แพงเพราะต้นทุนเพิ่มหรือกักตุน

ช่วง 2 ปีที่มีโควิด-19 ระบาด และความไม่แน่นอนที่รออยู่ข้างหน้า ทำให้รายได้สุทธิของประชากรในประเทศเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมทั้งการฟื้นตัวของตลาดแต่ละภาคธุรกิจจะเกิดขึ้นไม่เท่ากัน และจะปรับตัวในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัวเพื่อรองรับวิกฤตที่เกิดขึ้น มาในปี 2565 นี้ การเกิดโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน ได้สร้างความหวาดวิตกให้กับผู้ประกอบการอสังหาฯ เช่นกัน

ซึ่ง รุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ กรรมการผู้จัดการซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ปี 2565 เป็นอีกหนึ่งปีที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ต้องปรับตัวและเคลื่อนไหวในเชิงรุกมากขึ้น

และเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ ลูกค้ามีการคัดเลือกอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น รวมถึงมีความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้นด้วย ในขณะที่นักลงทุนและผู้พัฒนาโครงการจะต้องเผชิญความท้าทายในการนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมเข้ามาสู่ตลาดที่มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องรับรู้ถึงแนวโน้มใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น เพื่อปรับกลยุทธ์และดำเนินการให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง

เช่นเดียวกับธุรกิจเกี่ยวเนื่องอย่างธุรกิจรับสร้างบ้านก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่ง ถิรพร สุวรรณสุต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท พีดี เฮ้าส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ ได้คาดการณ์ภาพรวมธุรกิจรับสร้างบ้านปี 2565 มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น 5-7% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่ก็มีตัวแปรสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัว หรือฉุดรั้งกำลังซื้อผู้บริโภคให้ชะลอตัวลง ก็คือ ความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างที่มีการปรับตัวสูงขึ้น

โดยเมื่อช่วงไตรมาส 3 ปีก่อน เหล็กโครงสร้างและเหล็กรูปพรรณราคาปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30% และมาปีนี้ราคาก็ยังไม่นิ่ง หรือขยับสูงขึ้นอยู่เรื่อยๆ ในขณะที่วัสดุก่อสร้างหลักๆ ก็มีการปรับราคาสูงขึ้นตามกัน เฉลี่ย 3-5% จากความไม่แน่นอนดังกล่าวทำให้ในปีที่ผ่านมานั้น บริษัทมีนโยบายตรึงราคาขายบ้านและแบกรับต้นทุนบางส่วนไว้เอง เหตุก็เพราะกำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัวและธุรกิจรับสร้างบ้านมีการแข่งขันกันสูงมาก รวมทั้งเพื่อมิให้เป็นภาระและกระทบต่อกำลังซื้อผู้บริโภคมากนัก

แต่ล่าสุด ผู้ผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเกือบทุกชนิดมีการแจ้งปรับราคาขายใหม่ปี 2565 เพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 5-15% ส่งผลให้บริษัทต้องทบทวนนโยบายเพราะไม่อาจแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นต่อไปไหว และเตรียมปรับราคาขายบ้านครั้งแรกของปี 2565 นี้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 2-5% โดยยอมรับว่าการปรับราคาบ้านในช่วงนี้ย่อมกระทบต่อผู้บริโภคที่กำลังวางแผนจะสร้างบ้านกับบริษัทพอสมควร แต่ก็เชื่อว่าผู้บริโภคคงจะเข้าใจถึงที่มาและเหตุผลของการปรับ อย่างไรก็ดีบริษัทยังมีความกังวลว่าราคาวัสดุฯ จะมีความผันผวนหรือปรับตัวสูงขึ้นในช่วงกลางปีนี้ หากจำเป็นก็อาจจะต้องมีการปรับราคาบ้านอีกครั้งด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ดูแล้วช่วงนี้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระของสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ปรับเพิ่มสูงมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งบางช่วงน่าจะแตะ 250 บาทต่อกิโลกรัม เช่นเดียวกับราคาไข่ไก่ และผักบางชนิดก็ฉวยโอกาสปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน แม้ว่ากระทรวงพาณิชย์จะเข้มงวดออกตรวจตราว่าใครที่ฉวยโอกาสในช่วงนี้ ก็จะลงโทษตามกฎหมาย

แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีขายอยู่ในขณะนี้ได้เตรียมจะปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มเช่นกัน เมื่อเป็นแบบนี้แล้วจะแพงทั้งแผ่นดินหรือไม่ ก็ต้องลุ้นกันว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาแพงทั้งแผ่นดินได้อย่างไร โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ต้องล่าและเอาผิดแก๊งที่กระทำผิดและกักตุนไว้ และการทำต้องรวดเร็ว ฉับไว ปัญหาที่มีอยู่ก็จะเริ่มคลี่คลายลง แม้จะกำจัดไม่ได้ทั้งหมดแต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไร ปล่อยไว้ให้ชาวบ้านรับกรรมกันไป.

บุญช่วย  ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี