ประมาทไม่ได้ ดร.อนันต์ เปรียบเทียบ'โอมิครอน'รุนแรงน้อยกว่า' เดลตา' แต่จะมีอัตราคนป่วยหนักมากกว่า เพราะวิ่งไวกว่า ติดง่ายกว่า

23 ธ.ค.2564 -ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยาไบโอเทค-สวทช. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เห็นด้วยกับความเห็นนี้ของ Dr. Bill Hanage (นักระบาดวิทยาของ Harvard) ครับ ความเสี่ยงจากการป่วยหนักจากโอมิครอนเทียบกับเดลต้าดูเหมือนจะน้อยกว่าเดลต้า นั่นเป็นเพราะเรามีภูมิจากวัคซีน และ การติดเชื้อมาช่วยไว้ ทำให้ตัวเลขลดลง แต่จำนวน% ของคนป่วยหนักก็ยังมีอยู่ ถ้าโอมิครอนเพิ่มจำนวนได้พอๆกับเดลต้าก็จะเป็นข่าวดีมากๆ ครับ แต่ความจริงมันไม่ใช่… สมมติ จากติดเดลต้า 10 คน ป่วยหนัก 4 คน ลดลงเหลือเพียง 1คนในโอมิครอน ถ้าติดเดลต้าวันนึง 100 คน จะมีคนป่วย 40 คน แต่โอมิครอนติดได้มากกว่าเดลต้าเป็น 500 คน คนป่วยจากโอมิครอนจะเป็น 50 คน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

พบข้อมูล ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ถ้าติดเชื้อ ฝีดาษลิง พบเสี่ยงเสียชีวิตสูงถึง 27%

อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)

ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่