'เชียงใหม่' ส่อวิกฤต! เตียงผู้ป่วยโควิด 'ส้ม-แดง' แน่น

คณะแพทยศาสตร์ มช. ห่วงโควิด-19 ระบาดหนัก นำทีมบุคลากร รพ.มหาราชฯ ออกมาตรการเชิงรุก นำร่องโครงการ Home Isolation ยอมรับเริ่มหนักเตียงแน่นผู้ป่วยเพิ่มทุกวัน

10 พ.ย.2564 - โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังพร้อมรับสถานการณ์ โควิด-19 รับดูแลผู้ป่วยระบบในหอผู้ป่วยโควิด ICU หอผู้ป่วย Cohort Ward และโรงพยาบาลสนามในความดูแล พร้อมนำทีมแพทย์ทำงานเชิงรุก นำร่อง Home Isolation ควบคู่กับการเร่งรณรงค์ให้ชาวเชียงใหม่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ครบ 100 %โดยเร็ว

โดย​ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญพิเศษ นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนี้ยังไม่น่าไว้วางใจ มีการแพร่ระบาดเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ให้ความเป็นห่วง โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยอาการหนัก และอัตราการครองเตียงในภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยลดสถานการณ์​ได้ส่วนหนึ่งคือความร่วมมือในการเฝ้าระวังของประชาชนและการรับวัคซีน​ครบ​ 100​ % โดยภายในเดือนพฤศจิกายนนี้จะมีวัคซีนเข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่อีก 7 แสนโดส เพื่อให้ชาวเชียงใหม่ได้ฉีดวัคซีนครบทั้ง 100 % ซึ่งจะช่วยให้วิกฤตโควิดคลี่คลายได้ในระยะยาว มีผลให้จำนวนผู้ป่วยหนักจะลดลง และโอกาสที่ทำให้สถานการณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ดีขึ้นในระยะเวลารวดเร็วด้วย

ด้าน ผศ.นพ.นเรนทร์ โชติรสนิรมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวถึงภารกิจรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับโควิด-19 ที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ขณะนี้ว่า มีหลายภารกิจ ทั้งคลินิกตรวจผู้ป่วยที่เข้าข่ายป็นโรคโควิด ซึ่งเป็นส่วนที่ดูแลการตรวจเชิงรุก หรือใช้ตรวจติดตาม โดยเป็นการตรวจ swab จมูก ซึ่งให้บริการในภาคประชาชน และบุคคลที่มีความเสี่ยง ภารกิจสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การเตรียมพร้อมบริหารจัดการเตียงและดูแลผู้ป่วยติดเชื้อฯ เคสอาการหนัก (สีส้มและสีแดง) โดยสถานการณ์ขณะนี้ถือว่ากำลังอยู่ในช่วงวิกฤต เตียงที่ใช้รองรับผู้ป่วยหนัก เริ่มไม่เพียงพอแล้ว เนื่องจากแนวโน้มผู้ป่วยหนักเริ่มมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกวันตามจำนวนของผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง​เวลานี้​ ในส่วนของโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ ล่าสุดเตียงที่รับผู้ป่วยเต็มทั้ง 10 เตียง โดยเป็นคนไข้หนักกลุ่มสีแดงทั้งหมด ตึกนิมมานเหมินท์-ชุติมา (ตึกโรคปอด) มีทั้งหมด 11 เตียง ขณะนี้เต็มเช่นเดียวกัน ส่วนโรงพยาบาลสงฆ์ แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มี 24 เตียง ขณะนี้ว่างเพียง 2 เตียง ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของ รพ.มหาราชฯกำลังเข้าระดับวิกฤตของเตียง

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เผยอีกว่า ขณะนี้โรงพยาบาลฯ ได้นำทีมแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ จัดทำโครงการ Home Isolation เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิดอีกทางหนึ่ง โดยหลักการสำคัญคือ การแยกกักตัวผู้ติดเชื้อฯ และรักษาที่บ้าน

"ขณะนี้คณะแพทยศาสตร์ มช. ได้เริ่มทำ Home Isolation โดยดำเนินการรับผิดชอบในเขตอำเภอเมือง เพราะเป็นพื้นที่ในเขตการรักษาพยาบาลของ รพ.มหาราช โดยรับผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 ผู้ป่วยที่ไม่สามารถทำ Home Isolation คือผู้สูงอายุ(อายุมากกว่า 60 ปี) ผู้ที่ป่วยด้วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง เพราะมีความเสี่ยงสูง

สำหรับโครงการ Home Isolation ผู้ป่วยที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ดูแลจะเป็นผู้ป่วยที่พำนักในเขตอำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ ไม่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ซึ่งประกอบด้วย โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โดยมีอาการไม่รุนแรง และมีสมาร์ทโฟน (หรือมีผู้อื่นในบ้านที่มีสมาร์ทโฟน) สามารถเข้าระบบดูแลที่บ้านได้ (Home Isolation) โดยเมื่อพบว่าตัวเองป่วยจากโควิด-19 ให้แจ้ง Call Center ของ รพ. มหาราชนครเชียงใหม่ หมายเลข 053-934678 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีช่องทางการประสานผ่าน call center ของ สปสช. ที่หมายเลข 1330 ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ป่วยจะได้รับปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วมือ ยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับรักษาการติดเชื้อโควิด-19 และยาพื้นฐานอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ผู้ป่วยต้องวัดและส่งข้อมูลผลการวัดอุณหภูมิในร่างกาย ระดับความอิ่มตัวของ ออกซิเจน ชีพจร เข้ามาผ่านระบบ application ข้อมูลจะส่งเข้ามาที่ศูนย์บัญชาการ ทีมแพทย์ผู้รักษาประเมินอาการจากผลการตรวจวัดที่ได้รับ หากพบอาการผิดปกติ จะได้รับการประเมินอาการด้วย Chat , VDO call และโทรศัพท์ติดตามอาการ โดยขณะทำการรักษาแบบ Home Isolation ผู้ป่วยจะได้รับอาหาร 3 มื้อ (ส่งโดยไรเดอร์) หากมีอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าติดเชื้อลงปอด จะทำการประเมินประสานส่งต่อเข้ารับการรักษาตัว เมื่อรักษาตัวครบ 10 วัน ก็จะสามารถออกจากการดูแลตัวเองที่บ้าน และใช้ชีวิตตามปกติได้ ซึ่งโครงการ Home Isolation ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดังกล่าว จะสามารถเป็นโครงการแบบอย่างให้หน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน นำไปเป็นแนวทางการจัดทำมาตรการ Home Isolation ของจังหวัดเชียงใหม่ในระยะต่อไป.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สวมชุดชาติพันธุ์ลีซู ยัน ดันร่างพ.ร.บ. ชาติพันธุ์เข้าสภา ก.ค.นี้

นายกฯ สวมชุดชาติพันธุ์ลีซู เปิดงานกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมท่องเที่ยววิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธ์ ยันรัฐบาลให้ความสำคัญความเสมอภาคเท่าเทียม ดันร่างพ.ร.บ. ชาติพันธุ์เข้าสภาไม่เกินก.ค.นี้

'โรม' ซัดรัฐบาลหลอกประชาชนชัดเจนเรื่องทักษิณป่วย!

'โรม' แซะสุขภาพ 'ทักษิณ' ชี้สังคมคาใจป่วยจริงหรือ รบ.หลอก เสี้ยมเพื่อไทยเลือกปฏิบัติ นายใหญ่-เศรษฐา จวก โทนี่ได้กลับไทย เป็นอภิสิทธิชน ไม่ได้เกิดกับทุกคน

นักการเมือง-ข้าราชการแห่ต้อนรับ 'นักโทษทักษิณ' เหยียบเมืองเชียงใหม่

'ทักษิณ' สีหน้าสดใส ควง 'อุ๊งอิ๊ง' ชมอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ 'อดีตนายกฯสมชาย -เจ๊แดง-ธรรมนัส' รอรับ เจ้าตัวบอกเชียงใหม่เหมือนเดิม

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

พุทธศาสนิกชนกว่าแสนคน หลั่งไหลเข้าสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุฯ ที่เชียงใหม่

บรรยากาศในการสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ ของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากประเทศอินเดีย ที่ประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ หอคำหลวง ในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่

'สหายอ้วน' บอกอย่าคิดไกลปวดหัวเรื่อง 'ทักษิณ' ปิ๊กเชียงใหม่

'ภูมิธรรม' บอก น่าเห็นใจ หลัง 'ทักษิณ' จ่อขออนุญาตกลับเชียงใหม่ ชี้เป็นธรรมชาติของมนุษย์ จากบ้านเมืองไปหลาย 10 ปี ก็อยากกลับไปเยี่ยมบรรพบุรุษ ขออย่าไปคิดไกลโยงการเมือง บอกมันปวดหัว