เมืองอุตสาหกรรมสีเขียว

โลกปัจจุบันกำลังมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว ยังมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก (climate change) ที่เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล ที่ต้องดูแลผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในทุกมิติ ทั้งในด้านการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจแห่งอนาคตที่มุ่งสู่การบริหารจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน หรือ Sustainability แต่อาจไม่มีความหมายอะไรเลยหากไม่ลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และจริงจังด้วย เพราะมิติต่างๆ บนโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อโลกกำลังประสบปัญหาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ที่อาจจะส่งผลต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น ความยั่งยืนจึงกลายเป็นแนวทางการบริหารของทุกประเทศทั่วโลก ที่ยังคงต้องมุ่งตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในปัจจุบัน อย่าง บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน หรือ AMATA ดำเนินงานโดยมีหลักคิดในการคำนึงถึงผลกระทบในทุกๆ มิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง

ซึ่ง วิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด AMATA ระบุว่า การดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน เป็นอีกเป้าหมายสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิต ที่ทำให้อมตะฯ ก้าวสู่ระดับเวิลด์คลาส หรือการเดินตามแผนการพัฒนาความยั่งยืนควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) โดยการดำเนินโครงการฯ เป็นความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ซึ่งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีความตื่นตัวในการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง และมองเห็นคุณค่าของน้ำเสียว่าสามารถนำมาบำบัดหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ทดแทนแหล่งน้ำจากธรรมชาติหรือน้ำประปา และการอยู่ร่วมกันกับชุมชนรอบนิคมฯ โดยมีแนวทางและแผนการบริหารจัดการน้ำที่มีความต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม อมตะฯ ได้ร่วมกับบริษัทในเครือและเอกชน รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี ภายใต้การดำเนิน โครงการ “พัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน” ระยะที่ 2 โดยขยายพื้นที่การพัฒนาโครงการบริหารจัดการน้ำเสีย ขยะ คลองสาธารณะในชุมชนพื้นที่รอบนิคมฯ อมตะซิตี้ ชลบุรี เพื่อใช้เป็นต้นแบบแหล่งเรียนรู้ก่อนถ่ายทอดสู่ชุมชนอื่นๆ รอบนิคมฯ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานโครงการต่อเนื่องครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ระยะ เพื่อขยายขอบเขตการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งระบบ ครบทุกพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้แก่ ระยะที่ 1 เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2561-2563 ในพื้นที่คลองรับน้ำ-คลองตำหรุ ของเทศบาลตำบลหนองไม้แดง เป็นพื้นที่กลางน้ำซึ่งเชื่อมต่อนิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบันชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำและขยะในพื้นที่ได้ดีขึ้นประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพึงพอใจในช่วงที่ผ่านมา

ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างการดำเนินงานโดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2565-2566 โดยได้คัดเลือกพื้นที่คลองรับน้ำ-คลองหัวทองหลางซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลคลองตำหรุ เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับโครงการระยะที่ 1 เป็นพื้นที่ปลายน้ำก่อนไหลลงสู่ทะเล ปัจจุบันขาดการบำรุงรักษาส่งผลให้เกิดน้ำเน่าเสียสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง และระยะที่ 3 อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลเพื่อการศึกษาซึ่งคาดว่าจะดำเนินการในพื้นที่ต้นน้ำ ได้แก่ พื้นที่ตำบลพานทอง-หนองกะขะ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในแผนการสร้างชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาชุมชนด้านการจัดการน้ำและขยะอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายปฏิบัติการร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์ของอมตะฯ สู่ชุมชน โดยนำหลักการบริหารจัดการน้ำ ตามหลัก 3Rs การลดการใช้ (Reduce), การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse), การนำมากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ฯลฯ มาเป็นแนวทางในดำเนินโครงการ ตามภารกิจของอมตะฯ ที่มุ่งมั่นจะรักษาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม ความยั่งยืนและการยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมนั้น จะประสบความสำเร็จได้ก็ต้องขึ้นกับความร่วมมือและจิตสำนึกของทุกภาคส่วนว่าจะมีมากน้อยเพียงใด ความรับผิดชอบและสามัญสำนึกของแต่ละคนว่าจะมีกันแค่ไหน จะมีกันแค่ตามกระแสแบบโลกสวย หรือจะทำกันอย่างยั่งยืน.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี