'นพ.ธีระ' ยกวิจัย 'สหรัฐ-อาร์เจนตินา' ชี้โควิดทำเด็กเสี่ยง Long COVID

'หมอธีระ' ยกผลวิจัยเมืองมะกัน-อาร์เจนตินาเตือนเรื่อง Long COVID ในเด็กและเยาวชน สหรัฐเผยเป็นสาเหตุทำให้เก็ดเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ส่วนอาร์เจนฯ ระบุ 1 ใน 3 เด็กติดเชื้อเจอภาวะลองโควิด

01 ก.พ.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 ว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 74,401 คน ตายเพิ่ม 579 คน รวมแล้วติดไป 674,963,183 คน เสียชีวิตรวม 6,760,222 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ บราซิล และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 82.84 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 56.92

...สถิติการเสียชีวิตของเด็กและเยาวชนจากโรคโควิด-19 ในอเมริกา
Flaxman S และคณะ ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ JAMA Network Open เมื่อ 30 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา โดยทำการดูสถิติการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ของเด็กและวัยรุ่น อายุ 0-19 ปี ตั้งแต่เมษายน 2563 ถึงสิงหาคม 2565 และทำการเปรียบเทียบกับสถิติการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ ในปี 2562, 2563, และ 2564

ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า โรคโควิด-19 เป็นสาเหตุทำให้เด็กและเยาวชนเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 จากทุกสาเหตุ
และจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 5 หากไม่นับรวมเรื่องการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ การถูกทำร้าย และการฆ่าตัวตาย นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคโควิด-19 เป็นสาเหตุเสียชีวิตอันดับ 1 ในกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดเชื้อหรือโรคระบบทางเดินหายใจ

ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นภาพจริง เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโควิด-19 ในเด็กและเยาวชน และตอกย้ำให้เราทุกคนเห็นถึงความสำคัญในการดูแลลูกหลาน ป้องกันการติดเชื้อ ทั้งเรื่องการฉีดวัคซีน การใส่หน้ากาก รวมถึงการช่วยกันดูแลสภาพแวดล้อมให้มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ทั้งที่บ้าน และสถานศึกษา

...Long COVID ในเด็ก ของประเทศอาร์เจนตินา
Seery V และคณะ เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสาร Internationa Journal of Infectious Diseases เมื่อวานนี้ 31 มกราคม 2566 สาระสำคัญคือ ในช่วงสองปีแรกของการระบาด พบว่ามีอัตราความชุกของภาวะ Long COVID ในเด็กที่ติดเชื้อ สูงราวหนึ่งในสาม โดยเด็กที่ติดเชื้อนั้น ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบบมีอาการหรือไม่มีอาการ ก็เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้

ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของ Long COVID ในประเทศอื่นๆ ที่เคยมีมา แม้จะเป็นการศึกษาที่ทำในกลุ่มที่ติดเชื้อก่อนช่วง Omicron ระบาดก็ตาม ก็สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาผลกระทบที่เกิดตามมาระยะยาวหลังติดเชื้อ

...สำหรับไทยเรานั้น การใช้ชีวิตประจำวันควรดำเนินไปด้วยความไม่ประมาท ระมัดระวัง ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
1. Flaxman S et al. Assessment of COVID-19 as the Underlying Cause of Death Among Children and Young People Aged 0 to 19 Years in the US. JAMA Netw Open. 30 January 2023.
2. Seery V et al. Persistent symptoms after COVID-19 in children and adolescents from Argentina. International Journal of Infectious Diseases. 31 January 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพมนตรี' เผยเหตุผู้บริหารจุฬาฯ ไม่กล้าถอดวิทยานิพนธ์-ป.เอก ของณัฐพล ใจจริง

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง จุฬาฯ ว่า

'วิรังรอง' อัปเดตข้อมูล ไล่บี้อธิการบดีจุฬาฯ เปิดผลสอบวิทยานิพนธ์ฉาว

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า อัปเดตการยื่นหนังสือร้องเรียนถึง นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ

ทวงผลสอบจุฬาฯ ปม 'ดุษฎีนิพนธ์' บิดเบือนประวัติศาสตร์กระทบสถาบัน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่นปี 2512 ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว

'วิรังรอง' ตั้งคำถามถึงอธิการบดีจุฬาฯ หลังได้อ่านความเห็นของ 'อ.เจษฎา-ธงทอง'

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์เฟซบุ๊ก โดยเขียนบทความเรื่อง "คำถามเพื่อสัมภาษณ์ท่านอธิการบดีจุฬาฯ กรณีพิพาทจุฬาฯ