โอกาสและความท้าทาย

อีอีซี หรือ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นความหวังใหม่ของไทยในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและดึงดูดนักลงทุน แต่การระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีนี้ทำให้ภาครัฐต้องมีการปรับแผนเพื่อดึงดูดการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการลงทุนในปี 2564 ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่เข้ามาทำงานในอีอีซี จากอัตราก้าวหน้า สูงสุด 35% ให้เหลือในอัตราไม่เกิน 17% ของเงินได้พึงประเมิน รวมทั้งจะมีการต่ออายุมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่หมดอายุในปลายปี 2564

มาตรการจูงใจดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยสนับสนุนการเติบโตของการลงทุนและพัฒนาเทคโนโลยีในอีอีซี ซึ่งปี 2563 ได้พัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G ในอีอีซีลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี 5G

เริ่มเพิ่มการลงทุนต่อเนื่องได้แก่ ธุรกิจการแพทย์ (Medical Hub) ธุรกิจโลจิสติกส์ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวกับออร์โตเมชั่นและอากาศยาน จะเห็นว่าตั้งแต่ปี 2561-2564 อีอีซีดึงเงินลงทุนแล้ว 1.7 ล้านล้านบาท

และในปี 2565 อีอีซีมีเป้าหมายที่จะเร่งสร้างเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง ขับเคลื่อนแผนลงทุนระยะ 2 อีอีซี (ปี 2565-2569) ตั้งเป้าเกิดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท รวมถึงเร่งผลักดันโครงสร้างพื้นฐานหลัก 4 บิ๊กโปรเจ็กต์ อย่างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้าการก่อสร้างและส่งมอบพื้นที่โครงการต่อเนื่อง

ล่าสุดได้มีการจัดตั้งบริษัท อีอีซี พัฒนาสินทรัพย์สนามบิน จำกัด หรือ EAD ที่มี สกพอ.ถือหุ้น 100% มีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรมการบินภาคตะวันออก (ATZ) และสนามบินอู่ตะเภา เพื่อให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เทียบเท่าสิงคโปร์ ดูไบ และฮ่องกง และยกระดับเป็นสนามบินระดับโลกและเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง คณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ได้รับทราบการดำเนินงานของคณะกรรมการกำกับดูแลสัญญา โดยเรื่องยังไม่ได้ส่งมาที่อีอีซีแต่อย่างใด มีสาระหลักได้แก่ 1.กระทรวงคมนาคมให้เอกชนสร้างส่วนทับซ้อนงานโยธาของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขสัญญาโดยไม่เป็นภาระทางการเงินของภาครัฐ

2.การบรรเทาผลกระทบโควิด-19 อย่างเหมาะสมให้กับเอกชน ซึ่งแม้ขณะนี้จำนวนผู้โดยสารจะเริ่มกลับมา แต่ยังห่างจากประมาณการตามการศึกษาที่ 80,000 คนต่อวัน โดยการแก้ไขสัญญาจะให้ความสำคัญกับการปรับระยะเวลาค่าสิทธิ์เป็นสำคัญ โดยเร่งรัดดำเนินการเจรจาในข้อเสนอเพิ่มเติมของเอกชนคู่สัญญาให้ได้ข้อยุติโดยเร็วก่อนดำเนินการ โดยภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และเป็นธรรมต่อภาคเอกชน บนพื้นฐานความเป็นหุ้นส่วนในโครงการร่วมกัน

3.การส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาแล้ว 3,493 ไร่ หรือได้เกือบครบทั้งหมด 100% แล้ว เหลือพื้นที่ส่งมอบเพียง 20 ไร่ หรือประมาณ 0.57% ที่เจ้าของพื้นที่เดิมยังหาที่อยู่ใหม่ไม่ได้ รฟท.จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.2565

นอกจากนี้ โครงการธีมพาร์คและสวนน้ำ "โคลัมเบีย พิคเจอร์ส อควาเวิร์ส" แห่งแรกของโลก ซึ่งเป็นการลงทุนจากบริษัท โซนี่พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ผู้ผลิตภาพยนตร์ระดับโลก ที่จะเป็นเมืองสวนสนุก เครื่องเล่นอัจฉริยะมาตรฐานโลก สามารถเปิดระยะที่ 1 ได้ในวันที่ 8 เม.ย.2565 และโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EFC) ได้ขยายความจุห้องเย็น จากเดิม 4,000 ตัน เป็น 10,000 ตัน คาดว่าการดำเนินงานทั้งหมดจะแล้วเสร็จและสามารถเปิดได้ภายในปี 2566

ขณะที่ โครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จ 100% เตรียมเปิดอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย.2565 เพื่อรองรับการประชุมผู้นำเอเปก

ดังนั้น แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 จะทำให้การใช้ชีวิตและการทำธุกิจเปลี่ยนไป หันมาพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่ทุกอย่างเต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย ซึ่งเชื่อว่าด้วยมาตรการจูงใจที่ภาครัฐได้นำออกมาใช้ขณะนี้น่าจะสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย แต่สิ่งสำคัญ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือร่วมใจกันสร้างบรรยากาศในการลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง มือไม่พายก็อย่าเอาเท้าราน้ำกันเลย.

บุญช่วย ค้ายาดี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับตาบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ช่วงนี้หลายคนกำลังสงสัยว่าเพราะเหตุใดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าเอา อ่อนค่าเอา ตอนนี้ราคาหลุดทะลุ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐไปแล้ว แม้จะมีการแกว่งตัวแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า

Digital Walletกระตุ้นค้าปลีกไม่แรง

“โครงการ Digital Wallet” เรียกว่ามีความชัดเจนจากฝั่งรัฐบาลพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไขทั้งในส่วนของประชาชนและร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ รวมไปถึงแหล่งเงินที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความชัดเจนในส่วนนี้ก็ยังมีการตั้งคำถาม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเร่งหาวิธีการเพื่อพิสูจน์ความชัดเจน และเดินหน้าโครงการตามขั้นตอนและวิธีการภายใต้กรอบของกฎหมายที่ได้ยืนยันมาโดยตลอด

อัปเกรดอุตฯเหล็กรับมาตรการCBAM

การเดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) นั้น ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวอย่างมากของกลุ่มผู้ผลิต

เร่งกระตุ้นอสังหาฯ

อสังหาริมทรัพย์เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่มีห่วงโซ่ยาว ตั้งแต่ภาคการผลิตต่างๆ เช่น เหล็ก ซีเมนต์ การท่องเที่ยว ตลอดจนการเงิน หากภาพรวมอสังหาฯ ดีย่อมส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมใกล้เคียง แต่หากลบก็กระทบธุรกิจอื่นๆ ได้เช่นกัน แม้ว่าจะมีปัจจัยบวกที่ผลักดันให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ และภาวะหนี้ครัวเรือนที่บั่นทอนกำลังซื้อในประเทศ ส่งผลกับภาคอสังหาฯ อย่างเห็นได้ชัด

'หนี้ครัวเรือน'แนวโน้มชะลอแต่สัดส่วนยังสูง

“หนี้ครัวเรือน” เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายจับตา โดยจากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ที่ระบุว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทย ไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท

เศรษฐกิจไทยจะไปทางไหนต่อ

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเวลานี้เหมือนคนป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาการแค่ดีขึ้นเล็กน้อย แต่รักษายังไม่หายขาด ส่งผลให้การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ยังคงติดๆ ขัดๆ นับตั้งแต่ผ่านพ้นจากวิกฤตโควิดมากว่า 2 ปี