'ชาวแม่สะเรียง' ทำประชาคม 7 หมู่บ้าน มติเอกฉันท์ไม่เอาโรงโม่หินเข้าทำเหมือง

ภาคประชาชนลงประชาคมไม่เอาเหมืองหินแม่สะเรียง 100 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่อุตสาหกรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ยืนยันว่ายังไม่มีการยื่นขอประทานบัตรจากบริษัท เชียงใหม่โรงโม่หิน จำกัด เข้ามาทำเหมืองใน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

20 มิ.ย.2566 - ดร.ทองทิพย์ แก้วใส แกนนำประชาชนอนุรักษ์ป่าแม่สะเรียง เปิดเผยว่าหลังจากมีการทำประชาคมในพื้นที่ อ.แม่สะเรียง ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา 6-7หมู่บ้านซึ่งคาบเกี่ยวกับพื้นที่การทำเหมืองที่รัฐเตรียมให้สัมปทานกับบริษัทเอกชนในเขตพื้นที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน พบว่ารชาวบ้านทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์คิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือไม่เอาเหมือง

“ล่าสุดที่บ้านโป่งซึ่งอยู่ในพื้นที่เหมืองที่บริษัทกำหนดไว้ เราไปทำประชาคมชาวบ้านก็ไม่เอา ผลประชาคมตรงนี้เราจะส่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับอุตสาหกรรมจังหวัดโดยส่งผ่านกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน จากนี้ชาวบ้านไม่เอาแล้วประชามติ เราจะไม่ให้ความร่วมมือ” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

เมื่อถามว่าถ้าบริษัทจะดึงดันหลังครบ 30 วันที่ประกาศให้ชาวบ้านมาแสดงสิทธิความเดือดร้อนจากการทำเหมือง ดร.ทองทิพย์ กล่าวทันทีว่าถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ขั้นตอนต่อไปคือการชุมนุมใหญ่หน้าที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียงในวันที่ 8 กรกฎาคม โดยจะมีดนตรีเพื่อชีวิตและให้นักวิชาการมาให้ความรู้กับชาวบ้านด้วย

“อย่าแตะพื้นที่ อ.แม่สะเรียง เลย เราไม่ให้ทำป่าและภูเขาเสียแน่นอน ในพื้นที่ภาคเหนือมี 11 ที่่เป็นหิน อ.แม่สะเรียงเป็นหนึ่งในนั้น ที่บริษัทมาบอกว่าเป็นป่าเสื่อมโทรม คือป่าเสื่อมโทรมต้องมีต้นไม้ไม่เกิน 20 ต้นแล้วนอกนั้นเป็นหญ้า ผมคิดว่าแม่สะเรียงไม่ใช่เพราะแม่สะเรียงเขียวขจีทั้งดอย เอาโดรนขึ้นไปบินดูก็ได้ นิยามว่าป่าเสื่อมโทรมเขาดูกันตรงไหนเพราะผมเห็นแต่สีเขียว” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

ทั้งนี้ ดร.ทองทิพย์ กล่าวว่า รู้สึกข้องใจใน 2 ประเด็น คือ 1.บริษัทเอกชน บอกว่าพื้นที่ อ.แม่สะเรียงเป็นป่าเสื่อมโทรม 2. อุตสาหกรรมจังหวัดรับจดทะเบียน ไม่รู้ว่าบริษัทชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

“ผมจะไม่หยุดจนกว่าเราจะชนะ ทีมงานผมประชุมกันทุกวันเสาร์ เราจะคัดค้านให้ถึงที่สุด” ดร.ทองทิพย์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สท. โวยรัฐไม่จริงจังแก้ 'แม่น้ำสาย' ขุ่นขาว คาดเหตุขยายเหมืองทองคำฝั่งพม่า

มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation-SHRF ) ได้เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับสาเหตุที่แม่น้ำสายซึ่งไหลผ่านชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ เมืองท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ขุ่นเป็นสีขาวมาว่า มลพิษในแม่น้ำสายอาจเป็นผลมาจากการขยายเหมืองทองคำภาคตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน

นักวิชาการแนะแก้ 'แม่น้ำสาย' ขุ่นขาว หวั่นเปื้อนสารพิษ ติดตั้งจุดตรวจร่วมไทย-เมียนมา

กรณีประปาแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีปัญหาขุ่นขาวและมีความกังวลว่าจะสารพิษหรือโลหะหนักเจือปน อยู่ระหว่างการตรวจสอบของการประปาส่วนภูมิภาคที่คาดว่าใช้เวลา สัปดาห์ นักวิชาการแนะนำแก้ไขปัญหาระยะยาวร่วมกันในการติดตั้งจุดตรวจวัดร่วมกันของสองประเทศ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

'ชาวแม่สาย' สุดงง! หลายหน่วยงานรับรองใช้น้ำประปาได้ แต่สธ.ให้หลีกเลี่ยง ปมเหมืองแร่ฝั่งพม่า

ความคืบหน้ากรณีแม่น้ำสายซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชาว อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีสีขาวขุ่นที่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุและพิสูจน์ได้ชัดเจน แต่หลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นผลจากการทำเหมืองทองและเหมืองแมงกานีส

'พิมพ์ภัทรา' ตอบกระทู้สภาฯ ยันไทยมีแหล่งแร่ลิเทียมจริง แต่ใช้ศัพท์เทคนิคทำสื่อสารผิดพลาด

นายร่มธรรม ขำนุรักษ์ สส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ สอบถามนายกรัฐมนตรีถึงกรณีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ แถลงระบุประเทศไทยพบแหล่งแร่ลิเทียม จ.พังงา ที่มีมากเป็นอันดับ 3 ของโลก เพื่อใช้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

เริ่มขุดแล้ว! เจอแร่ลิเทียมในสวนปาล์ม อ.ตะกั่วทุ่ง คนแห่ติดต่อขอซื้อ-เช่าที่ดิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากมีการนำเสนอข่าวเรื่องการพบแหล่งแร่ลิเทียม ในพื้นที่อำเภอตะกั่วทุ่ง จ.พังงา และมีบางสื่อได้นำเนอว่ามีปริมาณของแร่ลิเทียมมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ทำให้กลายเป็นเรื่องทอล์ก ออฟ เดอะทาวน์ ของชาวจังหวัดพังงาและประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งล่าสุดทางกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)

ชาวกาญจนบุรี ร้องตรวจสอบโรงโม่หิน ฝุ่นฟุ้งกระจาย หน่วยงานรัฐแจงไม่พบมลพิษ

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า มีโรงโม่ในบริเวณเทือกเขาแรต ต.ปากแพรก อ.เมืองกาญจนบุรี และ ต.เขาน้อย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี มีการประกอบการเดินเครื่องโม่บดละเอียดทำให้มีฝุ่นลอยฟุ้งในอากาศจำนวนมาก