หมอเฉลิมชัย ชี้โอมิครอนระบาดเร็ว แนะขยายโรงพยาบาลสนาม - เพิ่มกักตัวที่บ้าน

Getty Images

22 ก.พ. 2565 – นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ Blockdit “ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย” เกี่ยวกับการระบาดของโควิดสายพันธุ์ “โอมิครอน”

โควิดจากไวรัสโอมิครอน ใช้เตียงหลักไปแล้ว 88% ใช้เตียงผู้ป่วยอาการหนักเพียง 14% และเตียงที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 17%
สถานการณ์โควิดระบาดระลอกใหม่ ซึ่งเกิดจากไวรัสโอมิครอน ได้ก่อผลกระทบอย่างกว้างขวางกับทุกประเทศทั่วโลก

โดยมีอัตราการติดเชื้อทั่วโลกสูงกว่าสายพันธุ์เดลต้า 4-6 เท่า จึงมีผู้ติดเชื้อขึ้นสู่พีคหรือจุดสูงสุดในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อที่มากกว่าสายพันธุ์เดลต้าหลายเท่าตัว

สหรัฐอเมริกาเคยติดเชื้อถึงวันละ 1,000,000 คน อังกฤษและฝรั่งเศสติดเชื้อวันละ 1-300,000 คน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ติดเชื้อวันละ 100,000 คน เป็นต้น

ส่วนของประเทศไทย ก็มีผู้ติดเชื้อทำสถิติสูงสุดเมื่อวานนี้ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อรวมจาก PCR+ATK 33,893 ราย ถ้านับเฉพาะผู้ติดเชื้อที่ยืนยันด้วย PCR จะอยู่ที่ตัวเลข 18,883 ราย

เปรียบเทียบกับผู้ติดเชื้อสูงสุดในระลอกที่สามจากไวรัสเดลต้า ที่จำนวน 23,418 ราย

สิ่งที่หลายฝ่ายอยากทราบและมีความเป็นห่วงกังวลคือ แม้โอมิครอนจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าไวรัสเดลต้าหลายเท่าตัว

แต่ถ้าจำนวนผู้ติดเชื้อมีมาก ก็อาจจะส่งผลกระทบถึงความสามารถของระบบสาธารณสุขไทยได้

ผู้เขียนจึงได้รวบรวมสถิติการใช้เตียงสูงสุดของผู้ติดเชื้อไวรัสเดลต้าของโรงพยาบาลในลักษณะต่างๆของระลอกที่สาม เปรียบเทียบกับระลอกที่สี่ในปัจจุบันที่เกิดจากโอมิครอน จะพบตัวเลขที่น่าสนใจดังนี้

ผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระบบการดูแลรักษา
ระลอกที่สาม 214,421 ราย
ระลอกที่สี่ 166,397 ราย
คิดเป็นร้อยละ 78


ผู้รักษาตัวในโรงพยาบาลหลัก
ระลอกที่สาม 87,150 ราย
ระลอกที่สี่ 77,071 ราย
คิดเป็นร้อยละ 88


รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลสนาม
ระลอกที่สาม 79,144 ราย
ระลอกที่สี่ 49,374 ราย
คิดเป็นร้อยละ 62


แยกกักที่บ้านหรือในชุมชน (HI/CI)
ระลอกที่สาม 80,248 ราย
ระลอกที่สี่ 38,931 ราย
คิดเป็นร้อยละ 49


ผู้ป่วยอาการหนัก
ระลอกที่สาม 5626 ราย
ระลอกที่สี่ 796 ราย
คิดเป็นร้อยละ 14


ผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจ
ระลอกที่สาม 1172 ราย
ระลอกที่สี่ 202 ราย
คิดเป็นร้อยละ 17


จะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อในปัจจุบัน (ซึ่งยังไม่ถึงจุดสูงสุด) ได้เข้ารับการดูแลในระบบสาธารณสุขไทยมากถึง 78% เมื่อเทียบกับระลอกที่แล้ว

และในโรงพยาบาลหลัก มีผู้เข้าไปรับการดูแลหรือครองเตียงมากถึงร้อยละ 88

โดยที่ส่วนใหญ่แล้ว มีอาการไม่รุนแรงมากนัก จะเห็นได้จากผู้ป่วยอาการหนักมีเพียงร้อยละ 14 และผู้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจมีเพียงร้อยละ 17

ดังนั้นการรับมือกับผู้ติดเชื้อในระลอกที่สี่หรือโอมิครอน จำเป็นที่จะต้องขยายเตียงโรงพยาบาลสนามและขยายจำนวนการแยกกักที่บ้านอย่างมีระบบ และต้องทำให้การบริหารจัดการราบรื่นไปพร้อมกัน

จะส่งผลทำให้ ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องนอนในโรงพยาบาลหลัก สามารถขยับมาอยู่ในโรงพยาบาลสนาม และแยกกักที่บ้านได้
ทำให้โรงพยาบาลหลัก เหลือเตียงสำรองไว้รับผู้ป่วยอาการปานกลางและหนักได้อย่างเพียงพอ

ส่วนผู้ป่วยอาการหนักนั้น ยังพอจะมีเตียงรองรับได้เป็นจำนวนมากพอสมควร

โอกาสที่จะเกิดวิกฤติของผู้ป่วยอาการปานกลางและหนักหาเตียงโรงพยาบาลหลักไม่ได้ ก็จะไม่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือ ทั้งจากภาครัฐ ในการรณรงค์ทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน และจะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนทั่วไปด้วย ที่จะเข้ารับการดูแลรักษาในระบบสุขภาพ ตามความเหมาะสมของระดับความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

'WHO-FDA' ชงใช้สายพันธุ์ XBB ต้นแบบผลิตวัคซีนโควิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (US FDA)