'หมอจุฬาฯ' ชี้ยอดสังเวยโควิดไทยนับจริงมากกว่ารายงานแน่!

'นพ.ธีระ' ชี้ยอดสังเวยโควิดไทยแม้นับแบบอนุรักษ์นิยมยอดเฉลี่ย 7 วันต่อประชากรล้านคนนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก เอเชีย และกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง แต่หากนับจริงมากกว่าที่รายงานแต่ละวันแน่

24 ส.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 635,627 คน ตายเพิ่ม 1,616 คน รวมแล้วติดไป 602,128,018 คน เสียชีวิตรวม 6,475,624 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อิตาลี และรัสเซีย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.11 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 62.19

...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 15 ของโลก และอันดับ 5 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

...ข่าวดีเกี่ยวกับวัคซีนในวัยรุ่นของสหรัฐอเมริกา
ล่าสุดเมื่อวานนี้ทาง US CDC ได้อนุมัติให้สามารถใช้วัคซีน Novavax ในเด็กวัยรุ่น อายุ 12-17 ปีได้แล้ว
ถือเป็นวัคซีนตัวล่าสุดที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในเด็กวัยรุ่นได้ ต่อจาก Pfizer/Biontech และ Moderna
Novavax เป็นวัคซีนประเภท Protein subunit ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายกับวัคซีนโรคอื่นๆ ที่เราใช้ในปัจจุบัน เช่น วัคซีนตับอักเสบบี

...ย้ำเตือนอีกครั้งว่า สถานการณ์ปัจจุบันของไทยนั้น แม้จะมีการรายงานตัวเลขเสียชีวิตเฉพาะคนที่ไม่มีโรคร่วม ก็พบว่าจำนวนเสียชีวิตเฉลี่ยรอบ 7 วัน ต่อประชากรล้านคนนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ของเอเชีย และของกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง มาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ การเสียชีวิตจริงย่อมมากกว่าที่รายงานในแต่ละวัน และสะท้อนถึงสถานการณ์ระบาดที่ยังรุนแรงการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่จำเป็น

โควิด-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา หรือไข้หวัดใหญ่ ไม่ชิลๆ แค่ติดแล้วหาย แต่ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ การฉีดวัคซีนนั้นช่วยลดโอกาสที่จะป่วยรุนแรงและเสียชีวิต แต่หากไม่ป้องกันตัวให้ดี ก็จะป่วยได้ตายได้เช่นกัน

ที่สำคัญคือ ปัญหา Long COVID ระยะยาว ซึ่งยังไม่มีวิธีรักษาจำเพาะเจาะจง และบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะการใช้ชีวิตและการทำงาน รวมถึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม แม้ติดเชื้อมาก่อน ก็ติดเชื้อซ้ำได้ หากไม่ป้องกันตัว และย่อมเสี่ยงที่จะป่วย ตาย และ Long COVID เป็นเงาตามตัว

หากติดเชื้อ ควรแยกตัวจากผู้อื่นในระยะเวลาที่เพียงพอ ยืนยันความรู้จากการวิจัยทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่า 5 วันไม่เพียงพอ แนวทางที่ควรทำคือ แยกตัวจากคนอื่น 7-10 วัน และก่อนออกไปใช้ชีวิตควรตรวจ ATK เป็นลบ และเช็คให้แน่ใจว่าไม่มีอาการป่วย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปได้มาก การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ถือเป็นหัวใจสำคัญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

4 วันอันตรายสงกรานต์! สังเวย 162 ศพ 'เมืองคอน' แชมป์อุบัติเหตุ

พลตำรวจโทกรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

แฟนคลับเศร้า 'เปี๊ยก ร็อคเคสตร้า' จากไปอย่างสงบ

วงการบันเทิงพบกับความสูญเสียอีกแล้ว เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กว่า Thanes Sukawat ได้ออกมาแจ้งข่าวเศร้า เปี๊ยก ร็อคเคสตร้า หรือ กฤษฏา ตันติเวชกุล ได้เสียชีวิตลงแล้ว

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)