ไทยจะเป็นฮับเอทานอล

ประเทศไทยหลังจากที่ผลัดเปลี่ยนรัฐบาลชุดนี้ ก็ตั้งเป้าการทำงานที่หลากหลายและแปลกตามากขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล รวมถึงภาคเอกชนและกลุ่มอื่น ก็ต้องดำเนินการตามเพื่อให้ไปในทิศทางเดียวกัน และหนึ่งเป้าหมายที่มักจะได้ยินจากแผนการดำเนินงานนั้นเสมอ ก็คือการขึ้นไปเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ ของภูมภาคอาเซียน หรือการขึ้นไปเป็น "ฮับ"

ที่ผ่านมาหลายคนคงเคยเห็นข่าวจากหน่วยงานต่าง ๆ ผ่านตามาบ้างที่จะผลักดันประเทศไทยเป็นฮับนู้น ฮับนี่ เพื่อให้ไทยเป็นทั้งศูนย์กลางการผลิต และการค้า... สร้างแนวให้ให้ทุกกลุ่มการทำงานได้โชว์ศักยภาพได้เต็มที่ สร้างความร่วมมือ และความเข้มแข็งในการต่อสู้ได้ในตลาดการค้าในอนาคต แน่นอนว่าการขึ้นเป็นฮับต่าง ๆ

นั้นเป็นเรื่องที่ยาก และต้องใช้ความพยายามอย่างเต็มที่กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง แต่เมื่อกลับมาดูผลลัพท์ที่จะได้แล้ว การตั้งให้ประเทศไทยขึ้นไปเป็นฮับในแต่ละแผนงานนั้น อย่างน้อยก็จะสนับสนุนให้เกิดแผนงานพัฒนาที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ด้วยความยากจึงต้องใส่ใจมากยิ่งขึ้น รวดเร็ว และครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

จึงทำให้เมื่อแผนงานใดที่ถูกประกาศออกไปว่าจะขึ้นเป็นฮับแล้วนั้น ก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ซึ่งหลายส่วนงานพอที่จะไว้ใจได้ แต่หลายส่วนงานก็ต้องเอาใจช่วยให้เกิดได้จริงและเกิดได้อย่างรวดเร็ว เพราะสุดท้ายแล้วผลประโยชน์ที่สำคัญก็จะตกอยู่กับประเทศ และกระจายมายังประชาชนได้

ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานเดินหน้าให้การเป็นฮับของไทยนั้นเกิดขึ้นได้จริง ตามความสามารถและความถนัดของหน่วยงานนั้น ๆ มาแล้วมากมาย และอีกหนึ่งแผนงานที่น่าสนใจและน่าจับตามองก็คือแผนที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็น 'ฮับผลิตเอทานอล' โดย นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้นำเสนอแนวทางขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในหัวข้อ Thailand Ethanol Hub เพื่อสนับสนุนนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งน้ำมันอากาศยานยั่งยืน (SAF) ไบโอเอทิลีน สำหรับไบโอพลาสติก ตลอดจนอุตสาหกรรมสมุนไพรสกัด อุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง และผลิดภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น

เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยมีแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศสู่ธุรกิจ BCG และมีการนำแนวทาง ESG มาใช้เพื่อความยั่งยืน โดย ส.อ.ท. ซึ่งเป็นตัวแทนของภาคเอกชน มีการนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลไปยังภาครัฐแล้ว ดังนี้ 1. ปรับเปลี่ยนและเพิ่มวัตถุดิบทางเลือกในการผลิตเอทานอล เพื่อลดต้นทุน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร

  1. เปิดเสรีเอทานอลบริสุทธิ์ เพื่อเปิดโอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มของเอทานอล สินค้าและอุตสาหกรรมมูลค่าสูงในประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจBCG 3. ลดการส่งออกสินค้า commodities ผลิตสินค้ามูลค่าสูง และช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอน นำพาประเทศไปถึงเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero และ 4. ส่งเสริมการใช้ E20 เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐาน ในแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan 2567 - 2580)

ด้านนานเสกสรรค์ พรหมนิช ประธานคณะทำงานย่อยพัฒนาอุตสาหกรรมเอทานอลด้านเชื้อเพลิงเอทานอล ได้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการเปิดเสรีเอทานอล เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาตามห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมเอทานอลไทย และยังเป็นการส่งเสริมวัตถุดิบจากเกษตรกรไทย ซึ่งเอทานอลสามารถนำไปต่อยอด และนำไปประยุกต์กับให้กับอุตสาหกรรมต่างๆนอกจากนี้เอทานอลสามารถนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงต่างๆ เช่น เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) ซึ่งส.อ.ท. อยู่ระหว่างการศึกษาและดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ผ่านการรับรองจาก ICAO สำหรับนำไปผลิตเป็น SAF

น้ำมัน E20 โดยจะส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ฉบับใหม่ โดยจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศดังนี้ 1.เพิ่ม การใช้เชื้อเพลิงเอทานอลเป็น 6.2 ล้านลิตร/วัน หรือ 2,270 ล้านลิตร/ปี 2.ลด การใช้น้ำมันเบนซิน 1,475 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่า 33,940 ล้านบาท/ปี 3.ลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.58 mtCO2eq สนับสนุนความเป็นกลางทางคาร์บอน 4.ลด การปล่อยมลพิษจากท่อไอเสียทั้ง PM2.5 CO VOCs HCs และ Benzene 5.สนับสนุน เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังกว่า 1 ล้านครัวเรือน และ 6.เพิ่มมูลค่า อ้อยและมันสำปะหลัง เศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศกว่า 174,000 ล้านบาท

เอทานอลในปัจจุบัน นอกเหนือจากการนำไปเป็นพลังงานแล้ว สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอื่นได้หลายสาขา ซึ่งความต้องการใช้เอทานอลของภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 76.37 ล้านลิตรต่อปี เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตยา ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ และใช้ชะล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค การเดินหน้าแผนฮับเอทานอลนี้ จะสามารถสนับสนุนและตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการของไทย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งแก้ “แต่ไร้ผล”

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นประเด็นที่พูดถึงกันมานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ที่เมื่อความกดอากาศสูง มีกำลังอ่อนลง และเมื่อลมสงบ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมีฝาครอบ

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี