ชาวนาบุรีรัมย์ วอนรัฐบาลลดดอกเบี้ย ช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินได้มากกว่าพักชำระหนี้

ชาวนาบุรีรัมย์วอนรัฐบาลออกมาตรการปรับลดดอกเบี้ย สามารถช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินได้อย่างแท้จริง มากกว่าการพักชำระหนี้ ชี้พักหนี้แค่ 1 ปี เมื่อครบกำหนดยังมียอดหนี้และดอกเหมือนเดิม ซ้ำหลายคนมีหนี้เกิน 3 แสน ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้

27 ก.ย.2566 - หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อย ตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ 1 โดยมีมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 ก.ย.2566 ไม่เกิน 300,000 บาท และมีสถานะเป็นหนี้ปกติและ/หรือเป็นหนี้ค้างชำระ (หนี้ 0-3 เดือน และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPLs) ได้รับสิทธิในการพักชำระหนี้ระยะแรกดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2566 ถึงวันที่ 30 ก.ย.2567

ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ไปสำรวจความคิดเห็นของชาวนาที่เป็นลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่า เป็นโครงการที่ดี แต่เป็นแค่การยืดระยะชำระหนี้แค่ 1 ปีเท่านั้น ไม่ได้ช่วยลดภาระหนี้สินให้กับชาวนาอย่างแท้จริง หากเป็นไปได้ก็อยากให้รัฐบาลพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย จึงจะเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระหนี้สินให้กับชาวนาได้อย่างแท้จริง ขณะที่หลายคนซึ่งมียอดหนี้เกิน 300,000 บาท ก็ไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตามที่รัฐกำหนด ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้

นายประสิทธิ์ กมลรัมย์ อายุ 67 ปี ชาวนาบ้านโคกสูง ต.ศรีภูมิ อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ บอกว่า ทำนา 80 ไร่ เป็นหนี้ ธ.ก.ส.อยู่กว่า 5 แสนบาท แต่ละปีต้องจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 7 หมื่นบาท ถ้ารวมต้นและดอกเบี้ยก็จะประมาณปีละแสนกว่าบาท แต่ส่วนมากจะจ่ายแค่ดอกเบี้ยเพราะขายผลผลิตไม่ได้ราคาเพียงพอที่จะมีเงินไปจ่ายทั้งต้นและดอกเบี้ย ส่วนตัวมองว่าโครงการพักชำระหนี้เป็นโครงการที่ดี เพราะสามารถยืดระยะเวลาการชำระหนี้ให้ชาวนาได้ ที่ผ่านมาตนก็เคยเข้าร่วมโครงการสามารถนำเงินที่พักหนี้ไปหมุนทำอย่างอื่นได้ แต่ปีนี้รัฐมีเงื่อนไขจำกัดยอดหนี้ไม่เกิน 300,000 บาท คงไม่เข้าเงื่อนไขที่จะสามารถเข้าโครงการได้

อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้อยากฝากให้รัฐบาลพิจารณาออกมาตรการปรับลดดอกเบี้ยให้กับชาวนามากกว่า ถึงจะเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระหนี้สินได้อย่างแท้จริง เพราะการพักชำระหนี้ชาวนาเมื่อครบกำหนดแล้วก็ต้องชำระหนี้และดอกเบี้ยเหมือนเดิม

ด้าน นางราตรี สุมาลี อายุ 60 ปี ชาวนา ต.ถลุงเหล็ก อ.เมืองบุรีรัมย์ บอกว่า ทำนาทั้งหมด 6 ไร่ เป็นหนี้ ธ.ก.ส. อยู่กว่า 1 แสนบาท ต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละกว่า 3 พันบาท หากรัฐมีโครงการพักชำระหนี้ก็จะเข้าโครงการ เพราะที่ผ่านมาเคยเข้าร่วมโครงการ สามารถนำเงินไปหมุนเวียนใช้จ่ายอย่างอื่นได้ แต่ไม่ได้แบ่งเบาภาระหนี้สินได้อย่างแท้จริง เพราะเมื่อครบกำหนดต้องหาเงินมาชำระหนี้เหมือนเดิม แต่หากปีไหนขายทำนาขาดทุน ต้องไปหยิบยืมเงินนอกระบบมาจ่าย จึงอยากให้รัฐพิจารณาออกมาตรการลดเงินต้นหรือดอกเบี้ยให้กับชาวนา มากกว่าโครงการพักชำระหนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พระแท้ที่พึ่งชาวบ้าน! เจ้าอาวาสวัดดังสุโขทัย ออกคำสั่งให้ตากข้าวได้เลย ไม่ต้องขออนุญาต

เพจเฟซบุ๊ก กลฺยาณวชิโร ภิกขุ วัดใหญ่ชัยมงคล สุโขทัย เผยแพร่คำสั่งเจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล เรื่องห้ามขออนุญาตตากข้าว เนื่องจากชาวบ้านกำลังเก็บเกี่ยวข้าว

'อนุชา' ดันต่อเนื่อง 'เกษตรพ่วงปศุสัตว์' ยกเป็นโมเดลเกษตรกรจับเงินล้าน

‘รมช.อนุชา’ ชื่นชมความสำเร็จ พื้นที่ Agri-Map ยกเป็นตัวอย่างเกษตรกร ปรับเปลี่ยนสู่ร่ำรวย เกษตรกรปลื้มรายได้เพิ่มขึ้น ได้มีโอกาสจับเงินล้าน มีอนาคตที่ดีขึ้น

พ่อหนุ่มบุรีรัมย์ ถูกฮามาสจับเป็นตัวประกัน แปลกใจลูกชายไม่ถูกปล่อยตัว

พ่อหนุ่มแรงงานชาว อ.นาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์ ที่ถูกกลุ่มฮามาสจับเป็นตัวประกันติดต่อไม่ได้ไม่รู้ชะตากรรมนานเกือบ 2 เดือน เริ่มมีความหวังหลังรัฐบาลไปเจรจาจนมีแรงงานได้รับการปล่อยตัวแล้ว 14 คน แต่ก็แปลกใจ หน.งานที่ถูกจับไปพร้อมลูกชายได้ปล่อยตัวแล้วแต่ทำไมลูกถึงไม่ถูกปล่อย เผยหากลูกชายรอดชีวิตกลับมาบ้านปลอดภัยจะให้บวชสะเดาะเคราะห์

'เนวิน' นำชาวบุรีรัมย์ ทำบุญทอดกฐินโจร 371 วัด ยังไม่มีเจ้าภาพ

นายเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พร้อมด้วย นางกรุณา ชิดชอบ , นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการฯ พรรคภูมิใจไทย , นางกนกวรรณ วิลาวัลย์

วัดเอื้อชุมชน เปิดให้ชาวบ้านตากข้าวเปลือกเต็มพื้นที่โดยไม่เก็บเงิน

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปีของเกษตรผู้ปลูกข้าวในเขต จ.ขอนแก่น เนื่องจากขณะนี้ทุกพื้นที่เริ่มทำการเกี่ยวข้าวและตากข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งก็ยังพบว่า ริมถนนสายต่างๆในพื้นที่ชุมชนหมู่บ้าน ยังคงมีการตากข้าวเปลือกกันเช่นเดิม นอกจากนี้ยังพบว่า พื้นที่หน้า อบต.โรงเรียน รวมถึงลานวัด ก็ยังเป็นสถานที่ ในการตากข้าวเปลือกของชาวบ้านในพื้นที่อีกด้วย

ติวเข้มผู้นำชุมชน ใช้ไม้ง่ามระงับเหตุคนคลุ้มคลั่ง ผู้ป่วยจิตเวช ก่อนจนท.ไปถึง

สถานีตำรวจภูธรหนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ฝึกอบรมผู้นำชุมชน ตามโครงการ 1 ชุมชน 1 ทีมไม้ง่าม “เพื่อระงับเหตุบุคคลคลุ้มคลั่ง หรือผู้ป่วยจิตเวช”