เชื้อ โควิด -19 มีผลกับอาการทางระบบประสาท ทั้งแบบระยะเฉียบพลันและระยะกึ่งเฉียบพลันได้ถึง 35-85% และมีอาการคงค้างหรือภาวะ Long COVID ได้หลากหลายอาการ
18 ม.ค. 2564 “รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์” คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat” ระบุว่า 18 มกราคม 2565 ทะลุ 331 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,880,940 คน ตายเพิ่ม 4,787 คน รวมแล้วติดไปรวม 331,027,840 คน เสียชีวิตรวม 5,562,947 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา อินเดีย สเปน อาร์เจนติน่า และฝรั่งเศส
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 82.23 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 80.82
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 39.56 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 53.2
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 4 ใน 10 อันดับแรก และ 11 ใน 20 อันดับแรกของโลก
…อัพเดต COVID-19
ดูตามจำนวนเฉลี่ยของการติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์ จะเห็นว่าทวีปแอฟริกาลงไปแล้ว ทวีปยุโรป อเมริกาเหนือ และโอเชียเนียกำลังคงที่ เหลือทวีปเอเชียและอเมริกาใต้ที่ยังดูไต่ขึ้น
…Long COVID กับระบบประสาท
Nature Medicine ฉบับ 17 January 2022 ลงบทความของ Nolen LT และคณะ สรุปภาพรวมของผลกระทบของการติดเชื้อโรคโควิด-19 ต่ออาการทางระบบประสาท
พบว่าผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นจะพบว่าเกิดอาการทางระบบประสาทได้ตั้งแต่ตอนระยะเฉียบพลัน และระยะกึ่งเฉียบพลันได้ถึง 35-85%
นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาในระยะยาว มีอาการคงค้างหรือภาวะ Long COVID ได้หลากหลายอาการ
เคยมีการสำรวจกลุ่มคนอายุ 30-59 ปี ซึ่งเคยติดเชื้อโรคโควิด และประสบปัญหาด้านความคิดความจำ คนกลุ่มนี้รายงานว่ามีถึง 30% ที่ไม่สามารถทำงานที่เคยทำได้
อาการทางระบบประสาทบางอย่าง เมื่อเวลาผ่านไปก็ค่อยๆ ดีขึ้น แต่บางส่วนก็มีรายงานว่ามีลักษณะเป็นๆ หายๆ กลับซ้ำขึ้นมาเป็นระยะ
แม้แต่คนที่เคยติดเชื้อ แต่ไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็มีรายงานว่าประสบปัญหาอาการทางระบบประสาทนานไปถึง 3-9 เดือน เช่น เวียนหัวบ้านหมุน ซึมเศร้า มีปัญหาด้านความคิดและความจำ รวมถึงการดมกลิ่นและการรับรส ทั้งนี้มีคนจำนวนไม่น้อยที่อายุน้อยกว่า 65 ปี
ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดจึงจำเป็น
ไม่ติดเชื้อจะดีกว่า…
อ่านเพิ่มเติม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้