'หมอยง' แนะวิธีรับมือ 'โอมิครอน' เร่งฉีดวัคซีนครบโดส-กระตุ้นเข็ม 3

แฟ้มภาพ

11 ธ.ค.2564 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กดังนี้

โควิด 19 การเตรียมรับมือกับ โอมิครอน

เป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่า โอมิครอน สามารถติดต่อได้ง่าย และทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้ ลดลง หรือพูดง่ายๆก็คือว่า ต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้น ในการต่อสู้กับ โอมิครอน ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วถึงแม้ว่าติดเชื้อ จะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย

การเตรียมรับมือกับ โอมิครอน จะต้องให้ทุกคนมีภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด ดังนั้นจะต้องให้วัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มให้กับประชากรหมู่มากให้ได้เร็วที่สุด และใครที่ได้รับ ครบ 2 เข็ม มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ควรได้รับการกระตุ้น ด้วยวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อให้ภูมิต้านทานสูงขึ้น รองรับสายพันธุ์ โอมิครอน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ขณะนี้และต่อไป วัคซีนในประเทศไทยมีจำนวนมากเพียงพอ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการที่ให้กับประชากรในกลุ่มที่ควรจะได้รับวัคซีนทุกคน และเพียงพอในการกระตุ้นเข็มที่ 3 ส่วนประชากรกลุ่มเด็ก กำลังรอวัคซีน ที่ให้องค์การอาหารและยา อนุมัติให้เร็วที่สุด เพื่อจะให้ได้ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

เมื่อคนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อหรือฉีดวัคซีน เมื่อสายพันธุ์โอมิครอน เข้ามาสู่ประเทศไทย ถึงแม้จะมีการติดเชื้อ ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ แล้วในที่สุด โรคนี้ก็จะเป็นแบบโรคทางเดินหายใจที่พบได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หมอยง : เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรหรือไม่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ “เราควรจะไปฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษ

‘หมอธีระ’ ข้องใจตัวเลขโควิด สัปดาห์ก่อนพุ่งอาทิตย์นี้ลดฮวบ ไม่ใช่เรื่องปกติ

สัปดาห์ก่อน ตัวเลขนอนรพ.พุ่งขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 78% แต่สัปดาห์ล่าสุดนี้ ลดลงฮวบฮาบจากสัปดาห์ก่อนถึง 57.7% ส่วนตัวคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ควรต้อง explore