ลดโลกร้อนมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

ปัญหาโลกร้อนที่ส่งผลให้สภาพภูมิอากาศโลกแปรปรวนนั้นทำให้ทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญ จึงเป็นที่มาของความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ หรือ UNFCCC ครั้งที่ 21 ณ กรุงปารีส (ความตกลงปารีส) ที่มีสมาชิกมากกว่า 189 ประเทศทั่วโลกร่วมกันขับเคลื่อน

โดยที่ไทยมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกลง 20-25% ภายในปี ค.ศ.2030 หรือปี พ.ศ.2573 ใน 3 สาขาหลักคือ สาขาพลังงานและการขนส่ง สาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และสาขาการจัดการของเสีย

ซึ่งการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงบทบาทการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบของประเทศไทยและประชาชนในประเทศในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมโลก

ขณะเดียวกันการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีสะอาด จะส่งผลประโยชน์ร่วม (co-benefit) ทั้งในแง่ของคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมของประเทศที่จะมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในส่วนของภาครัฐก็สนองรับกับนโยบายดังกล่าว ซึ่ง อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือ คพ. ระบุว่า คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.ได้เห็นชอบโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 ให้เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 4 ชนิด ภายในปี 2565 เพื่อใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน, กล่องโฟมบรรจุอาหาร, แก้วพลาสติก ความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน และหลอดพลาสติก รวมทั้งส่งเสริมให้มีการนำพลาสติกกลับมารีไซเคิล ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว, บรรจุภัณฑ์ฟิล์มพลาสติกชั้นเดียว, ขวดพลาสติก (ทุกชนิด), ฝาขวด, แก้วพลาสติก, ถาด/กล่องอาหาร และช้อน/ส้อม/มีด กลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

อย่างไรก็ตาม อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกล่าวว่า ในปี 2565 เป้าสำคัญคือการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งกำจัดต้องลงอย่างน้อย 30% จำนวนถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบางและแก้พลาสติกใช้ครั้งเดียวลดลง 100% และไม่มีการใช้โฟมบรรจุอาหารในหน่วยงาน ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนั้นทำให้ลดการสูญเสียทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ไฟฟ้า พลังงาน น้ำ และลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด การคัดแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์จะยิ่งเกิดผลดี เกิดความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรและยิ่งลดภาระในการนำขยะกำจัด

ส่วนภาคเอกชนก็ไม่น้อยหน้า ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน อย่างเช่น กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) ที่มุ่งดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดหาวัตถุดิบทางเลือกเพื่อลดปริมาณการใช้ทรัพยากรจากน้ำมันดิบ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร่วมกับลูกค้าและพันธมิตร เพื่อเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบเดิมที่ใช้แล้วทิ้งไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ช่วยให้สามารถนำพลาสติกใช้แล้ววนกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตได้อย่างไม่รู้จบ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด จนส่งผลให้โรงงานโพลีเอทิลีนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และโรงงานโพลีเอทิลีนชนิดยืดหยุ่นพิเศษ ในนิคมอุตสาหกรรมเอเซีย จังหวัดระยอง ของกลุ่มบริษัท ดาว ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความยั่งยืนและการลดคาร์บอนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล “ISCC PLUS” จาก International Sustainability and Carbon Certification (ISCC)

เช่นเดียวกับยักษ์ใหญ่ CPF หรือ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ประกาศยกเลิกใช้ถ่านหินในปี 2565 สำหรับกิจการในประเทศไทย ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 70,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี เดินหน้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์ มุ่งใช้เชื้อเพลิงสะอาด ทั้งจากพลังงานชีวมวล พลังงานชีวภาพ ในกระบวนการผลิต พร้อมตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย ร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม สร้างฐานการผลิตอาหารมั่นคงและการบริโภคอย่างยั่งยืน       

การตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ น้ำ และของเสีย คือสิ่งสำคัญที่สุดต้องเร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ลุล่วงไปให้ได้ ดังนั้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญ.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี