ของแพง-เงินเฟ้อไม่จบ

แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนหลังช่วงปีใหม่จะไม่ได้ส่งผลให้เกิดการยกระดับมาตรการคุมเข้มการระบาด และก็มีปัจจัยลบเข้ามาซ้ำเติมอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) ได้ระบุว่า ประเทศไทยต้องเผชิญกับ 3 วิกฤตแทรกซ้อน เริ่มจากการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ยังไม่จบ ทำให้เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวได้อย่างที่คาดไว้

ต่อมาก็คือ เงินเฟ้อ ซึ่งการขาดแคลนเรือและตู้คอนเทนเนอร์ ค่าระวางเรือสูง แฝงอยู่ในต้นทุนสินค้า ทำให้วัตถุดิบที่ไทยต้องนำเข้าเพื่อมาผลิต

อย่าง เหล็กมีต้นทุนสูงขึ้น ทำให้ไทยเผชิญปัญหาของแพงและเงินเฟ้อจากต้นทุนแฝงต่างๆ ขณะที่คนไทยไม่มีกำลังซื้อ ดังนั้นปัญหานี้จึงแก้ยากเพราะต่างจากเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการซื้อที่สูงขึ้น

และวิกฤตที่สำคัญคือ น้ำมันแพง ซึ่งราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลต่อภาคการขนส่งและการเกษตร รวมไปถึงราคาอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อหมูที่พุ่งขึ้นไปทะลุ 200 บาทต่อกิโลกรัม

ปัจจัยเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง กดกำลังซื้อของภาคครัวเรือน และภาคเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า จากการสำรวจพบว่าสถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของครัวเรือนทั้งในปัจจุบันที่สะท้อนผ่านการนำเงินออมออกมาใช้ และในระยะข้างหน้าที่จะมีการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง

ซึ่งราคาสินค้ายังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง หรืออย่างน้อยจนถึงสิ้นไตรมาสแรกของปี มีปัจจัยลบมาจากราคาพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นต้นทุนทางอ้อมของราคาสินค้าผ่านต้นทุนค่าขนส่ง/การผลิต และทางตรงที่ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนผ่านค่าโดยสาร รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันต่างๆ

ขณะที่ ภาพรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จะยังไม่สามารถกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้ ดังนั้นมาตรการช่วยเหลือเยียวยาและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจากภาครัฐยังมีความจำเป็นต่อเนื่อง ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังมีความเปราะบางสูง

ดังนั้น สถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นจึงเหมือนเข้ามาซ้ำเติมกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่เดิมมีความเปราะบางอยู่แล้วให้ยิ่งแย่ลงไปอีก แม้ว่าล่าสุดภาครัฐจะมีมาตรการบางส่วนออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น การขยายเวลาตรึงราคาแก๊สหุงต้ม (LPG) จากเดิมที่จะสิ้นสุด 15 ม.ค.2565 รวมถึงเลื่อนเวลาการใช้มาตรการคนละครึ่งเฟส 4 เข้ามาเร็วขึ้นในเดือน ก.พ.2565

ต้องยอมรับว่ามาตรการต่างๆ สามารถเข้ามาประคับประคองได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากราคาสินค้าปรับขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และในอนาคตราคาสินค้าก็ยังอยู่ในระดับสูง จึงยังเป็นปัจจัยกดดันภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนต่อเนื่องไปอีกสักระยะ หรือจนกว่าราคาพลังงานในตลาดโลกจะเริ่มปรับเข้าสู่จุดสมดุล

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา มีการเปิดรับนักท่องเที่ยวในระบบ Test & Go อีกครั้ง รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ทยอยกลับมาฟื้นตัว ซึ่งจะช่วยให้ฝั่งรายได้ของครัวเรือนกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นได้บางส่วน ประกอบกับภาครัฐควรมีมาตรการบรรเทาค่าครองชีพอย่างตรงจุด

ดังนั้น โดยรวมแล้วดัชนีภาวะเศรษฐกิจการครองชีพของครัวเรือนไทยในระดับปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าลดลงต่อเนื่อง ราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูงยังคงกดดันภาคครัวเรือน เงินเฟ้อและข้าวของที่ราคาแพง ก็ยังคงแพงต่อไป และคงเป็นโจทย์ใหญ่ของรัฐบาลที่กำลังเผชิญทั้งศึกในศึกนอก ปากท้องของชาวบ้านก็ต้องแก้ การเมืองที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านขย่มรัฐบาลอย่างไม่สนใจฟ้าฝนปากท้องชาวบ้านจะเป็นอย่างไร มุ่งอย่างเดียวต้องชนะ.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี