23 ก.ย.นี้ 'ศบค.' ถกแนวปฏิบัติรับการถอดโควิดจากโรคติดต่ออันตราย

'สธ.' ออกประกาศ 1 ต.ค.เป็นต้นไป ยกเลิกโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ศบค. 23 ก.ย.นี้เตรียมพิจารณาแนวปฏิบัติรองรับ

21 ก.ย.2565 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ 2 ฉบับ ซึ่งได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2565 ประกอบด้วย 1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565 และ 2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับจะมีผลยกเลิกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตราย แล้วกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป

น.ส.ไตรศุลีกล่าวต่อว่า เนื้อหาของประกาศคือการยกเลิกโควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายนี้ เนื่องมากจากสถานการณ์การระบาดทั่วโลก มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง การแพร่ระบาดและความรุนแรงของโรคในต่างประเทศก็มีแนวโน้มลดลง ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ในประเทศมีเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ประชาชนได้รับวัคซีนในระดับความครอบคลุมสูง มีภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น จึงสมควรปรับมาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องกับการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ในประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า รัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 (ศบค.) ได้ติดตามและดำเนินการตามแผนงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด 19 มาเป็นระยะ ซึ่งรวมถึงการจัดทำกรอบนโยบาย แนวปฏิบัติภายหลังโควิด19 ปรับสู่การเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง แนวปฏิบัติของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน เมื่อเข้าสู่ภาวะหลังการระบาดใหญ่ (Post-pandemic) ซึ่งที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ในวันที่ 23 ก.ย.2565 นี้ จะได้พิจารณาอนุมัติแนวดำเนินการต่างๆ ซึ่งได้เตรียมไว้เพื่อไปสู่ในทางปฏิบัติต่อไป

"ภายหลังโควิด19 เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง จะมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน ทั้งด้านกฎหมาย กลไกการจัดการในภาพรวม การดำเนินการด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ และการสื่อสารให้สังคมเกิดความเข้าใจ โดยมีเป้าหมายคือประชาชนอยู่กับโควิด 19 ได้อย่างปลอดภัยและดำเนินชีวิตได้เป็นปกติซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการพิจารณาในที่ประชุม ศบค.วันที่ 23 ก.ย. นี้" น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การประกาศลดระดับโควิด19 สู่โรคติดต่อเฝ้าระวังของกระทรวงสาธารณสุข มีการผ่อนคลายทางนโยบายที่สอดคล้องกับที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2565 ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกโควิด19 ออกจากกลุ่มโรคต้องห้าม หลังจากที่ถูกกำหนดให้เป็นโรคต้องห้ามสำหรับชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าประเทศไทยตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา โดยประกาศจะมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กเงื่อนไข 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ รับเดือนละ 3 พัน

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยเงื่อนไขคุณสมบัติ 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 3 พันบาท เริ่มยื่นเรื่องได้ตั้งแต่เดือน พ.ค.

เฮ!รัฐบาลจัดเชื่อเงินด่วนให้ 'อสม.-อสส.' กู้รายละไม่เกิน 2 หมื่นบาท

รัฐบาลจัดโครงการสินเชื่อเงินด่วนคนดี ให้สมาชิก อสม. - อสส. รายละไม่เกิน 20,000 บาท ยื่นกู้ได้ ณ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มีนาคม 2568

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

ประกาศมท.ยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 เพิ่มความสะดวกนักเดินทาง กระตุ้นท่องเที่ยว

โฆษก มท. เผยราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 ณ ด่านทางบก 8 ด่าน และทางเรือสำราญ 8 ด่าน เริ่ม 15 เม.ย. – 15 ต.ค. 67 เพิ่มความสะดวกนักเดินทาง กระตุ้นท่องเที่ยวและเศรษฐกิจประเทศ