เปิดแผนรองรับรถไฟจีน-ลาว

ยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงสำหรับกรณีการเปิดให้บริการรถไฟลาว-จีน เชื่อมต่อระหว่างคุนหมิงกับเวียงจันทน์ เนื่องจากมีหลายฝ่ายเป็นกังวลว่าไทยจะเสียประโยชน์จากการขนส่งสินค้าจากการเปิดให้บริการรถไฟฯ ของประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังรวมถึงฝ่ายค้าน โดยนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ได้มีการตั้งกระทู้ถาม เรื่อง แผนการพัฒนาเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-ลาวในครั้งนี้

แน่นอนว่า การดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มีการชี้แจงโดยหยิบยกข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ปัจจุบันประเทศจีนคือตลาดนำเข้า-ส่งออกที่สำคัญของไทยเป็นลำดับที่ 2 รองจากประเทศสหรัฐอเมริกา การค้าระหว่างไทย-จีนส่วนใหญ่นำเข้า-ส่งออกทางทะเล ผ่านท่าเรือแหลมฉบังกว่า 90% ส่วนอีก 10% เป็นการขนส่งทางถนนผ่านประเทศลาว

ทั้งนี้มูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2562 จำนวน 2.48 ล้านล้านบาท เป็นกว่า 3 ล้านล้านบาทในปี 2564 และมีแนวโน้มขาดดุลการค้าเป็นจำนวน 8.54 แสนล้านบาท

ขณะที่ จากสถิติของกรมศุลกากรระหว่างปี พ.ศ.2555-2563 ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มูลค่าการค้าไทย-จีน ณ ด่านชายแดนของไทย มีมูลค่าการค้านำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2555-2563 (9 ปีที่ผ่านมา) มูลค่าการส่งออกคงตัวและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า ในส่วนของมูลค่าการนำเข้าก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน

ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางรถไฟผ่านแดนหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อรถไฟจีน-ลาวเปิดให้บริการแล้ว หากพิจารณาความสามารถสูงสุดในการขนส่งสินค้าของรถไฟในเส้นทางดังกล่าวผ่านมายังด่านศุลกากรหนองคายของประเทศไทย ซึ่งสามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้สูงสุด 728 ตู้ต่อวัน คาดว่าจะมีตู้สินค้าเข้ามายังประเทศไทยผ่านด่านศุลกากรหนองคายเพิ่มขึ้นประมาณ 50% ของปริมาณที่จะสามารถขนส่งได้ทั้งหมด โดยคาดว่าเพิ่มขึ้น 364 ตู้ต่อวัน

แน่นอนว่า หากมีการเปิดให้บริการรถไฟระหว่างจีน-ลาว อาจทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น โดยผู้ประกอบการสามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟไปจนถึงจีนได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องมีการขนถ่ายสินค้าทางรถนำมาลงเรือที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และเมื่อไปถึงท่าเรือปลายทางก็จะต้องขนถ่ายสินค้าขึ้นรถเพื่อนำสินค้าไปส่งยังผู้รับสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกหรือต้นทุนในการขนส่งสินค้าลดลงได้

ส่วนข้อตกลงระหว่างประเทศ ปัจจุบัน บริเวณชายแดนไทย-ลาว ได้กำหนดให้มีศูนย์เปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศทางรางนั้น จากบันทึกความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว-จีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 25 เม.ย.2562 ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวตกลงที่จะให้มีพิธีการศุลกากร และสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งในบริเวณชายแดนของฝั่งไทยและฝั่งลาว ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรบริเวณชายแดน และตกลงกันว่าการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์

ทั้งนี้ จะแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 จะพิจารณาให้มีการจัดตั้งสถานีท่าและสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้าทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาวมายังโครงข่ายรถไฟขนาดทาง 1 เมตรที่มีอยู่ของประเทศไทย และ 2 โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะเชื่อมต่อกับสถานีดังกล่าว เพื่อเชื่อมต่อโครงการรถไฟจีน-ลาว และโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนต่อไป

ขณะที่ การเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการเดินทางข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์นั้น ได้แบ่งแนวทางการจัดขบวนรถไฟรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมต่อไปยังลาวที่สถานีเวียงจันทน์ ด้านการเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ มีแนวทางการบูรณาการเชื่อมต่อรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ ซึ่งในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยการบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานให้มีความเหมาะสม

คงต้องบอกว่ามาตรการรองรับต่างๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยกระทรวงคมนาคมได้ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องของจังหวัดหนองคาย เร่งทดลองขบวนรถไฟขนส่งสินค้าความยาว 25 แคร่ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากท่าเรือแหลมฉบังมายังสถานีหนองคาย และต่อขยายถึงที่ลานตู้สินค้าที่ท่านาแล้ง สปป.ลาว ได้โดยตรง รองรับการลงทุนในอนาคต ขณะที่การพัฒนาระบบรถไฟเชื่อมต่อระหว่างไทย-ลาว-จีน ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา.

กัลยา ยืนยง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดินให้สุดทำอย่างจริงจัง

ปัจจุบันพบปัญหาถังก๊าซหุงต้มในท้องตลาดเสื่อมสภาพและหมดอายุตกค้างอยู่ในระบบจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการลักลอบนำถังก๊าซหุงต้มมาเติมในสถานีบริการ LPG เป็นระยะ ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว

ดันสงกรานต์ไทยสู่เทศกาลโลก

หลังจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงมหาดไทย จับมือจัดงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567”

เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก

ก๊าซหุงต้ม หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือก๊าซ LPG ด้วยคุณสมบัติพิเศษของมันก็คือ การที่มีสารโพรเพนและบิวเทนอยู่ในตัว ซึ่งสารสองนี้เป็นสารที่ติดไฟง่าย

เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย

ในช่วงที่ผ่านมาได้มีผลการวิจัยของมินเทล (Mintel) พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้นในการหาแรงบันดาลใจด้านการท่องเที่ยว และแบ่งปันประสบการณ์ท่องเที่ยวของตนเอง

วิกฤตเลวร้ายกว่าต้มยำกุ้ง?

ตกเป็นประเด็นอีกครั้ง สำหรับเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจของไทย เพราะล่าสุด 'ทักษิณ ชินวัตร' อดีตนายกรัฐมนตรีได้มาพูดย้ำว่า ประเทศไทยตอนนี้มันยากกว่าสมัยช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะมีความซับซ้อนและยากมากกว่า และมองว่าการแก้ไขมันต้องมีการเปลี่ยน เพราะโลกมันเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม

จับชีพจร“ท่องเที่ยวไทย”เริ่มฟื้นตัว

“ท่องเที่ยว” ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนและกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักๆ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศตลอดช่วงที่ผ่านมา