โฆษก ทร. แจงช่วยชาวโรฮีนจา ถูกปล่อยเกาะ จ.สตูล ตามหลักมนุษยธรรม

ทัพเรือภาคที่ 3 ให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮีนจาที่ถูกปล่อยทิ้งบนเกาะลอ-กลอย จ.สตูล

5 มิ.ย.2565-พล.ร.ท.ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ ชี้แจงกรณีตรวจพบชาวโรฮีนจาหลบหนีเข้ามาพักบริเวณเกาะลอ-กลอย อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูลว่า เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.เวลาประมาณ 10.00 น. แหล่งข่าวทางทะเลแจ้งพบกลุ่มคนอยู่บนเกาะลอ-กลอย (หรือเกาะดง) คาดว่าเป็นกลุ่มคนหลบหนีเข้าเมือง ในการนี้ ศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 3 (ศปก.ทรภ.3) จึงได้สั่งการให้ หน่วยปฏิบัติการต่อสู้อากาศฝั่งที่ 491 (นป.สอ.รฝ.491) เข้าดำเนินการตรวจสอบร่วมกับ เจ้าหนาที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เบื้องต้นตรวจพบว่าเป็นชาวโรฮีนจา จำนวน 59 คนแบ่งเป็นชาย 31คน หญิง 23คน เด็กชาย 3คน เด็กหญิง 2คน โดยทั้งหมดได้โดยสารมากับเรือประมงขนาดใหญ่ออกเดินทางจากประเทศบังกลาเทศ โดยมีจุดหมายที่ ประเทศมาเลเซีย แต่เมื่อเดินทางมากัปตันเรือได้นำกลุ่มคนเหล่านี้มาปล่อยไว้บนเกาะดังกล่าว พร้อมทั้งบอกว่าเกาะนี้คือพื้นที่ประเทศมาเลเซีย

หลังจากนั้นก็ออกเรือไป

ศปก.ทรภ.3 จึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดอาหารและน้ำดื่มให้กับชาวโรฮีนจาบนเกาะลอ-กลอย พร้อมจัดเรือ ต.996 ลำเลียงชาวโรฮีนจา จากเกาะลอ-กลอย ไปยัง นป.สอ.รฝ.452 เพื่อส่งให้ กอ.รมน.จังหวัดสตูลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมาย ล่าสุด เรือ ต.996 ได้ลำเลียงชาวโรฮีนจา จำนวน 59 คนส่งตัวให้ เจ้าหน้าที่ ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรอำเภอละงู เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย จากนั้น กอ.รมน.จังหวัดสตูล นำตัวไปควบคุมที่กองร้อย ตชด. 436 ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ต่อไป

โฆษกกองทัพเรือ กล่าวว่า ศูนย์อำนวยการลาดตระเวนและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย กองทัพเรือ (ศอ.ยฐ.ทร.) และ ศูนย์ปฏิบัติการลาดตระเวนและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียทัพเรือภาคที่ 3 (ศปก.ยฐ.ทรภ.3) ยังคงเพิ่มความเข้มงวดในการจัดกำลังลาดตระเวนทางทะเลและทางอากาศ การเฝ้าตรวจพื้นที่ตามเกาะต่างๆ และการจัดเรือรับสถานการณ์เฝ้าระวังในพื้นที่บริเวณแนวชายแดนทางทะเลไทย – มาเลเซีย โดยเฉพาะบริเวณหมู่เกาะอาดัง – ราวี ที่เป็นจุดเสี่ยง และคาดว่าเรือของกลุ่มผู้หลบหนีฯ จะเดินทางผ่านไปยังประเทศเป้าหมาย รวมทั้ง ประสาน ศรชล.ภาค 3 เพื่อแจ้งให้กลุ่มเรือประมงในพื้นที่ ได้ช่วยในการเฝ้าระวัง

“กองทัพเรือยังคงยึดถือการปฏิบัติต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมายตามแนวทางการปฏิบัติต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเล (Standard Operating Procedure – SOP) ที่ สมช. กำหนดอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมตามความเหมาะสมในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทร.ออกกฎอาณัติสัญญาณเตือน 'เรือ-อากาศยาน' ต้องสงสัย กำหนดขั้นตอนการใช้อาวุธบังคับ

ทร.ออกกฎอาณัติสัญญาณเตือน 'เรือ-อากาศยาน' ต้องสงสัย กำหนดขั้นตอนการใช้อาวุธบังคับ แต่ต้องไม่ให้เกิดความเสียหาย

พบแล้ว ร่างลูกเรือประมงพลัดตกน้ำใกล้เกาะมุก ไต๋เรือนำศพกลับขึ้นฝั่งที่ภูเก็ต

น.อ.พิเชษฐ์ ซองตัน ผอ.กองสารนิเทศ และโฆษก ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 (ศรชล.ภาค3) เปิดเผยว่า วันนี้ เวลา 09.43 น. เจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกภูเก็ตได้รับแจ้งจาก เรือ พิชัยสมุทร 9 ประเภท อวนลากคู่

เกาะหูยง อุทยานฯสิมิลัน แหล่งอนุรักษ์เต่าทะเล เผยสถิติเต่าวางไข่กว่า 1 หมื่นฟองต่อปี

กองทัพเรือ ได้จัดทำโครงการ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลฝั่งอันดามัน โดยมอบให้ ทัพเรือภาคที่ 3 จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เมื่อปี 2538 ซึ่งกำหนดจุดอนุบาลเต่า ทะเลจำนวน 2 จุดพื้นที่แรกเป็นการอนุรักษ์เพราะฟักไข่เต่าในพื้นที่เกาะ

ผู้การเรือลาออก! กองทัพเรือสรุปผลสอบเรือหลวงสุโขทัยล่ม

ทร.สรุปเหตุสุดวิสัย รล.สุโขทัยล่ม ผู้การเรือฯ ลาออก แสดงความรับผิดชอบ ลูกน้องเสียชีวิต ยันไม่มีคำสั่งแทรกแซงการตัดสินใจ

ประดับตกแต่ง'ขบวนเรือพระราชพิธี' มรดกวัฒนธรรมล้ำค่า

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของประเทศไทย กองทัพเรือได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้จัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตามโบราณราชประเพณี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 การพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน

ส่งมอบเรือพระราชพิธี 16 ลำ ให้ศก.ประดับตกแต่ง

5 เม.ย. 2567 - เวลา 11.00 น. พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธี ส่งมอบการซ่อมทำเรือพระที่นั่งและเรือรูปสัตว์ จำนวน 16 ลำ ที่กองทัพเรือ ได้ดำเนินการเรียบร้อยให้แก่กรมศิลปากรเพื่อนำไปประดับตกแต่งตัวเรือ โดยมี