นวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทยแพร่หลายมากขึ้น และ EV ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

Gen AI ความท้าทายยุคใหม่

การก้าวตามเทคโนโลยีใหม่อย่าง Generative AI ที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและน่ากลัว โดยไม่มีใครรู้เลยว่าบริษัทที่ใช้แนวทาง "รอดูไปก่อน" จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังในขณะที่ระบบดิจิทัลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้นของโควิด-19