สสจ.ตรัง แจงพบผู้ติดโควิด BA.2.75 รายแรก อาการไม่รุนแรง กลุ่มเสี่ยงยังเป็นผลลบ

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง ระบุพบนักธุรกิจชายไทยอายุ 53 ปี ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 รายแรก ไม่มีอาการรุนแรง ให้กลับรักษาที่บ้านแล้ว หลังกลับจากประชุมโรตารี่ที่ จ.ภูเก็ต เบื้องต้นผู้สัมผัสเสี่ยงมีแค่ 4 รายขณะนี้ทั้งหมดยังเป็นผลลบ ยันไม่ต้องกังวล

20 ก.ค.2565 - นพ.ชัยรัตน์ ลำโป นายแพทย์สาธารณะสุข จังหวัดตรัง ถึงกรณีที่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “ Center for Medical Genomics” เรื่อง พบโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 แล้วในไทยที่จังหวัดตรัง

นพ.ชัยรัตน์ เปิดเผยว่า สสจ.ตรัง ได้รับแจ้งจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ว่า พบผู้ป่วยของ จ.ตรัง 1 คน ที่เป็นสายพันธ์ BA.2.75 เพียงรายเดียว เป็นชาว จ.ตรัง อายุ 53 ปี อาชีพนักธุรกิจ เท่าที่ดูจากรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ทราบว่าไปรับเชื้อมาจาก จ.ภูเก็ต ในงานประชุมกิจกรรมของโรตารี่ ซึ่งมีชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาประชุมร่วมด้วย เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 65 ก่อนที่จะพบว่าติดเชื้อโควิด 19 วันที่ 27 มิ.ย. 65 ช่วงเวลาประมาณ 04.00 น.

โดยรู้สึกว่ามีอาการเจ็บคอ และมีอาการไอนิดหน่อย ก็เลยสงสัยว่าติดเชื้อโควิด 19 ก็เลยตรวจเอทีเค (ATK) ผลเป็นบวก และเข้าทำการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.ตรัง ทางโรงพยาบาลเอกชนก็เลยได้ตรวจ RT-PCR เพื่อเป็นการยืนยันก็พบว่ามีการติดเชื้อจริง

นพ.ชัยรัตน์ เผยต่อไปว่า เท่าที่สอบสวนมีผู้สัมผัสใกล้ชิดเพียงแค่ 4 คน เป็นลักษณะการนั่งดื่มด้วยกันเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 65 ช่วงกลางคืน ก็ได้เฝ้าระวังติดตามอาการของผู้สัมผัสทั้ง 4 คนอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้คำแนะนำให้แยกตัวออกจากคนอื่น จนถึงขณะนี้ทั้ง 4 รายผลตรวจก็ยังคงเป็นลบ ส่วนอาการผู้ป่วยตั้งแต่ต้นก็ไม่ได้มีอะไรมาก ไม่มีไข้ มีเพียงอาการเจ็บคอ และไอเล็กน้อย นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน อาการก็ดีขึ้น

ทางโรงพยาบาลก็ได้ให้กลับมารักษาตัวที่บ้าน โดยให้ยาหรือรักษาตามปกติของผู้ป่วยโควิด 19 ในส่วนของผู้ป่วยรายนี้ไม่มีอะไรที่ต้องน่ากังวล เพราะว่าสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 เป็นแค่สายพันธ์ย่อยของโอไมครอน ซึ่งไม่มีอะไรที่รุนแรง ถ้าหากมีวัคซีนเข้มกระตุ้น ภูมิต้านทานแข็งแรงก็สามารถลดอาการรุนแรงของโรคได้

นพ.ชัยรัตน์ เปิดอีกว่า ในส่วนของ จ.ตรัง ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียว จะเน้นการเฝ้าระวัง อย่างน้อย 3 กรณี เช่น 1.กรณีที่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน 2.คนไข้นอนโรงพยาบาลแล้วอาการรุนแรง 3.เดินทางจากต่างประเทศ ซึ่งเคสนี้ก็พบจากการเฝ้าระวังเช่นเดียวกันเนื่องจากนอนโรงพยาบาลก็เลยสุ่มตรวจหาสายพันธ์ก่อนที่ผลจะทราบเมื่อวานนี้ว่าเป็น สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ซึ่งเป็นการไปสุ่มตรวจพบเอาพอดี

“ดีที่สุดเลยตอนนี้จากข้อมูลทางวิชาการ หากไม่อยากให้อาการของโควิด 19 หรือโอไมครอน มีความรุนแรง เวลาติดเชื้อต้องฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้น เพราะว่าตัววัคซีนที่มีอยู่ในระบบตอนนี้ที่ฉีดให้กับประชาชนส่วนใหญ่ภูมิต้านทานจะอยู่ได้ไม่นาน จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องฉีดเข็มกระตุ้น เพื่อสร้างภูมิต้านทาน เพราะโควิด 19 กลายพันธ์ง่ายดายมาก แต่สายพันธ์หลักในตอนนี้ก็ยังคงมี 5 สายพันธ์ ซึ่งจะต้องติดตามข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจังหวัดตรังขณะนี้มีความพร้อมในระบบของการแพทย์ที่จะดูแลทุกอย่าง”นพ.ชัยรัตน์ เผ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทีมวิจัยโควิดโลก' พบ 28 ยีน เพิ่มเสี่ยงติดเชื้อป่วยขั้นวิกฤต

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทีมวิจัยนานาชาติของ “โครงการพันธุศาสตร์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 (COVID-19 HGI)”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

กรมวิทย์ฯ ยันพบสายพันธุ์ HK.3 ในไทยจริง ไม่มีหลักฐานรุนแรงเพิ่มขึ้น ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อน้อย

ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ภท. โต้ 'สาทิตย์' มั่วข้อมูลทุจริตสอบ นอภ. ไม่เกี่ยว 'ชวรัตน์' อดีต มท.1

'ศุภชัย' โต้ 'สาทิตย์' มั่วข้อมูลทุจริตสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ ยันคดีจบแล้ว ไม่เกี่ยว 'ชวรัตน์ ชาญวีรกูล' อดีต รมว.มหาดไทย ไล่ปฏิรูป ปชป. แทนวิจารณ์พรรคอื่น

เอาใจสายแอดเวนเจอร์! คาเฟ่ลึกลับกลางป่า ไร้ไฟฟ้า

ร้านคาเฟ่แนวแปลกแหวกแนว ชื่อว่า กระต่ายป่า ตั้งอยู่กลางสวนยางพารา ติดเชิงเขาภูพานน้อย ต.ก้านเหลือง อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งอยู่ห่างไกลจากชุมชน และหมู่บ้าน